COVID-19

ไม่จบง่าย ๆ ผู้เชี่ยวชาญชี้ ‘ฉีดวัคซีนโควิด-19’ ทั่วโลก อาจกินเวลาถึง 6 ปี

ผู้เชี่ยวชาญชี้ “ฉีดวัคซีนโควิด-19” ทั่วโลก ต้องใช้เวลา 6 ปี เตือนไม่กระจายวัคซีนไปประเทศกำลังพัฒนา หยุดไวรัสระบาดไม่ได้ผล

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของออสเตรเลียประกาศเตือนว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ให้ประชาชนทั่วโลกอาจต้องใช้เวลานานถึง 6 ปี

ฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลก

สันจายา เซนานายาเค แพทย์โรคติดเชื้อและรองศาสตราจารย์วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) กล่าวกับสโมสรสื่อมวลชนแห่งชาติ (NPC) ว่า ใน 70 ประเทศยากจนที่สุดในโลกจะมีประชาชนได้รับวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ภายในสิ้นปี 2564 เพียง 10% เท่านั้น

เซนานายาเคเตือนว่า ประเทศที่เริ่มฉีดวัคซีนแล้วจะไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จนกว่าจะมีการส่งเสริมการฉีดวัคซีนในประเทศอื่น ๆ โดยหากประเมินจากอัตราการ ฉีดวัคซีนโควิด-19 ในปัจจุบัน เราจะฉีดวัคซีนให้ประชาชน ทั่วโลก ได้ไม่ถึง 75% ในเวลาราว 6 ปี ไม่ใช่แค่ 1 หรือ 2 ปี

หากเราฉีดวัคซีนต่อไป โดยที่ส่วนอื่นๆ ของโลกยังพบการติดเชื้ออยู่ เราจะต้องพบเจอกับโรคโควิด-19 สายพันธุ์อื่นๆ ที่น่ากลัวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ที่เชื่อในลัทธิวัคซีนชาตินิยม คุณจะต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่วัคซีน และรับประกันว่าวัคซีนจะถูกจัดส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนาในปริมาณที่เพียงพอและในเวลาที่เหมาะสมด้วย

เซนานายาเคคาดการณ์ว่า การระบาดใหญ่ทั่วโลกครั้งต่อไปคงอุบัติขึ้นในอีกไม่ถึง 100 ปี หากอิงจากโรคติดเชื้อใหม่ ๆ มากกว่า 40 โรค ที่เกิดขึ้นในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

“ประชากรทั่วโลกกำลังเพิ่มมากขึ้น เรากำลังรุกรานแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติและมีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ป่ามากขึ้นเรื่อย ๆ และความเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกไม่เคยยิ่งใหญ่เท่าในตอนนี้” เซนานายาเคกล่าว “ดังนั้นการระบาดใหญ่ครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในอีกไม่ถึง 100 ปี มันอยู่ใกล้แค่เอื้อม”

get 90 1

“4 โรคร่วมหลัก” เอี่ยวดับจากโควิด-19

งานวิจัยล่าสุดยังค้นพบว่า โรคมะเร็ง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง คือ 4 โรคร่วมหลักที่นำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19

คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิธของออสเตรเลีย ค้นพบว่า โรคไตเรื้อรังเป็นโรคร่วมที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มากที่สุดในเชิงสถิติ หลังได้ทำการวิเคราะห์ฐานข้อมูลทั่วโลกของผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 375,859 คนจาก 14 ประเทศ

คณะนักวิจัยค้นพบด้วยว่าความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคเบาหวาน เป็นภาวะทางการแพทย์ที่พบบ่อยที่สุดในหมู่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 แต่โรคอ้วนไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิต ซึ่งต่างกับโรคร่วมอีก 2 ชนิดข้างต้น

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวถูกเผยแพร่ในวารสารเอ็มไบโอ (mBio)

“โรคร่วมมักถูกระบุว่า เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอาการป่วยรุนแรงของโรคโควิด-19 แต่ระดับผลกระทบของโรคร่วมแต่ละประเภทที่มีต่อโรคโควิด-19 ยังเป็นเรื่องที่ไม่ทราบแน่ชัด” ดร.อดัม เทย์เลอร์ ผู้เขียนหลักร่วมของงานวิจัยดังกล่าว

เทย์เลอร์กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาระดับโลกที่ครอบคลุมโรคร่วมทั้งหมดที่มีการรายงานว่าเกี่ยวข้องกับอาการกำเริบซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตของผู้ป่วยโรค โควิด-19 ซึ่งช่วยให้นักวิจัยระบุโรคร่วมเฉพาะที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ป่วย ตลอดจนระบุกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงสูงได้

ศาสตราจารย์ซูเรช มาห์ลินกัม ผู้เขียนหลักของงานวิจัย กล่าวว่าโรคโควิด-19 เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของลิ่มเลือด ซึ่งผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของลิ่มเลือดอุดตันอันเป็นอันตรายต่อชีวิต

ส่วนในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เป็นโรคไตเรื้อรังนั้น ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้ายนั้นมีมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

คณะนักวิจัยระบุว่า จะมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่ออธิบายความชุกที่สูงขึ้นของโรคร่วมเหล่านี้ในผู้ป่วยโรคโควิด-19

shutterstock 1675938874

ข่าวดี! WHO ชี้ผู้ป่วยใหม่ “โควิด-19” ลดกว่า 17%

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผย ทั่วโลกรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน ทำให้เกิดความหวังว่า การระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสชนิดนี้ ผ่านจุดวิกฤติไปแล้ว ท่ามกลางความพยายามที่จะควบคุม และป้องกัน

ในรายงานรายสัปดาห์นั้น WHO ระบุว่า เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว มีการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัส โควิด-19 รายใหม่ทั่วโลกมากกว่า 3.1 ล้านคน ลดลง 17% จากสัปดาห์ก่อนหน้านี้ และเป็นตัวเลขที่อยู่ในระดับต่ำสุด นับตั้งแต่สัปดาห์ที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563

ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ 88,000 คน ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยลดลงราว 10% จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้น

แม้ว่าจะมีหลายประเทศ ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น แต่ในระดับโลกแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อลดลง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี

ทั้งนี้ หลายประเทศทั่วโลกต่างหวังว่า วัคซีนโควิด-19 จะช่วยให้รอดพ้นจากวิกฤติโควิด-19 แต่ในขณะที่บางประเทศเริ่มฉีดวัคซีนไปบ้างแล้ว ประชากรโลกมากกว่า 2.5 ล้านล้านคนยังเข้าไม่ถึงวัคซีน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo