World News

3 ผู้พัฒนาลำแสงระดับ ‘อัตโตวินาที’ คว้า ‘โนเบลฟิสิกส์’ ปี 2566

คณะกรรมการรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2566 ยกย่องผลงานดีเด่นของนักวิทยาศาสตร์ 3 คน ผู้ทำการทดลองจนค้นพบเทคนิคการยิงลำแสงในจังหวะความถี่ที่สั้นมากระดับอัตโตวินาที (Attosecond Pulses) ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาพลวัตของอนุภาคอิเล็กตรอน ขณะกำลังเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนระดับพลังงานในสสารต่าง ๆ

บีบีซี รายงานว่า ผู้พิชิตรางวัลโนเบลฟิสิกส์ดังกล่าว ได้แก่ ศ.ปิแอร์ ออกุสตินี จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต ของสหรัฐ ศ.เฟอเรนซ์ เคราซ์ จากสถาบันมักซ์พลังก์เพื่อการศึกษาควอนตัมออปติกส์ของเยอรมนี และศ.แอนน์ ลุยลิเยร์ จากมหาวิทยาลัยลุนด์ ของสวีเดน

โนเบลฟิสิกส์

หนึ่งอัตโตวินาที หรือ 10−18 วินาที คือชั่วขณะที่สั้นมากยิ่งกว่าพริบตาเดียว โดยคิดเป็นเพียง 1 ในราว 13,800 ล้านส่วน ของหนึ่งวินาทีเท่านั้น โดยตัวเลข 13,800 ล้านที่นำมาเปรียบเทียบ คือจำนวนปีที่เป็นอายุของจักรวาลนั่นเอง

วิทยาการฟิสิกส์ในระดับอัตโตวินาที เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงกับสสาร ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจสอบโครงสร้าง และกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในโมเลกุลต่าง ๆ ณ ชั่วขณะที่กระบวนการทางเคมีหรือฟิสิกส์อนุภาคกำลังเกิดขึ้นจริง เสมือนกับว่ามองเข้าไปเห็นความเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนได้

ลำแสงซึ่งมีความถี่สั้นที่สุดที่มนุษย์เคยทำได้ในระดับดังกล่าว อยู่ที่ 43 อัตโตวินาที โดยการพัฒนาลำแสงชนิดนี้มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การวิเคราะห์อนุภาคและปฏิกิริยาเคมีในระดับละเอียด

โนเบลฟิสิกส์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo