Politics

ต้นเดือน พ.ค. เจอของจริง คาดตัวเลข ผู้ป่วยอาการหนัก ปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ พุ่ง

ต้นเดือน พ.ค. เจอของจริง คาดตัวเลข ผู้ป่วยอาการหนัก ปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ พุ่ง เหตุวัยทำงาน ไม่แสดงอาการ พาเชื้อไปติดผู้สูงอายุ

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงค์อานนท์ ผู้อำนวยการ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ติดเชื้อโควิด -19 ทั่วโลก ภาพรวมลดลง ติดเชื้อ 504 ล้านคน เสียชีวิต 6.2 ล้านคน ส่วนของไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อ 22,176 คน เสียชีวิต 124 คน เหลือรักษาตัวใน รพ. 205,514 คน ในจำนวนนี้มียอดผู้ป่วยปอดอักเสบ 2,123 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 939 คน ส่วนอัตราการครองเตียงในผู้ป่วยสีเหลืองและแดง ครองเตียง 30% 

ผู้ป่วยอาการหนัก
นพ.จักรรัฐ พิทยาวงค์อานนท์ ผู้อำนวยการ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

ทั้งนี้ หลังเทศกาลสงกรานต์ 2-3 สัปดาห์ คาดว่าตัวเลขติดเชื้อที่แท้จริงจะปรากฏ คาดว่ากลุ่มผู้ป่วยอาการหนัก ปอดอักเสบ และใส่ท่อช่วยหายใจ จะเพิ่มมากขึ้น ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม 

ผู้ป่วยอาการหนัก

หลังสงกรานต์ คาดป่วยหนัก เสียชีวิตพุ่ง สาเหตุกลุ่มวัยทำงาน ไม่แสดงอาการ นำเชื้อไปแพร่ผู้สูงอายุ

นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า จากการติดตามข้อมูลของผู้เสียชีวิต 124 คน พบว่า 99% หรือ 123 คน เป็นกลุ่มคน 608 และพบว่ามีถึง 119  คนที่มีอาการปอดอักเสบ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 70 ปีขึ้น จึงน่าห่วงว่าช่วงสงกรานต์กลุ่มวัยทำงาน อาจพาเชื้อไปติดผู้สูงอายุ หลังสงกรานต์จะทำใหัมีการป่วยหนักและเสียชีวิตมากขึ้น

เนื่องจากกลุ่มสูงอายุบางคนยังรับวัคซีนไม่ครบ เนื่องจากกลัวผลกระทบจาก ทำให้ไม่ยอมไปฉีดให้ครบ รวมไปถึงเข็มกระตุ้น อย่างไรก็ตาม ต้องกำชับ อสม. และ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ให้เร่งทำความเข้าใจ และชักชวนให้ผู้สูงอายุมารับวัคซีนให้มากที่สุด

ผู้ป่วยอาการหนัก

น่าเป็นห่วง ผู้สูงอายุยังได้รับวัคซีนน้อย ส่วนการประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ยังไม่เปลี่ยนแปลง

นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ปัจจุบัน ผู้สูงอายุที่ได้รับวัคซีนเข็มแรก ทั้งหมด 84%  เข็ม 2 ได้รับ 79.6% และเข็ม 3 อยู่ที่ 39.4% ขณะที่ภาพรวมของการรับวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ประเทศไทยยังไม่ถึงตามเป้า 80% คาดว่าอยู่ที่ 50% เท่านั้น

นพ.จักรรัฐ ยังกล่าวถึงเรื่องการเกิดคลัสเตอร์ขนาดใหญ่หลังเทศกาลสงกรานต์ โดยระบุว่า ตอนนี้ยังไม่พบคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ จะมีเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนที่กลับมาทำงาน ให้สังเกตตนเองและตรวจ ATK และงดการรวมกลุ่มต่างๆ

ส่วนที่เกรงกันว่า การระบาดหลังสงกรานต์จะกระทบ ต่อการประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะหากสถานการณ์การป่วยหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจไม่เพิ่มสูงมาก และอัตราการครองเตียง ซึ่วระบบสาธารณสุขยังรองรับได้ ก็จะยังไม่เปลี่ยนแปลง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo