World News

ประชุมสุดยอดอาเซียน กับความท้าทาย ที่รออยู่ของ ‘คามาลา แฮร์ริส’

รองประธานาธิบดีสหรัฐ “คามาลา แฮร์ริส” มีกำหนดเดินทางมายังกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย ในสัปดาห์นี้ เพื่อร่วมประชุม “ผู้นำอาเซียน” ท่ามกลางความท้าทายในด้านต่าง ๆ  ที่รอการหารืออยู่ 

วีโอเอ รายงานว่า ระหว่างวันที่ 4-7 กันยายนนี้ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) จะมีการจัดประชุมสุดยอดขึ้น รวมถึง การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ซึ่งมีสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ร่วมพูดคุยกับผู้นำสหรัฐ จีน รัสเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์

ประเด็นท้าทายสำคัญที่นางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ ต้องเผชิญในการประชุมครั้งนี้ มีตั้งแต่ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ สถานการณ์ในเมียนมา ไปจนถึงสงครามยูเครน

อาเซียน

ข้อพิพาททะเลจีนใต้

ก่อนที่การประชุมครั้งนี้จะเริ่มขึ้นเพียงไม่กี่วัน จีนเพิ่งเปิดเผย “แผนที่มาตรฐาน” ประจำปีฉบับใหม่ ซึ่งแสดงให้เห็น “เส้นประ 10 เส้น” ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ ที่จีน ไต้หวัน และหลายประเทศในอาเซียน กล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อน ก่อให้เกิดความไม่พอใจให้แก่บรรดาประเทศเพื่อนบ้านของจีน

โฆษกทำเนียบขาว เปิดเผยว่า นางแฮร์ริสจะยืนยันสนับสนุน “เสรีภาพในการเดินเรือ การจัดการข้อพิพาทอย่างสันติ และการยึดมั่นต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ”  ระหว่างการหารือเรื่องทะเลจีนใต้ในการประชุมอาเซียนครั้งนี้

อาเซียน

ความรุนแรงในเมียนมา

บรรดาสมาชิกอาเซียนยังคงมีจุดยืนที่แตกต่างกันในเรื่องการจัดการกับสถานการณ์ในเมียนมา โดยทั้งอินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม ต่างออกมาร่วมประณามการรัฐประหาร และการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลทหารเมียนมา ระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อปี 2564 แต่บรูไน กัมพูชา ลาว และไทย ไม่ทำเช่นนั้น

ที่ผ่านมา สหรัฐใช้มาตรการลงโทษหลายชุดต่อรัฐบาลทหารเมียนมา โดยคาดว่ารองประธานาธิบดีแฮร์ริส จะใช้โอกาสนี้ เน้นย้ำจุดยืนของสหรัฐ ที่ต่อต้านการรัฐประหาร และกระตุ้นให้เมียนมากลับคืนสู่เส้นทางประชาธิปไตยโดยเร็ว

อาเซียน

สงครามยูเครน

บางประเทศในกลุ่มอาเซียนค่อนข้างนิ่งเฉย ต่อการประณามการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครน เช่นเดียวกับประเด็นทะเลจีนใต้ และเมียนมา

สิงคโปร์และฟิลิปปินส์คือ 2 ประเทศที่ออกมาตำหนิการกระทำของรัสเซียอย่างแข็งกร้าว โดยสิงคโปร์ยังร่วมกับชาติตะวันตกใช้มาตรการลงโทษรัสเซียด้วย แต่รัฐบาลทหารเมียนมา กลับออกมาสนับสนุนรัสเซีย โดยให้เหตุผลว่า เป็นการป้องกันอธิปไตยของรัสเซีย ต่อการคุกคามของชาติตะวันตก

ขณะที่ เวียดนาม กัมพูชา และลาว ล้วนมีความสัมพันธ์ทางทหารที่ดีกับรัสเซีย ส่วนมาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย และไทย ต่างแสดงตัวเป็นกลางในเรื่องนี้ โดยคาดว่า ในการเข้าร่วมการประชุมที่กรุงจาการ์ตา  รองประธานาธิบดีแฮร์ริส จะใช้คำพูดที่แข็งกร้าวต่อการกระทำของรัสเซีย และจะเรียกร้องอีกครั้ง ให้แก้ไขผลกระทบจากสงคราม ที่มีต่อทั่วโลก

อาเซียน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo