World News

จับตา ‘เพื่อนบ้าน’ ผงาด ดึง ‘ลงทุนไทย’

ที่ผ่านมา ไทย ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุด เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชีบตะวันออกเฉียงใต้ เคยเป็นจุดหมายปลายทาง ที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน

แต่ในระยะหลังมานี้ ปัจจัยหลายอย่าง รวมถึง ค่าแรงที่สูงขึ้น และภาวะไร้เสถียรภาพทางการเมือง ทำให้ไทยสูญเสียความน่าสนใจในการเข้าลงทุนไปให้กับบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน ที่กำลังพัฒนาตัวเองขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และมีค่าแรงถูกกว่า หรือมีการพัฒนาไปมากกว่า

ลงทุน

สิงคโปร์เบอร์ 1 ต่างชาติเข้าลงทุน

สิงคโปร์ เป็นจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่มีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) เข้ามามากสุด โดยในปี 2563 ก่อนเกิดวิกฤติโควิดระบาดนั้น สิงคโปร์มีโครงการเอฟดีไอเจ้ามาใหม่ 303 โครงการ

อุตสาหกรรมหลักสำหรับการลงทุนในสิงคโปร์ ได้แก่ ICT การบินและอวกาศ อิเล็กทรอนิกส์ ยา และบริการระดับมืออาชีพ ทั้งสิงคโปร์ยังเป็นศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมการผลิตขั้นสูง และเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไฮเทครายใหญ่อันดับ 4 ของโลก

โครงการที่โดดเด่นล่าสุด ได้แก่ โรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ของ โกลบอลฟาวดรีส์ ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐ และศูนย์นวัตกรรมระดับโลกแห่งใหม่ของฮุนได ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของเกาหลีใต้

เวียดนาม ดาวเด่นดวงใหม่

เวียดนาม ผงาดมาเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุน ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน ด้วยโครงการที่ต่างชาติเข้าลงทุนโดยตรง (เอฟดีไอ) 132 โครงการในปี 2563 ลดลง 52% จากปี 2562 อุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ ได้แก่ การท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางการเงิน

นอกจากนี้ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ยังเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญสูงสุดในประเทศ โดยในช่วงปลายปี 2563 เอ็กซอนโมบิลได้รับการอนุมัติให้พัฒนาโรงงานก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มูลค่า 5,090 ล้านดอลลาร์ ในเมืองท่าไฮฟอง ส่วน มิลลิเนียม จากสหรัฐ ก็กำลังเสนอที่จะพัฒนาโครงการ LNG มูลค่า 15,000 ล้านดอลลาร์ในจังหวัดคั้นห์หว่า

ลงทุน

มาเลเซีย รั้งอันดับ 3

เมื่อปี 2563 มาเลเซีย มีเอฟดีไอเข้ามามากสุดเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ด้วยจำนวน 100 โครงการ ลดลง 42% จากปี 2562 โดยอุตสาหกรรมหลักที่ต่างชาติสนใจเข้าลงทุน ได้แก่ การท่องเที่ยว เทคโนโลยีสีเขียว และโลจิสติกส์

เมื่อเดือนมกราคม 2565 มาเลเซียยังได้รับเลือกให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับความน่าดึงดูดใจเอฟดีไอ ใน Global Opportunity Index ของสถาบันมิลเคน จากความพยายามในการอำนวยความสะดวกทางการค้า และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

ลาวนำหน้าพลังงานหมุนเวียน

แหล่งพลังงานหมุนเวียน คิดเป็นเกือบ 97% ของพลังงานผสมของลาวในปี 2562 โดยแหล่งพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ คือไฟฟ้าพลังน้ำ รองลงมาคือพลังงานชีวภาพ

ลาวใช้กลยุทธ์การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในปี 2554 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถของพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

ลงทุน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo