CEO INSIGHT

เปิดเส้นทางสู่ ‘เจ้าแห่งทุน’ : เจริญ สิริวัฒนภักดี  ‘ราชาอสังหาฯ’

อสังหาริมทรัพย์เป็น 1 ใน 5 เสาหลักของ ทีซีซีกรุ๊ป  เช่นเดียวกับกลุ่มธุรกิจ กลุ่มอสังหาฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 10  ปีเศษที่ผ่านมาเช่นกัน  

เจริญ เข้ามาขยับกลุ่มอสังหาฯ หลังธุรกิจน้ำเมาปักหลักได้อย่างมั่นคงในปี 2549  ปัจจุบันธุรกิจอสังหาฯ ของเจริญ ครอบคลุมในหลายๆ ส่วนของตลาด ตั้งแต่ที่พักอาศัยราคาปานกลาง ศูนย์การค้า อาคารสำนักงานโรงแรมห้าดาวหลายแห่งในย่านซีบีดี  และรวมทั้งโครงการ วัน แบงก์ค็อก

1 6

 เจริญเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างไม่ได้ตั้งใจ หลังเทคโอเวอร์ กลุ่มอิมพีเรียล ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรมหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด จาก อากร ฮุนตระกูล ในปี 2537 

ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา นับจากครอบครองกลุ่มอิมพีเรียล เจริญปรับโมเดลธุรกิจอสังหาฯของกลุ่มมาหลายครั้ง ก่อนเริ่มเข้าที่เข้าทางในเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

โครงสร้างธุรกิจอสังหาฯของ ทีซีซี กรุ๊ป นั้น มี ทีซีซีแลนด์ กรุ๊ป ทำหน้าที่เสมือนเป็นโฮลดิ้งส์ของกลุ่ม  ถัดลงมามี กลุ่มย่อย กลุ่มหนึ่งมี บริษัท ทีซีซี โฮเทลส์ กรุ๊ป ดูแลธุรกิจโรงแรม และ บริษัท ทีซีซี แอสเสส เวิร์ด คอร์ปอเรชั่น หรือ ทีซีซี แอสเสท  ดูแลธุรกิจศูนย์การค้า เป็นแกนหลัก ส่วนอีกกลุ่มนั้น  มี บมจ. ยูนิเวนเจอร์ เป็นแกนหลัก 

 ในปี 2546 อาณาจักรอสังหาฯของเจริญเกือบมาถึงจุดเปลี่ยนเมื่อ เจริญ ดึง แคปปิตอลแลนด์ กิจการในกลุ่ม เทมาเส็ก จากสิงคโปร์ มาร่วมทุนในบริษัท ทีซีซี แลนด์ 40% ตามแรงหนุนของรัฐบาลขณะนั้น (รัฐบาลทักษิณ) บริษัทร่วมทุนได้พัฒนาโครงการ ออก มาจำนวนหนึ่งเช่น โครงการ แอทธินี เรสิเดนท์ ถนนวิทยุ วิลล่าราชครู ก่อนแยกทางกันในปี 2554 เพราะแนวคิดธุรกิจแตกต่างกัน

ก่อนแยกทางกับแคปปิตอลแลนด์ นั้น เจริญเริ่มวางทิศทางธุรกิจอสังหาฯใหม่โดยปี 2550 ดัน บริษัท อเดลฟอส ซึ่งถือหุ้นโดยลูกชาย 2คน (ฐาปน และปณต) เทคโอเวอร์  บมจ. ยูนิเวนเจอร์  บริษัทอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหุ้น 

ต่อมาในปี 2555 เจริญใช้ยูนิเวนเจอร์เข้าไปเทคโอเวอร์ บมจ. แผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ หรือ แผ่นดินทอง มูลค่า 7.49 พันล้านบาท ก่อนรุกเข้าไปซื้อหุ้น บริษัท  หรือ แกรนด์ยู ซึ่งเน้นทำคอนโดมีเนียมระดับกลาง จากกลุ่มแอลพีเอ็นในปีเดียวกัน 

2 5

 ปิดดีลแกรนด์ยูแล้ว การจัดโครงสร้างอสังหาริมทรัพย์ชองเจริญก็เกือบสมบูรณ์โดยภาพใหญ่ ทีซีซีแอสเสทฯ  รับผิดชอบอสังหาฯที่มีรายได้จากการให้เช่าซึ่งพัฒนาบนที่ดินที่เจริญสะสมไว้ประกอบด้วย

  • ศูนย์การค้า (พันธุ์ทิพย์พลาซ่า 3 สาขา   
  • เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนท์)  
  • เกตเวย์  
  • โรงแรมพลาซ่าแอทธินี เลอเมอริเดียน
  • แบงค็อก แมริออท ควีนส์ปาร์ก
  • หัวหิน แมริออท ฯ
  • ภูเก็ต แมริออทฯ
  • มณเทียรพัทยา
  • ,อิมพีเรียล แม่ปิง 
  • ซีเอส(เชียงใหม่)  ฯลฯ

ณ  ปี 2560  ทีซีซี แอสเสท  มีโรงแรมในสังกัดถึง 51 แห่ง กระจายอยู่ใน 11 ประเทศ รวมห้องพักมากกว่า 10,000 ห้อง  มีศูนย์การค้า 29 แห่ง อาคารสำนักงาน 6 แห่ง  พื้นที่ให้เช่า 3 แสนตารางเมตร   สินทรัพย์รวม  140,000 ล้านบาทโดยประมาณ

bugabooimage
โสมพัฒน์ – วัลลภา ไตรโสรัส

อสังหาฯปีกนี้  วัลลภา ไตรโสรัส  ลูกสาวคนที่สองมาบุกเบิกธุรกิจด้านนี้ตั้งแต่ต้น โดยเริ่มจากจัดระเบียบโฉนดที่เจริญสะสมไว้มากมาย โดยรับผิดชอบร่วมกับสามี (โสมพัฒน์ ไตรโสรัส) .

ส่วนอสังหาริมทรัพย์อีกกองหนึ่งนั้นมี ยูนิเวนเจอร์   ทำหน้าที่เป็นบริษัทแม่ มีบริษัทย่อยหลักๆคือ แผ่นดินทองฯ แกรนด์ยู  บมจ.กรุงเทพบ้านและที่ดิน หรือ เคแลนด์   

ธุรกิจ อสังหาฯในกลุ่มนี้ บางส่วนคล้ายคลึงกับ ทีซีซี แอสเสท ในบางส่วน เช่นมี อาคารสำนักงาน  โรงแรม (โอกุระ) เหมือนกัน   แต่ที่แตกต่างกัน คือมีธุรกิจอสังหาฯเพื่อขาย  ซึ่งรับผิดชอบ แผ่นดินทอง และ แกรนด์ยู อสังหาฯ ปีกนี้ เจริญวางตัว ปณต สิริวัฒนภักดี ลูกชายคนเล็ก (ปัจจุบันเป็น รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร ยูนิเวนเจอร์) เป็นผู้ดูแล

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากเจริญจัดโครงสร้างธุรกิจอสังหาฯลงตัวคือ การขยายเข้าสู่ตลาดอสังหาฯเพื่อขายโดย  แผ่นดินทอง และ แกรนด์ยู และการพัฒนาโครงการใหม่โดยเฉพาะโรงแรม และ  โครงการมิกซ์ยูส (ที่พัก อาคารสำนักงาน โรงแรม หรือ ศูนย์การค้า รวมกัน ผู้เขียน) ที่ผลักดันให้ อสังหาฯ กลุ่มเจริญก้าวขึ้นมาเป็นผู้เล่นหลักในตลาดนี้

5 tarad
ปณต สิริวัฒนภักดี

นับจากปี 2550 ที่เจริญเริ่มปรับโครงสร้างอสังหาฯ ทีซีซี แอสเสท  ได้รุกปรับปรุงโครงการเก่า และพัฒนาโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง  เช่น  ปรับปรุงพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า (เจริญซื้อมาปี 2531) ปรับปรุงโรงแรมหลายแห่ง  หรือพัฒนาโครงการใหม่ๆ เช่น ศูนย์การค้าเอเชียทีค เดอะริเวอร์ ฟรอนท์  บริเวณท่าเรือและโกดังเก่าของ อีสต์เอเชียทีค ริมเจ้าพระยาฝั่งเจริญกรุง (เจริญซื้อมาในปี 2533) หรือ เปิดตลาดต่อยอด เออีซี เทรด เซ็นเตอร์ มูลค่า 6,000 ล้านบาทที่บางปะอินเมื่อปีที่ผ่านมา เป็นต้น

ส่วนปีกอสังหาฯในความรับผิดชอบของ ปณต นอกจากขยายตลาดที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบ และคอนโดมีเนียมแล้ว ยังรุกตลาดโครงการขนาดใหญ่ประเภทมิกซ์ยูสอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะช่วงปี 2559-2561 ด้วยการลงทุน 4 โครงการสำคัญ   โดย  โครงการแรก คือ เอฟวายไอเซ็นเตอร์ (เปิดดำเนินการแล้ว) และ  สามย่านมิตรทาวน์ (เช่าที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (แล้วเสร็จปี 2563)  มี แผ่นดินทอง เป็นเจ้าภาพ  

ส่วน โครงการหลัง พัฒนาโดย บริษัท ทีซีซี แอสเสท (ประเทศไทย) และบริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์(ประเทศไทย)  ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ แผ่นดินทอง (39.92%)  ซึ่งปณตนั่งเก้าอี้ประธานกรรมการบริหารทั้ง บริษัท โดยโครงการหนึ่งในนั้นคือ  วัน แบงก์ค็อก ที่เปิดตัวเมื่อวันที่ เมษายน 2560  

 วัน แบงก์ค็อก  ถือเป็นโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ และมีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย  

โครงการประกอบด้วย อาคารสำนักงาน โรงแรม ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า ระดับซูเปอร์พรีเมียม พัฒนาบนที่ดิน 104 ไร่ ที่เช่าจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  (โรงเรียนเตรียมทหารเดิม)  มูลค่าโครงการ 120,000 ล้านบาทโดยประมาณ  ซี่งนับเป็นโครงการ มีมูลค่าการลงทุน สูงสุดเป็นอันดับสามของกลุ่มทีซีซี รองจาก การซื้อเอฟแอนด์เอ็น และ บิ๊กซี   

เจริญได้ประกาศในวันเปิดตัว วัน แบงก์ค็อก  อย่างภาคภูมิว่า  ”…เมืองที่เป็นประตูเชื่อมโลกกับเอเชีย 

3 4

ในปี 2561 เจริญ เปิดตัวโครงการ เดอะพาร์ก อาคารสำนักงานทันสมัย บนถนนรัชดาภิเษกใกล้ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์  และในปี 2562 เจริญ ยังได้รับข่าวดีจากบริษัทในเครือว่า กระทรวงการคลังต่อสัญญาเช่าที่เมษายนปิดศูนย์การประชุมฯ เพื่อปรับปรุง เอ็นซีซี ได้ต่อสัญญาจาก 25 ปีเป็น 50 ปี  คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2565  มูลค่าการลงทุน 6,000 ล้านบาท

หากไล่เรียง โครงการอสังหาฯ ที่เจริญ รุกพัฒนาตลอดหลายปีที่ผ่านมาจะพบว่าโครงการในกลุ่มทีซีซี ได้ยึดกุมแลนด์มาร์กสำคัญ ของถนนย่านซีบีดีหลักของกรุงเทพหลายสายไว้อย่างสิ้นเชิง  อาทิเช่น

  • ถนนพระรามฯเริ่มจากโครงการ สามย่านมิตรทาวน์ (หัวมุมถนนพญาไทพระราม ) ถัดมา วัน แบงก์ค็อก (หัวมุมถนนวิทยุพระรามฯ4) ตามด้วยโครงการ เอฟวายไอเซ็นเตอร์ (หัวมุมถนนรัชดาภิเษกพระรามฯ4)  ใกล้เคียงกัน ยังมีโครงการ เดอะพาร์ก และโครงการศูนย์การประชุมฯที่ได้สิทธิเช่าที่จากการะทรวงการคลังต่ออีก 50 ปี
  •  ถนนวิทยุ  โรงแรมโอกุระ เพรสทีจ (หัวมุมถนนวิทยุสุขุมวิท )   อาคาร ปาร์ค เวนเจอร์ อีโคเพล็กซ์  โรงแรมพลาซ่า แอทธินี   อาคาร แอทธินี ทาวเวอร์ , อาคาร208 ไวร์เลส  และสุดถนนวิทยุ ตัด พระรามฯคือ โครงการ วัน แบงก์ค็อก ที่จะแล้วเสร็จในปี 2564
  • ถนนสีลม  มีอาคารอาคเนย์ฯ  ถนนสุรวงศ์  อาคารทีซีซีกรุ๊ป ที่ตั้งศูนย์บัญชาการอาณาจักรทีซีซี
  • ถนน สาธรใต้   อาคารเอ็มไพรทาวเวอร์  ถนน สาธรเหนือ อาคารสาธรแควร์  ถนนเจริญกรุง เอเชียติ๊กเดอะริเวอร์ฯ
  • ถนน สุขุมวิท  โรงแรมแบงค็อก แมริออท ควีนส์ปาร์ก   ถนนรัชดาภิเษก  อาคาร ไซเบอร์เวิล์ด ทาวเวอร์ ถนนบางนา  อาคาร อินเตอร์ลิงค์ทาวเวอร์ ฯลฯ

กลุ่มรายชื่ออาคารข้างต้นเป็นเฉพาะสินทรัพย์เด่น แน่นอน อาณาจักรอสังหาฯของเจริญที่ขับเคลื่อนโดย  ทีซีซี แอสเสท และ ยูนิเวนเจอร์  ยังไม่หยุดแค่นี้ เพราะเจริญยังมีที่ดินในมือที่รอพัฒนาอีกมากมาย ซึ่ง เรื่องราวที่กล่าวมานั้น  เป็นการตอกย้ำว่า  เจริญไม่เพียงเป็นราชันน้ำเมา หากยังเป็นราชาอสังหาฯ อีกด้วย 

Avatar photo