Business

กทม. แจกแจงข้อดี ปลดหนี้ บีทีเอส รถไฟฟ้าสายสีเขียว 2.3 หมื่นล้าน

กทม. เปิดข้อดี คนกรุงเทพฯ ได้อะไร เมื่อ กทม. จ่ายหนี้ 2.3 หมื่นล้าน รถไฟฟ้าสายสีเขียว

กรุงเทพมหานคร โพสต์เพจเฟซบุ๊ก เปิดข้อดี ปลดหนี้ BTS คนกรุงเทพฯ ได้อะไร เมื่อ กทม. จ่ายหนี้ 2.3 หมื่นล้าน? โดยระบุว่า

รถไฟฟ้าสายสีเขียว

ทำไม กทม. ต้องจ่ายหนี้ หนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่?

หนี้ค่าติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ส่วนต่อขยาย 2 จุด ที่เกิดจากการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมื่อปี 2560

  • ส่วนต่อขยายที่ 1 อ่อนนุช-แบริ่ง, สะพานตากสิน-บางหว้า
  • ส่วนต่อขยายที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ, หมอชิต-คูคต

สายสีเขียว

ผลดีของการจ่ายหนี้ 2.3 หมื่นล้าน ต่อการพัฒนาการคมนาคมกรุงเทพฯ 

  • กรุงเทพมหานครได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในระบบไฟฟ้าเครื่องกล (E&M) อย่างถูกต้อง ไม่เกิดปัญหาการโต้แย้งความเป็นเจ้าของกับเอกชน
  • ลดความเสี่ยงในการถูกฟ้องร้องและการคิดดอกเบี้ยผิดนัด เช่นเดียวกับค่าจ้างเดินรถ(O&M)
  • กรุงเทพมหานครจะมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ในการจัดการเดินรถเนื่องจากเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
  • ลดภาระค่าดอกเบี้ยในการจัดหา ตามสัญญาจ้างติดตั้งระบบเดินรถ ซึ่งมีค่าดอกเบี้ยประมาณวันละ 3 ล้านบาท

บีทีเอส

การจ่ายหนี้มีผลต่อการปรับลดค่าโดยสารหรือไม่?

การจ่ายหนี้ดังกล่าวเป็นค่าจ้างงานติดตั้งระบบเดินรถ ไม่มีผลต่อค่าโดยสารในปัจจุบัน  เนื่องจากเป็นเงินที่ค้างชำระตั้งแต่ปี 2560

เมื่อจ่ายหนี้ครบแล้ว กทม. จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและไม่ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ผิดนัดอีกในอนาคต หากต้องมีการทำสัมปทานใหม่ กทม. จะมีอำนาจในการเจรจาต่อรองอัตราค่าโดยสารกับผู้รับสัมปทานได้

ค่าโดยสาร

การชำระหนี้ 2.3 หมื่นล้านบาท เป็นการปลดล็อกศักยภาพของโครงข่ายขนส่งสาธารณะ ทั้งยังช่วยให้ กทม. มีอำนาจต่อรองมากขึ้นในการจัดการเดินรถ และการพัฒนาโครงการอื่น ๆ เพื่อให้กรุงเทพฯ มุ่งสู่เมืองที่ระบบขนส่งมวลชนมีประสิทธิภาพ เพื่อความสะดวกสบายของชาวกรุงเทพฯ ทุกคน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo