CEO INSIGHT

2562 ปีที่ท้าทาย ‘SAM’ ในธุรกิจซื้อ-ขายพอร์ตหนี้

เพิ่งก้าวขึ้นมารับตำแหน่ง ผู้บริหารสูงสุด ของ SAM หรือ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (บสส.) เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้เอง ผ่านมายังไม่ถึงเดือนสำหรับการนั่งเก้าอี้ผู้บริหารสูงสุด SAM ของ “นิยต มาศะวิสุทธิ์” อดีตรองกรรมการผู้จัดการ ผู้คร่ำหวอดในธุรกิจบริหารสินทรัพย์มาโดยตลอด

นิยต มาศะวิทธิ์
นิยต มาศะวิทธิ์

ภารกิจในตำแหน่งใหม่ ผู้บริหารสูงสุด SAM จึงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ “นิยต” ด้วยผลงานที่ผ่านมาสร้างการเติบโตให้กับพอร์ตสินทรัพย์ของ SAM มาอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2561 สามารถทำยอดเงินสดรับได้กว่า 11,400 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 134% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ แลฃะสามารถซื้อสินเทรัพย์เจ้าพอร์ตได้กว่า 10,000 ล้านบาท  และมีสินทรัพย์ NPL (หนี้ที่ไม่ก่อเกิดรายได้) คงเหลือมูลค่ารวมกว่า 3.35 แสนล้านบาท ใหญเป็นอันดับ 2 ใน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ที่มีบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ในตลาดทั้งสิ้นเกือบ 50 ราย

ปีนี้เป็นปีที่ท้าทาย เพราะมีหลายปัจจัย ที่อาจกระทบตลาดการซื้อ-ขายสินทรัพย์ NPA และ NPL

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารสูงสุด SAM ยืนยันว่ามีทีมงานที่เตรียมความพร้อมที่จะรุกตลาดอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางการบริหารสินทรัพย์ ในแผนงานปี 2562 โดยยอมรับว่ามีหลายปัจจัยที่อาจเข้ามากระทบตลาด แต่ก็ยังคงมั่นใจว่าจะบริหารพอร์ตสินทรัพย์ได้ตามเป้า ที่ตั้งไว้ปี 2562 ที่ ยอดเงินสดรับไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมาที่ 11,600 ล้านบาท ซึ่งจะเห็นว่าปรับเพิ่มจากปีก่อนไม่มาก เนื่องจากประเมินจากความเสี่ยงหลายปัจจัย ที่เช้ามาเกี่ยวข้อง

ผลดำเนินงานปี 2561

ไม่ว่าจะเป็น การขายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ GDP ซึ่งคาดว่าปี 2562 อัตราการเติบโตของ GDP อาจไม่ถึง 4% ต่ำกว่าปี 2561 ค่อนข้างแน่นอน ดังนั้นการระบายสินทรัพย์ NPA ก็น่าจะทำได้ช้ากว่าปี 2561 ปัจจัยที่สองเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นมา ก็เป็นอุปสรรคหนึ่งในการตัดสินใจของนักลงทุน

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านกฎหมาย คือ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่อาจส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนของ SAM ในการถือสินทรัพย์ NPA (ทรัพย์สินไม่ก่อเกิดรายได้รอการขาย) ต้องมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ซื้อเองก็ต้องลังเล หากการซื้อสินทรัพย์โดยยังไม่มีแผนนำไปพัฒนา ก็จะเป็นภาระด้านภาษีเพิ่มขึ้นเช่นกัน อาจทำให้การขายสินทรัพย์ NPA ต่างๆ ทำได้ช้าลง

NPL คงเหลือตามทำเล

โดยเฉพาะสินทรัพย์ในพอร์ต SAM ส่วนใหญ่กว่า 31.48% เป็นที่ดินเปล่า ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัว เพราะผู้ซื้อนำไปพัฒนาได้ง่าย แต่หากไม่มีแผนพัฒนาก็จะยังไม่ตัดสินใจ ต่างกับในอดีตเมื่อเห็นราคาถูกอาจซื้อเก็บไว้ก่อน ซึ่งกฎหมายที่ดินใหม่ไม่เอื้อให้การซื้อที่ดินเก็บไว้ เพราะต้องแบกภาระภาษีเพิ่ม

NPL คงเหลือตามประเภท

อย่างไรก็ตาม นิยต เผยว่า แผนงานของ SAM ในปี 2562 นี้ก็ยังคงวางเป้าการเติบโต แม้จะไม่มากนักแต่ก็เชื่อว่ายังเติบโตได้ และนอกจากการซื้อสินทรัพย์ NPL จากธนาคาพาณิชย์ต่างๆ แล้ว ล่าสุด SAM ยังรอความคืบหน้ากฎหมาย ให้สามารถซื้อ NPL จาก Non-Bank หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ได้ จะทำให้สามารถซื้อพอร์ต NPL เข้ามาบริหารจัดการได้มากขึ้นด้วย

ลูกหนี้คงเหลือ 2561

ปัจจุบัน SAM มีสินทรัพย์ NPA คงเหลืออยู่ 3,764 รายการ มูลค่ารวม 21,000 ล้านบาท แบ่งเป็น สินทรัพย์รายการใหญ่มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท ราว 5% ที่เหลือเป็นสินทรัพย์มูลค่าต่ำกว่า 20 ล้านบาทราว 95% ในจำนวนนี้กว่า 50% เป็นสินทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย

ดังนั้นกลยุทธ์การบริหารจัดการ NPA ในปี 2562 นี้จึงจะเน้นหนักไปที่การทำตลาดเข้าถึงลูกค้ารายย่อยเป็นหลัก โดยวางแผนจัดกิจกรรมต่างๆ ตลอดปี เช่น การจัดงานประมูลทรัพย์ NPA จำนวน 9 ครั้ง การเข้าร่วมงานมหกรรมกับหน่วยงานพันธมิตรจำนวน 5 ครั้ง รวมถึงการเปิดบูธ “ทรัพย์มือสองต้อง SAM” จำนวน 6 ครั้ง

นอกจากนี้ยังมีการจัดโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมการขายที่น่าสนใจมากมาย เช่น “SAM อีซี่โปร” ฟรีค่าโอน 1% พร้อมอีก 2 โปรโมชั่นยอดนิยม ทั้ง  “SAM จัดให้” และ “SAM Light ผ่อนสบายๆ 0%” และกิจกรรมอื่นๆ ที่จะทยอยออกมาส่งเสริมการขายตลอดทั้งปี

ผู้บริหารสูงสุด คนใหม่ของ SAM ได้วางโรดแมพแผนพัฒนาธุรกิจ ซื้อ-ขายสินทรัพย์หนี้ไว้ 2 กิจกรรมหลัก เพื่อบรรลุการเติบโตตามที่คาดหวัง คือ

  • เป้าเงินสดรับตั้งไว้ที่ 11,600 ล้านบาท สูงกว่าปี 2561 ที่ทำมาได้ 11,400 ล้านบาท เติบโตน้อยเนื่องจากประเมินบนพื้นฐาน GDP ไม่เกิน 4%
  • เป้าการซื้อพอร์ตสินทรัพย์หนี้มาบริหาร ปีนี้ตั้งไว้ที่ 16,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่ซื้อพอร์ตหนี้เข้ามาประมาณ 10,000 ล้านบาท

ทั้งสองเป้าหมายดังกล่าว จะดำเนินภายใต้กลยุทธ์สำคัญ 4  ด้านประกอบด้วย

  1. การเพิ่มพอร์ต NPL เข้ามาดำเนินการ
  2. ขยายคลินิกแก้หนี้ เพิ่มการให้บริการอย่างทั่วถึง และสะดวกเพิ่มบริการในวันเสาร์
  3. เน้นใช้เทคโนโลยีใหม่ ที่สื่อสารกับลูกค้า และลูกหนี้ได้สะดอกรวดเร็วขึ้น พร้อมตอบสนองได้อย่างทั่วภถึง โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่ LINE และ Chat Box ต่างๆ ให้ลุกค้าสามารถติดส่อสื่อสารได้ตลอดเวลาทั้ง 24 ชั่วโมง 7 วันตลอดสัปดาห์
  4. การทำ CSR In Process ซึ่งก็คือกิจกรรม คลินิกแก้หนี้ ช่วยลูกหนี้ในการแก้ปัญหาภาระหนี้ ให้ความรู้กับประชาชนเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ ถือเป็นการทำ CSR ในกระบวนการธุรกิจ นอกเหนือจากการทำ CSR ทั่วไปเช่นมอบเงินให้มูลนิธิพระดาบส

ขยายบริการ “คลินิกแก้หนี้”

ส่วนโครงการคลินิกแก้หนี้  นิยต เผยว่า ในปี 2561 มีผู้สมัครเข้าโครงการ 9,800 ราย  โดยยอดรวมผู้ผ่านคุณสมบัติและลงนามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว จำนวน 1,087 ราย  ปัจจุบันมีลูกหนี้ที่ยังผ่อนชำระอยู่กับโครงการเกือบ 1,000 ราย ภาระหนี้รวมทั้งสิ้น 270 ล้านบาท

นอกจากนี้  SAM ยังดำเนินงานด้านการอบรม และให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ผ่านหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สถานีตำรวจภูธร อ.ด่านช้าง สำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม สถาบันคุ้มครองเงินฝาก บจ.ธนบุรีประกอบรถยนต์ บจ.สยามมิชลิน เป็นต้น

เนื่องจากมีเป้าหมายในการขยายบริการคลินิกแก้หนี้ ผู้บริหารสูงสุด SAM ได้เตรียมความพร้อมขยายขอบเขตการให้บริการเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่ม Non-Bank และเพิ่มความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น เครดิตบูโร เพื่อลดกระบวนการและขั้นตอนการตรวจสอบให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

รวมทั้งยังมีแผนจัดกิจกรรม เปิดบ้านทำงานวันหยุดกับ คลินิกแก้หนี้  ทุกวันเสาร์ โดยเริ่มครั้งแรก วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ และตลอดเดือนมีนาคมนี้  ณ ที่ทำการ ชั้น 12 อาคารเล้าเป้งง้วน  ถ.วิภาวดีรังสิต ด้วยหวังว่าการจัดกิจกรรมนี้ จะช่วยสร้างโอกาสและกระตุ้นกลุ่มเป้าหมาย ให้เข้ามาขอคำปรึกษาและเข้าร่วมโครงการมากขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนด้านหนี้สินส่วนบุคคล ของผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวได้ไม่มากก็น้อย

ขณะเดียวกัน ยังเป็นการช่วยให้ลูกหนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญ จัดกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น การอบรมและให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อเสริมสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยเฉพาะนักศึกษาที่จบการศึกษาใหม่ ที่กำลังจะเข้าทำงาน เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการวางแผนการเงินก่อนเริ่มมีรายได้

ทั้งนี้ ในปี 2562 SAM  ยังให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยเข้ามาให้บริการลูกค้า ผ่านแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ และสื่อโซเชียลอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง  เพื่อเข้าถึงลูกค้าและให้บริการอย่างสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างที่ประกาศไว้ว่า ต้องการให้ลูกหนี้สื่อสารกับ SAM ได้ตลอดเวลา ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้ง LINE และ Chat Box ต่างๆ เป็นการนำเทคโนโลยีมาทำให้การทำงานสะดวกราบรื่นขึ้น

ทรัพย์เด่น 1 โรงแรม

นอกจากนี้ ผู้บริหารสูงสุด SAM ยังได้แนะนำสินทรัพย์เด่น ที่จะนำออกขายล่าสุดว่า มีทรัพย์ที่น่าสนใจอยู่หลายรายการ โดยเฉพาะทรัพย์รายการใหญ่ เช่น รหัสทรัพย์  8Z6057 ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เนื้อที่ 8 ไร่ครึ่ง พร้อมอาคารพักอาศัย จำนวน 252 ห้อง บนทำเลทองสำหรับธุรกิจโรงแรม โรงพยาบาล ในพื้นที่ EEC ใกล้นิคมมาบตาพุต ราคา128.39 ล้านบาท

ทรัพย์เด่น 2 ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม

อีกแปลง รหัสทรัพย์  4T0401 ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง บนถนนสายสัตหีบ-ฉะเชิงเทรา (ทล.331) เนื้อที่ 37 ไร่ เศษ พร้อมโรงงาน พื้นที่รวมเกือบ 2 หมื่นตารางเมตร ในอ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ทำเลอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ราคาประกาศขายขั้นต่ำ 61.79 ล้านบาท เป็นต้น

นอกจากสองรายการนี้แล้ว SAM ยังมีทรัพย์น่าสนใจอีกหลายรายการ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sam.or.th

Avatar photo