CEO INSIGHT

เปิดแผน ‘บ้านปู เพาเวอร์’ มุ่งสู่เป้าหมาย 5,300 เมกะวัตต์ในปี 68 จ่อซื้อโรงไฟฟ้าใหม่เข้าพอร์ต

บ้านปู เพาเวอร์ กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ธุรกิจพลังงานไฟฟ้าเพื่อความยั่งยืน โดยจะเริ่มเห็นการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปีนี้ จากการเจรจาซื้อโรงไฟฟ้าใหม่เข้าพอร์ต 

ดร. กิรณ ลิมปพยอม ประธานเจ้าหน้าที่บริษัท บริษัทบ้านปู เพาเวอร์ จำหัด (มหาชน) หรือ BPP กล่าวว่า ตามกลยุทธ์ Greener & Smarter มีเป้าหมายขยายกำลังการผลิตให้ได้ถึง 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 2568 ซึ่งในครึ่งแรกปีนี้จะเห็นการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ จากการลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หนึ่งแห่ง

บ้านปู เพาเวอร์

“พอร์ตโพลิโอการลงทุนระหว่างเปลี่ยนผ่าน ที่ตั้งเป้าหมายไว้ปี 2568 เหลืออีก 4 ปีกว่า แต่มีเป้าระยะสั้นแต่ละปี อย่างเช่นปีนี้ จะเริ่มเห็นการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ในครึ่งปีแรกจะมีความชัดเจนเรื่องการลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่โรงใหม่อย่างน้อย 1 โรง ส่วนโรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะมาเรื่อย ๆ”

พอร์ตโพลิโอการลงทุนของ “บ้านปู เพาเวอร์” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่นำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (High Efficiency, Low Emissions: HELE)  และ โรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Power)

BPP จะเน้นการลงทุนที่เพิ่มเมกะวัตต์เพื่อสร้างรายได้  สร้างการเติบโตและสร้างผลกำไร โดยทิศทางการลงทุน คือ เน้นการเติบโตเมกะวัตต์และเป็นเมกะวัตต์ที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่เป็นเมกะวัตต์ในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง หรือมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ซึ่งขณะนี้ในระยะสั้น มีเมกะวัตต์ที่มีคุณภาพ ที่ประกาศไปแล้ว 434 เมกะวัตต์

“เมกะวัตต์ที่มีคุณภาพ คือเมกะวัตต์ที่อยู่ในจีนและเวียดนาม ซึ่งมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง”

โรงไฟฟ้าทุกแห่งของ BPP ยังคงเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 จะรับรู้รายได้เต็มปีเพิ่มเติมจากทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 แห่งในญี่ปุ่นที่ COD ไปเมื่อปลายปี 2563 ได้แก่ ยามางาตะ (Yamagata) กำลังผลิต 20 เมกะวัตต์ และยาบูกิ (Yabuki) กำลังผลิต 5 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าพลังงานลมเอลวินหมุยยินในเวียดนาม (El Wind Mui Dhin) กำลังผลิต 38 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง (Shanxi Lu Guang) ในจีน กำลังผลิต 396 เมกะวัตต์

บ้านปูเพาเวอร์
โครงการ SLGในจีน ขนาดกำลังผลิต 396 เมกะวัตต์

นอกจากนี้ ภายในปีนี้ยังมีแผนเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้าเชิงพาณิชย์เพิ่มเติม ทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 2 แห่งในญี่ปุ่นได้แก่ เคเซนนุมะ (Kessenuma) และชิราคาวะ (Shirakawa) ขนาดกำลังผลิตรวม 30 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะจ่ายไฟเ้าระบบหรือ COD ฝยไตรมาส 4 ปีนี้ และโรงไฟฟ้าพลังงานลมหวินเจา ระยะที่ 1 ในเวียดนามอีก 30 เมกะวัตต์

โซลาร์ฟาร์ม บ้านปู เพาเวอร์
โซลาร์ฟาร์มยามางาตะ ที่ญี่ปุ่น

“ถ้าเป็นจำนวนเมะวัตต์รวมจะอยู่ที่ 2,856 เมกะวัตต์ แต่ยังมีอีกหลายโครงการที่ยังอยู่ในขั้นตอนดิลดิลิเจนซ์ ที่ยังบอกชื่อไม่ได้ แต่ว่าก็จะอยู่ในประเทศที่มีการเติบโต มีความต้องการสูงอย่างเวียดนามและจีน รวมถึงร่วมกับบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ดิลดิลิเจนซ์ภายในครึ่งปีแรก จะเป็นการลงทุนระยะสั้น”

ดร.กิรณ กล่าวอีกว่าพอร์ตโพลิโอของ BPP เป็นพอร์ตการลงทุนกำลังไปสู่พลังงานสะอาด ในส่วนของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่จะเลือกใช้เทคโนโลยีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างเช่นกำลังเจรจาโรงไฟฟ้าแก๊สในสหรัฐ รวมถึงในประเทศเอเชียแปซิฟิก ส่วนที่สองเป็นพลังงานหมุนเวียน

“เรามองการเติบโตใน 5 ปีจากนี้ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะมีอัตราการเติบโตสูงกว่า ในแง่ของเปอร์เซ็นต์จะสูงกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพื่อตอบสนองต่อทิศทางพลังงานในอนาคต สัดส่วนของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนควรจะอยู่ไม่ต่ำกว่า 30% ของพอร์ตโพลิโอ”

กลยุทธ์การลงทุนเน้น M&A เป็นหลัก

ดร.กิรณ กล่าวว่าการลงทุนของ BPP เน้นการทำ M&A คือ พิจารณาโครงการที่ดำเนินการแล้ว และซื้อเข้ามา ซึ่งสามารถสร้างกระแสเงินสดกลับเข้ามาได้เลย

“ถามว่าเราปิดโครงการที่สร้างเองหรือไม่ เราก็ไม่ได้ปิด จะมีคำว่า Brown Field กับ Greenfield ซึ่งแบบหลังจะเริ่มตั้งแต่คอนเซ็ปท์ ไปดูที่ทาง แบบนั้นเราคงไม่ทำแล้ว เพราะใช้เวลานานมาก แต่ถ้าเป็น Brown Field เช่น ไปซื้อโครงการต่อเขามา โครงการอาจจะยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ หรือยังไม่ได้ก่อสร้าง แต่ได้ใบอนญาตแล้ว อาจจะเหลือเวลาอีก 1-2 ปี จะสำเร็จ เราก็สนใจ แต่ที่อยากจะได้คือ M&A”

สำหรับงบลงทุนของ BPP อยู่ในระดับ 200-300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งขึ้นกับประเทศและโครงการที่ไปลงทุน เพราะมูลค่าการลงทุนจริงจะมากกว่าเม็ดเงินที่เตรียมไว้อยู่แล้ว อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนก็จะได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงิน ในสัดส่วนหนี้สินต่อทุน 70/30 หรือบางคนโครงการอาจขึ้นไปถึง 80/20 มากกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สัดส่วนหนี้สิน/ทุนประมาณ 50/50 ซึ่งเม็ดเงินลงทุนยังไม่อาจตอบได้ว่าจะเพิ่มพอร์ตลงทุนได้มากน่ช้อยแค่ไหน ขึ้นกับโครงการในแต่ละประเทศ

โซลาร์ฟาร์ม บ้านปูเพาเวอร์
โซลาร์ฟาร์มยาบูกิ ที่ญี่ปุ่น

วิกฤติโควิด-19 เป็นโอกาส

ในช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่หลายคนเข้าใจว่าจะได้ราคาถูกหากต้องการซื้อกิจการ แต่ดร.กิรณ ลอกว่าเคยคิดอย่างนั้นเมื่อกลางปีที่แล้ว แต่กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าผู้ขายไม่ลดราคาเลย เพียงแต่ว่ามีโอกาสทางธุรกิจเข้ามา เช่น ประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจในอาเซียน ยังต้องการใช้ไฟฟ้า ซึ่งตรงนี้เป็นโอกาสของมันเองอยู่แล้ว

แต่เมื่อไปดูประเทศอย่างจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐ ประเทศเหล่านี้จะมีการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนสูงมาก เพราะเขากำลังเข้าสู่นโยบายคาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งถือเป็นโอกาสทางธุรกิจพลังงานหมุนเวียน

“ตอนนี้มาตรการของภาครัฐในหลาย ๆประเทศที่บ้านปูได้ไปลงทุนมาแล้ว ทั้งจีน ญี่ปุ่น สหรัฐ ตอนนี้นโยบายภาครัฐกำลังสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนอย่างมาก”

ดร.กิรณ กล่าวว่าในแง่นโยบายทุกประเทศมีนโยบายสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน เพียงแต่ว่าในแง่รายละเอียดของโครงการจะสนับสนุนแบบไหน  ค่าไฟเท่าไหร่ ซึ่งแตกต่างกันไป เพียงแต่ว่าต้องเกาะกระแสนี้ไป เค้กมันใหญ่มาก ผมเชื่อว่านโยบายของภาครัฐทั่วโลกมันยังมีช่องทางให้ผู้ประกอบการ เข้าไปทำธุรกิจได้เยอะ”

พร้อมลงทุนในไทย รอนโยบายใหม่

บ้านปู เพาเวอร์ ลงทุนในหลายประเทศ แต่ในไทยดูเหมือนจะไม่มากนัก ดร.กิรณ บอกว่า “เราก็สนใจ แต่โครงการพลังงานทดแทนเป็นโครงการเมื่อหลายปีที่แล้ว ตอนนี้ยังไม่มีโครงการใหม่ออกมา ถ้ามีเราสนใจแน่นอน ในไทยถ้าจะซื้อ ก็เป็นโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้วทั้งหมด  แต่ขึ้นกับผู้ซื้อผู้ขาย เรามองว่าตอนนี้โอกาสอยู่ในต่างประเทศเยอะ ไม่ได้บอกว่าไม่ได้ดูเมืองไทย  ดูแน่นอน แต่ตอนนี้ยังไม่มีโอกาสลงทุน”

“เรามองในแง่นโยบาย หากเมื่อไหร่ก็ตาม ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนออกมา เราก็พร้อมจะเข้าไปร่วม”

วิกฤติโควิด-19 กระทบน้อยกว่าคาด

ดร.กิรณ กล่าวถึงผลกระทบโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาและกำลังเกิดการแพร่ระบาดรอบที่ 2 ในปีนี้ ว่ามาตรการต่าง ๆ ของแต่ละประเทศที่มีสินทรัพย์อยู่ย่อมกระทบ แต่ผลกระทบเชิงลบน้อยกว่าที่คิดไว้มาก จนถึงปัจจุบันและก็หวังว่าจะเป็นอย่างนี้ต่อไป

ยกตัวอย่างในปีที่แล้ว ไตรมาส 2-3 ที่เมืองไทยมีล็อกดาวน์และสถานการณ์โควิดในเมืองจีนค่อนข้างเข้มข้น ตอนนั้นก็กลัวและเป็นห่วงทีมและสินทรัพย์ที่เมืองจีน ผลปรากฏว่าทีมที่เมืองจีน และรัฐบาลจีน บริหารสถานการณ์โควิดได้ดีมาก

“สินทรัพย์เราอยู่ในประเทศที่บริหารจัดการได้ดีมาก ทั้งจีน เวียดนามและญี่ปุ่น แต่เรามีทีมในท้องถิ่น เรามีการบริหารจัดการในสถานการณ์โควิดเป็นอย่างดีและสามารถจำกัดผลกระทบทางลบได้มาก ๆ”

ดร.กิรณ กล่าวว่าจากผลกระทบเชิงลบน้อยกว่าที่คิด หมายถึงธุรกิจไม่ได้รับผลกระทบ ทุกอย่างดีกว่าแผนด้วย อย่างธุรกิจที่จีน ดีกว่าแผนด้วยซ้ำไปในปีที่แล้ว ต้องให้เครดิตทีมที่จีนและรัฐบาลจีนเขาก็เข้มแข็ง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงแรกลดลง แต่ขณะนี้ได้กลับมาเท่ากับก่อนโควิดแล้ว ซึ่งเป็นการปรับตัวทั้งภาคการผลิต ภาคประชาชนและภาคที่อยู่อาศัย

มีแค่ช่วงสั้นๆในไตรมาสสองปีที่แล้ว ยอดใช้ไฟฟ้าลดลง ในช่วงมี.ค.-เม.ย.ปีที่แล้ว ก็คงช็อกกันบ้าง แต่ที่เราดู ตกลงช่วงสั้น แล้วก็กลับไปเหมือนเดิม อยู่ที่การบริหารจัดการของรัฐบาลจีนและเวียดนามที่จัดการได้ดีมากๆในการบริหารจัดการโควิด ภาคผลิต การค้าขายยังดำเนินการอยู่ ใช่อาจไม่สะดวก มีมาตรการต่างๆ ใช้เวลามากขึ้น ต้องยอมรับครับว่าเขาทำได้ดีมากๆ

ตอนนี้ประเทศที่เรามีโรงไฟฟ้าอยู่ ตอนนี้ปริมาณความต้องการใช้ไฟ กลับไปอยู่เท่ากับช่วงก่อนโควิดแล้ว ถือว่าคนปรับตัว ทั้งภาคการผลิต ภาคประชาชน ภาคที่อยู่อาศัย เราปรับตัวกับมันได้ สิ่งที่น่าจะเป็นความท้าทายมากที่สุดคือการซื้อสินทรัพย์ใหม่ ปกติก่อนโควิด ผู้บริหารต้องบินไปดูไปเจรจา ตอนนี้ต้องใช้โลคอลทีม ให้วีดิโอคอนเฟอร์เรนมากขึ้น ซึ่งถามว่าคุณภาพลดลงไหม ก็บอกว่าไม่ การดีลดิริเจนก็ยังเข้มข้นเหมือนเดิม แต่ก็โชคดีที่มีทีมโลคอลเข้มแข็ง

ดร.กิรณ กล่าวว่าในช่วงไตรมาส 4 การดำเนินงานของโรงไฟฟ้าหลักของ BPP ทำได้ดี ทั้งหงสา ในจีนและญี่ปุ่น ซึ่งสำหรับนักลงทุนที่สนใจดูงบ BPP อยากให้ดูที่กำไรสุทธิ และให้ดูในแง่ของโอเปอเรชัน เพราะโรงไฟฟ้าหลายแห่งก็ไม่ได้บันทึกให้เห็นโดยตรง ดังนั้นอยากให้ดูที่กำไรสุทธิเป็นหลัก

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo