COLUMNISTS

‘อุตสาหกรรมบริการ’ ความสมดุลทางเพศ และผลกำไร

Avatar photo
วิทยาลัยดุสิตธานี สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียวของไทยที่สอนด้านธุรกิจบริการโดยตรงในเครือโรงแรมดุสิตธานี

ทำไมความสมดุลทางเพศจึงมีความสำคัญ ในขณะที่บางคนอาจบอกว่า หากปราศจากความสมดุลทางเพศ โลกก็ยังดำเนินไปได้

นอกจากประเด็นเรื่องศีลธรรมแล้ว ดิฉันขอนำเสนอกรณีความสมดุลทางเพศ ที่สนับสนุนโดยข้อมูลของงานวิจัย 3 ชิ้น ซึ่งแบ่งปันว่า สิ่งนี้มีประโยชน์ต่อธุรกิจ และเศรษฐกิจโดยรวมอย่างไร

ความสมดุลทางเพศ

ข้อมูลของแมคคินซีย์ (McKinsey) เมื่อปี 2563 ระบุว่า จีดีพีโลกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 28 ล้านล้านดอลลาร์ หากผู้หญิงมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจเช่นเดียวกับผู้ชาย และผู้หญิงสามารถเพิ่ม จีดีพีโลกประจำปีได้มากถึง 28 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 26% ภายในปี 2568

นอกจากนี้ ยังระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีความสามารถในการทำกำไร สูงกว่าค่าเฉลี่ยมากกว่า 25% องค์กรชั้นนำที่ทีมผู้บริหารมีความหลากหลายทางเพศ จะสามารถในการทำกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 25%

ขณะที่รายงานของไพร้ซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ (PWC) เมื่อปี 2560 ระบุว่า ผู้หญิง 61% ตัดสินใจที่จะร่วมงานด้วย จากความหลากหลายทางเพศของทีมผู้บริหาร

แล้วอุตสาหกรรมบริการสามารถเรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้

ภาคการท่องเที่ยว การเดินทาง และการบริการ มีอิทธิพลอย่างมากต่อจีดีพีโลก จากข้อมูลของ WTTC ในปี 2565 ภาคการท่องเที่ยวมีส่วนช่วย 7.6% ให้กับจีดีพี

ลองนึกภาพจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นว่า หากพนักงานหญิงทุกคนได้รับค่าจ้างเท่ากับพนักงานชายตั้งแต่เริ่มต้น หรือถ้าผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสรับความก้าวหน้าทางหน้าที่การงานเท่าเทียมกัน จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพียงใด การลงทุนกับคนในองค์กรมากขึ้น จะนำไปสู่ผลตอบแทนที่มากขึ้นในระยะยาว

ในรายงานปี 2565 ของ Aptamind ระบุว่า แม้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จะมีสัดส่วนของพนักงานหญิงและชาย 50-50 ตำแหน่งเท่ากัน แต่ทั่วโลกมีเพียง 7% เท่านั้นของตำแหน่งระดับซีอีโอเป็นผู้หญิง

การศึกษาของ McKinsey ระบุว่าบริษัทที่ทีมผู้บริหารมีความหลากหลายทางเพศจะสามารถคาดหวังผลกำไรเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบกับบริษัทที่ไม่มี การวิเคราะห์นี้เน้นย้ำถึงการพลาดโอกาสได้รับผลกำไรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากขาดความหลากหลายของผู้นำ

ความสมดุลทางเพศ

ผู้หญิงมักให้ความสำคัญกับความหลากหลายภายในทีมผู้นำ เมื่อต้องพิจารณาว่า ควรทำงานให้กับบริษัทไหนอย่างเช่น ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล โดดเด่นในฐานะเป็นธุรกิจที่ก่อตั้งโดยผู้หญิง นั่นคือ ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย และปัจจุบันก็มีซีอีโอเป็นผู้หญิง คือ ศุภจี สุธรรมพันธุ์

แน่นอนว่าเป็นไปแทบไม่ได้ถ้าจะเปลี่ยนแปลงผู้ก่อตั้ง แต่การกระจายบทบาทความเป็นผู้นำในภาคธุรกิจการบริการยังคงมีอยู่

คนรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมในปัจจุบันจำเป็นต้องมีแบบอย่างสำคัญเหล่านี้ เมื่อดิฉันสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในปี 2549 ดิฉันไม่เคยนึกฝันที่จะเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมเลย เพราะไม่เห็น GM ผู้หญิงในโรงแรมไหนคล้ายกับดิฉันสักนิด

แม้ประเด็นความหลากหลายทางเพศจะมีความก้าวหน้าขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงมีงานที่ต้องทำอีกมาก แต่การมีผู้ปูทางมาให้ก็จะช่วยทำให้เกิดความเป็นไปได้มากขึ้น การแบ่งปันเรื่องราวของพวกเธอเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มการตระหนักรู้

ดิฉันจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะเปิดพอดแคสต์ “Inspiring Women in Hospitality” ทาง www.inspiringwomeninhospitality.com ที่เน้นเส้นทางอาชีพอันหลากหลายของผู้หญิงในอุตสาหกรรมการบริการ

และในฐานะที่มีความเป็นเลิศด้านความสมดุลทางเพศ ดิฉันให้ความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรกับสถาบันการศึกษา เช่น วิทยาลัยดุสิตธานี เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ในเรื่องของความเท่าเทียม ความหลากหลาย และการไม่แบ่งแยก ในการสร้างความตระหนักรู้ และท้าทายอคติที่หลงเหลืออยู่

พวกเขาอาจส่องแสงสว่างแห่งความเป็นไปได้มากมายผ่านทางการศึกษา ไม่ว่าความทะเยอทะยานในอาชีพของคุณจะเป็นเช่นไร ก็ไม่ควรมีข้อจากัดทางเพศ วันหนึ่งนักศึกษาเหล่านี้จะกลายเป็นผู้นำในอนาคตของอุตสาหกรรมของเรา เราจึงควรปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับพวกเขาเมื่อพวกเขาเข้าสู่ตลาดแรงงาน

เรามาร่วมกันมุ่งมั่นสร้างอุตสาหกรรมที่มีความสมดุลทางเพศมากขึ้นด้วยการยกระดับซึ่งกันและกันร่วมกันดีกว่า

Headshot naureen ahmed
ผู้เขียน: Naureen Ahmed ผู้ก่อตั้งบริษัท Inspiring Women in Hospitality พันธมิตรวิทยาลัยดุสิตธานี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่