COVID-19

หวั่นยาต้านโควิดตัวใหม่ เลียนแบบกลไกไวรัสกลายพันธุ์หนีโฮสต์ กลายเป็น ‘ดาบสองคม’

“ดร.อนันต์” วิเคราะห์ยาต้านโควิดตัวใหม่ของสหรัฐ ที่ใช้กลไกของไวรัสที่พยายามหนีการทำลายของโฮสต์มาจัดการไวรัสเอง อาจกลายเป็นดาบสองคม

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana  เรื่อง ยาต้านไวรัสตัวใหม่ ที่คิดนอกกรอบ ใช้วิธีของไวรัสมากำจัดไวรัส โดยระบุว่า

ยาต้านโควิด

บทความนี้ของ LA Times เกี่ยวกับแนวคิดของยาต้านโควิดตัวใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับไวรัสแบบใช้กลไกของไวรัสที่พยายามหนีการทำลายของโฮสต์มาจัดการตัวมันเอง

ปกติแล้วภูมิคุ้มกันจากร่างกาย จะใช้แอนติบอดีในการจับโปรตีนหนามสไปค์ เพื่อยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส แต่ปัจจุบันปัญหาคือ ไวรัสเปลี่ยนตัวเอง หนีการจับของแอนติบอดีได้ไว และ ดีมาก การหาแอนติบอดีมาต่อสู้จะไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของไวรัส

ทีมวิจัยที่ Dana-Farber Cancer Institute ในสหรัฐ คิดนอกกรอบว่า ถ้าธรรมชาติสอนให้ไวรัสกลายพันธุ์ไวขนาดนั้น ก็ต้องใช้กลไกดังกล่าว ย้อนศรมาจัดการไวรัสเอง

ไวรัส

ทีมวิจัยจึงได้พัฒนายาต้นแบบ ที่ทำโครงสร้างของยาให้เหมือนโปรตีน ACE2 เพื่อแย่งจับไวรัสกับ ACE2 บนเซลล์ปกติที่ไวรัสต้องจับเ พื่อติดเข้าสู่เซลล์

เมื่อไวรัสโดนยาจับแล้ว โครงสร้างของหนามสไปค์ จะถูกตัดและเปลี่ยนสภาพไป ทำให้อนุภาคนั้นไปต่อไม่ได้ ซึ่งเป็นกลไกการทำงานของยา

ประเด็นน่าสนใจคือ ไวรัสคงไม่อยู่นิ่ง ๆ คงพยายามเปลี่ยนตัวเองให้ดื้อยา หนีการจับของยาให้ได้ ซึ่งทีมวิจัยเชื่อว่า ไวรัสจะทำแบบนั้นได้ยากมาก เพราะถ้าทำได้จะสูญเสียความสามารถในการเข้าสู่เซลล์ด้วยกลไกตามธรรมชาติไปเลย เหมือนเป็นการบังคับให้ไวรัสใช้กลไกของตัวเอง มาทำให้ตัวเองหมดฤทธิ์ไปเอง

ไวรัส1

ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมมองว่าเรื่องนี้ไม่ง่าย ในระยะสั้น ๆ อาจเห็นว่ายาชนิดนี้ อาจช่วยได้ตามสมมติฐาน แต่การที่ไวรัสจะเปลี่ยนกลไกการเข้าเซลล์จาก ACE2 เป็นวิธีอื่น อาจไม่ได้ยากมาก ๆ เหมือนที่ทีมวิจัยคิด

เพราะข้อมูลมีออกมาเรื่อย ๆ ว่า ไวรัสอาจมีศักยภาพใช้กลไกอื่นได้เช่นกัน การที่ไปเร่งให้ไวรัสเปลี่ยน mode ไว ๆ แบบนั้น บางทีอาจเป็นดาบสองคม ให้เราต้องกลับมาเริ่มต้นแก้ไขปัญหาโควิดใหม่ได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo