Business

พร้อมไหม ที่จะใช้ ‘รถยนต์ไฟฟ้า?’ หลากหลายมาตรการภาครัฐ ปักหมุดศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค

พร้อมไหม ที่จะใช้ ‘รถยนต์ไฟฟ้า?’ หลากหลายมาตรการภาครัฐ ปักหมุดศูนย์กลางการผลิตในอาเซียน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการผลิตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ  โดยคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ บอร์ด EV กระทรวงพลังงาน ได้กำหนดนโยบาย 30@30 คือการตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)

และปักหมุด เป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก หรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub)

รถยนต์ไฟฟ้า

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ ในด้านสิทธิประโยชน์และภาษีของรถ EV เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทย เดินหน้าเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าสู่กลุ่มประเทศอาเซียน

รถยนต์ไฟฟ้า

ส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน

โดยความคืบหน้าการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึงปัจจุบัน (17 สิงหาคม 2565) มีโครงการที่ได้รับส่งเสริมในกิจการดังกล่าวแล้ว รวม 26 โครงการ จาก 17 บริษัท ได้แก่

  1. โครงการผลิต Hybrid Electric Vehicle (HEV) จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ GWM, Honda, Mazda, MG, Mitsubishi, Nissan, Toyota
  2. โครงการผลิต Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ BMW, BYD, GWM, Mercedes Benz, Mazda, MG, Mitsubishi, Toyota
  3. โครงการผลิต Battery Electric Vehicle (BEV) จำนวน 15 โครงการ ได้แก่ BYD, FOMM, GWM, Honda, Horizon, Mazda, Mercedes Benz, MG, Mine Mobility (2 โครงการ), Mitsubishi, Nissan Skywell, Takano, Toyota
  4. โครงการผลิตรถบัสไฟฟ้า (E-bus) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ Absolute Assembly และสกุลฎ์ซี (เนื่องจากบางโครงการได้รับการส่งเสริมในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 1 ประเภทในโครงการเดียวกัน ทำให้จำนวนโครงการเมื่อแยกตามรายประเภทรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว จะสูงกว่าจำนวนโครงการรวม)

มาตรการเหล่านี้ จะทำให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าต่ำลง ซึ่งจะทำให้ประขาชนเข้าถึง และจัต้องรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น

รถยนต์ไฟฟ้า

มาตรการด้านภาษี และส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถยนต์ไฟฟ้า

ในช่วงต้นปี 2565 รัฐบาลยังคลอดมาตรการด้านภาษี รวมไปถึงการอุดหนุนเงินเพื่อให้ค่ายรถยนต์ นำไปเป็นส่วนลดให้ประชาชนผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ดังนี้

  1. ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8 % เป็น 2 % และรถกระบะ เป็น 0 %
  2. ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40 % สำหรับรถยนต์ ถึงปี 2566
  3. .ยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 9 รายการ เพื่อนำมาผลิตหรือประกอบรถในประเทศ
  4. เงินอุดหนุนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถกระบะไฟฟ้า คันละ 70,000-150,000 บาทต่อคัน และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 18,000 บาทต่อคัน

โดยปัจจุบันมีค่ายรถยนต์ที่เข้าร่วมมาตรการอุดหนุนเงิน เพื่อใช้เป็นส่วนลดให้ประชาชนที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด (MG), บริษัท เกรท วอลล์มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (GWM), บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด(TOYOTA), บริษัท กรีน ฟิวเตอร์ จำกัด, บริษัท ไมน์ โมบิลิตี คอร์ปอเรชั่น จำกัด

และอีก 3  บริษัทเป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ได้แก่ บริษัท เดโก้ กรีน เอนเนอร์จี จำกัด (Deco Green) บริษัทเอช เซม มอเตอร์ จำกัด และบริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด

รถยนต์ไฟฟ้า

สร้างระบบนิเวศให้เอื้อต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน

จากการส่งเสริมภาคเอกชนในการ สร้าง ‘ระบบนิเวศ’ รวมไปถึงส่งเสริมให้ประชาขนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า ทั้งในรูปการอุดหนุนเงิน และการลดภาษีประจำปี ส่งผลให้ยอดการจะทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก

โดยข้อมูลจาก กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก ระบุว่า จำนวนรถจดทะเบียนใหม่ จำแนกตามชนิดเชื้อเพลิง (รายเดือน) ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม ปี 2565 จากทั้งหมด 2,550,953 คัน มีรถจดทะเบียนใหม่ที่ใช้ไฟฟ้าแบบ 100 % หรือ BEV ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 มีทั้งหมด 15,423 คัน

รถยนต์ไฟฟ้า

มาตรการส่งเสริมของภาครัฐที่ถูกผลักดันออกมาหลากหลายมาตรการ แม้จะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ประชาชนตัดสินใจทดลองซื้อรถไฟฟ้ามาใช้ แต่ก็ตามมาด้วยปัญหา รายละเอียดปลีกย่อย เช่น ปัญหาประกันภัยรถยนต์ ที่เบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าสูงกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงราว 30-40%

เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัตเหตุรถเสียหาย โดยเฉพาะแบตเตอรี่ จะมีการเปลี่ยนยกชุด ทำให้บริษัทประกันภัยเรียกเก็บเบี้ยประกันในอัตราสูง เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาดังกล่าว ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งแก้ปัญหานี้อยู่

แม้จะดูเป็นปัญหาเล็กๆ แต่หากไม่เร่งแก้ไข รวมไปถึงสร้างระบบนิเวศให้เอื้อต่อการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน เช่น สถานีชาร์จ ที่ยังไม่ครอบคลุม ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของรัฐบาล ที่ได้ตั้งเป้าให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท รวมกว่า 1.05 ล้านคันภายในปี 2568 ก็เป็นได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo