COVID-19

Zero COVID-19 กฟผ.ผลิตไฟฟ้าสุดใจ ใน Safe Zone

แม้ผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ของไทย จะมีลดน้อยลงเหลือหลักสิบรายต่อวัน ผู้ป่วยทยอยออกจากโรงพยาบาล แพทย์พยาบาลในหลายๆแห่งเริ่มผ่อนคลาย ผู้ต้องกักตัวหลายร้อยคนที่กลับจากต่างประเทศ ได้ออกจาก สถานที่กักกันของรัฐ หรือ State และ Local Quarantine หลังครบระยะเฝ้าดูอาการ 14 วัน

เขาได้กลับไปหาครอบครัวกันแล้ว แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งยังทำภารกิจอยู่ใน Safe Zone ต่อไป

195641

ชีวิตของพวกเขายังวนเวียนเข้าออกในห้องปฏิบัติการของโรงไฟฟ้า โดยไม่ได้พบปะครอบครัวมาเป็นเวลามากกว่า 1 เดือน และยังคงทำหน้าที่นี้ อย่างเต็มใจ เพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ

“ณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง” รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่คอยเพียรถามสารทุกข์สุกดิบน้องๆของทีมปฏิบัติการเหล่านี้  บอกว่า “เขามีกำลังใจที่ดี เพราะรู้ว่าภารกิจนี้ ทำเพื่อคนไทย ทำเพื่อประเทศไทย แม้จะไม่มีคนเห็นว่าเขาทำอะไรอยู่ก็ตาม “

ไทม์ไลน์แต่ละวันหลายสิบชีวิตในทีม มีแต่ห้องควบคุมการเดินเครื่อง (Control Room) และที่พักเท่านั้น เขาแตะมือกันเข้า ปฏิบัติหน้าที่กะละ 8 -12 ช.ม. หลังเสร็จจากงาน ต้องอยู่ภายในที่พักบริเวณโรงไฟฟ้าที่ กฟผ. จัดไว้เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการติดโควิด-19 จากภายนอก

ชุมชนท่องเที่ยว 21

ทำไมต้องทำอย่างนั้น ณัฐวุฒิ  อธิบายว่า

เราจะให้คน กฟผ. โดยเฉพาะคนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าของประเทศ ติดโควิด-19 ไม่ได้ เพราะหากติดเชื้อ 1 คน หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานหลายสิบคนในกะเดียวกัน ต้องถูกกักตัวทั้งหมด และต้องปิดห้อง Control Room

และจะสูญเสียคนทำงานไปจำนวนไม่น้อย ที่มากกว่าไปกว่านั้น คือ ภารกิจการดูแลความมั่นคง ของระบบไฟฟ้า ในช่วงเวลาโควิด-19 จะสะดุดไปด้วย

“กฟผ. ต้องดูแลรักษาความมั่นคงของโรงไฟฟ้า ไม่ให้เกิดไฟตกดับในช่วงเวลา ที่ประเทศไทย ต้องการไฟฟ้าที่มั่นคง โรงพยาบาล ต้องรักษาคนไข้โควิด-19 ซึ่งล้วนใช้ไฟฟ้า ประชาชนต่างสมัครใจ Work From Home “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ทุกครัวเรือน ต่างต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น แล้วเราจะทำให้ไฟฟ้าตกๆดับๆให้ประชาชนเดือดร้อน ได้อย่างไร ? ”

IMG 8607

คำถามนี้ กฟผ. ไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่หมายถึงการตั้งใจทำภารกิจนี้ ให้ถึงปลายทาง ตามเป้าหมาย ณัฐวุฒิ ประเมินว่า ตลอดเวลาเดือนเศษๆ ที่เราโฟกัสการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า 24 ชม. ไม่ให้มีอะไรมา ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ พบว่า ไฟฟ้าเดินได้อย่างมั่นคง ไม่มีปัญหาตกดับเลย และเราจะทำไปจนกว่า คนป่วยโควิด-19 รายใหม่ในประเทศไทย จะเหลือ “ศูนย์” สถานการณ์ในประเทศดีขึ้น ตราบนั้น คนกลุ่มนี้ถึงจะได้ “กลับบ้าน”

ตอนนี้เราก็ตามติดความเป็นไปของโควิด-19 ในแต่ละวัน ทั้งสถานการณ์ในประเทศ และของโลก อย่างจดจ่อเหมือนกับประชาชนทุกคน ที่อยากจะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติเหมือนเดิม

DJI 0004 1

“3-4 เดือนของการแพร่ระบาด จนมาถึงวันนี้ คน กฟผ. ไม่ติดเชื้อโควิด-19 เลย” ณัฐวุฒิ ย้อนกลับไปว่า กฟผ. Alert กับสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่พบผู้ป่วยรายแรกๆในประเทศไทย ตอนนั้นเราแบ่งการทำงานเป็น 3 steps

Step 1 ห้ามเยี่ยมชมโรงไฟฟ้า ขณะเดียวกันก็ออกมาตรการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อตามจุดต่างๆ และการตรวจวัดอุณหภูมิพนักงานทุกครั้งที่เข้าออกอาคาร

Step 2 ห้ามบุคคลภายนอกเข้าเขื่อน/โรงไฟฟ้า และ Safe Zone อย่างเด็ดขาด…

Step 3 เตรียมการขั้นสูงสุด กรณีมีคนกฟผ. 1 คนที่ปฏิบัติภารกิจ “ควบคุมการเดินเครื่อง” อันเป็นหัวใจของโรงไฟฟ้า ติดโควิด-19 แนวทางที่เราวางไว้ คือ การจัดห้อง Backup Control Room สำรอง ใช้แทนห้องเดิม ที่จะต้องถูกปิด เพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อทั้งห้อง เพราะมีคนติดเชื้อ รวมถึงการ List รายชื่อพนักงาน ที่เคยทำหน้าที่เดินเครื่อง แต่ปัจจุบันไปทำหน้าที่อื่น สำรองไว้ สามารถเรียกเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที เมื่อมีคนที่ทำงานในปัจจุบันติดเชื้อ และต้องกักตัว 14 วันยกกะ

“เราไม่อยากให้คน กฟผ. ติดโควิด-19 แม้แต่รายเดียว เพราะถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่ง นอกจากการวางแนวทางการทำงาน  ให้ภารกิจสั่งเดินเครื่องของเราราบรื่น ไม่สะดุด จากการมีคน กฟผ. คนใดคนหนึ่งติดโควิด-19 แล้ว คนทำงานในส่วนอื่นๆ เราก็ระวังเช่นกัน มีการออกประกาศตั้งแต่แรกๆ ห้ามไปศึกษาดูงานต่างประเทศ และ Work From Home”

20200421 PRE01 08

messageImage 1588058485776

นอกจากนี้ กฟผ. ก็พยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือทีมแพทย์ พยาบาล ในสิ่งที่สามารถจัดหา หรือ ทำได้ เช่น การระดมวิศวกร และช่าง กฟผ. ผลิตตู้ความดันบวก ลบ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ใช้ในการตรวจคนไข้ จำนวน 120 ตู้ มอบให้กับโรงพยาบาลจำนวน 100 แห่ง ทั่วประเทศ รวมถึงการจัดหาเจลแอลกอฮอล์ มอบให้โรงพยาบาลต่างๆ และกระจายแจกจ่ายในชุมชน ทั้งที่ดำเนินการเอง และร่วมมือกับกระทรวงพลังงาน อีกทั้งได้มอบเงินบริจาคให้กับโรงพยาบาลต่างๆสำหรับนำไปจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือ ไม่ให้เกิดการขาดแคลน

224939

การกระชับการทำงานอย่างเข้มข้น และเข้มงวด รวมถึงการระดมสรรพกำลังของ กฟผ. ครั้งนี้ เราหวังเหมือนกับประชาชนทั้งประเทศ ที่อยากจะให้สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยดีขึ้น ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นอีกต่อไป 

Avatar photo