General

‘ดร.อนันต์’ ไขข้อข้องใจ ไวรัสอยู่ในอากาศเย็นได้นานกว่าอากาศปกติจริงไหม

“ดร.อนันต์” เผยไวรัสอยู่ในอากาศเย็น ๆ ได้นานกว่าอากาศปกติ ทำให้คนเป็นหวัด ติดไวรัสง่าย ความจริงคือ อากาศเย็นส่งผลต่อร่างกายมากกว่าไวรัสที่อยู้่ได้นานขึ้น

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ไขข้อสงสัยสมมติฐานไวรัส อยู่ในอากาศเย็นได้นาน ทำให้คนเป็นหวัดหรือติดไวรัสได้ง่ายจริงหรือไม่ โดยระบุว่า

shutterstock 1199583907

ช่วงอากาศเย็น ๆ มักเป็นหวัด หรือติดไวรัสง่ายขึ้น หลายคนสงสัยว่าทำไม หรือ เพราะไวรัสอยู่ในอากาศเย็น ๆ ได้นานกว่าอากาศปกติ??

อันนี้เป็นสิ่งที่ใช้อธิบายกันมาตามสมมติฐานครับ งานวิจัยชิ้นนึงตีพิมพ์ออกมาเสนอคำอธิบายว่า จริง ๆ แล้วอากาศที่เย็นลงส่งผลที่ร่างกายเราเปลี่ยนแปลง มากกว่าคุณสมบัติของไวรัสที่อยู่นานขึ้นครับ

อนันต์ 1

 

ทีมวิจัยของ Harvard พบว่า ในสภาวะปกติเซลล์ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน คือ จมูกและคอ จะมีการสร้างโครงสร้างคล้าย ๆ กับอนุภาคไขมันเล็ก ๆ ปล่อยออกมานอกเซลล์อยู่ตลอดเวลา

อนุภาคไขมันดังกล่าวชื่อว่า EVs หรือ extracellular vesicles เนื่องจากอนุภาคเหล่านี้ ปล่อยออกมาจากเซลล์ จึงมีการนำโปรตีนที่ผิวเซลล์ติดออกมาด้วย ซึ่งรวมไปถึงโปรตีนที่ไวรัสใช้จับเพื่อเข้าเซลล์ อย่าง ACE2 ที่ไวรัส SARS-CoV2 จับก็อยู่ใน EVs เหมือนกัน

ดร.อนันต์ 1

ดังนั้นร่างกายสร้าง EVs ออกมา ก็เพื่อเป็นกลไกป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสตามธรรมชาติ

ทีมวิจัยพบว่า อุณหภูมิที่เย็นลง มีผลต่อการสร้าง EVs ที่น้อยลงอย่างชัดเจน และ ยังส่งผลให้การนำสารต้านไวรัสต่าง ๆ ที่จะบรรจุในอนุภาค EVs ไม่ดีด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันสำคัญด่านแรก ๆ ที่การดักจับไวรัสได้

ปริมาณไวรัสเพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติไม่ทำใหเราติดเชื้อและป่วยได้ ก็จะสามารถติดได้ในช่วงอากาศที่เย็นลงครับ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo