Videos

‘ไทย-ภาคี’ จับมือแสดงจุดยืนโลกร้อน ที่ ‘Thailand Pavilion’

ประเทศไทย จับมือภาคี แสดงจุดยืน ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มิติต่าง ๆ ในเวทีโลก ที่ Thailand Pavilion

ตลอดการประชุม Cop26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอณาจักร นอกจากเวทีการประชุมใหญ่ที่ทั่วโลกจับตามองแล้ว ยังพบว่ามีกิจกรรมนอกเวทีการประชุม จากประเทศต่าง ๆ มาร่วมแสดงผลงาน และจุดยืนในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

ประเทศไทยได้ จัดแสดง Thailand Pavilion ในการประชุม Cop26 ซึ่งเป็นความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคีภาคเอกชน ของประเทศไทย ได้มีการจัดเวทีย่อย ณ Thailand Pavilion เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น และแสดงจุดยืนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก

ภายใน Thailand Pavilion มีกิจกรรมต่างๆที่น่าสนใจ ดังนี้

  • ต้อนรับกลุ่มเยาวชนจาก Singapore Youth for Climate Action (SYCA)

ใช้พื้นที่จัดสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “Youth in Climate Action: Our Role. Our Contribution. Our Generation.” โดยมีตัวแทนเยาวชนหลัก 5 คนจากสิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง และไทย รวมถึงอีกหลากหลาย ที่เข้าร่วมสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเล่าถึงความเป็นมาของแต่ละคน เกี่ยวกับเรื่องจุดเริ่มต้นการเป็นผู้นำในเรื่องของ Climate Action ภายในขอบเขตความรับผิดชอบ และบริบทการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ตามด้วยช่วงคำถาม-คำตอบที่น่าสนใจ

  • ต้อนรับ นายโรเบิร์ต โมรี  ผู้ประสานงาน กระทรวงสาธารณูปโภคพื้นฐาน และน้ำ เนเธอร์แลนด์

ใช้พื้นที่จัดสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “Dialogue between Cities of Water: The Netherlands and Thailand” โดยมีตัวแทนผู้เชี่ยวชาญ 3 คน แลกเปลี่ยนประสบการณ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแชร์ Best Practices, How to Learn from Mistakes, and How to Learn from the Process, not just the Product ของแต่ละประเทศ

หัวข้อหลักเน้นไปที่ความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำ เพราะทรัพยากรน้ำ ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ในการบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Climate Action ตัวอย่างเช่น Food Security ซึ่งเป็นหนึ่งใน Sustainable Development Goals ของ United Nations

นายโมรี ยังให้พูดถึงแนวทางการใช้ Nature-based Solutions ว่าทุก ๆ แผนงาน หรือนโยบายที่ทำ ควรจะอ้างอิงถึงธรรมชาติเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น การลดการใช้คอนกรีต เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากการระบายน้ำไม่ทัน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้ฝากถึงกลุ่มคนฟัง และกลุ่มเยาวชนรุ่นต่อไปว่า อยากให้มาร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหา มากกว่าการวิพากษ์วิจารณ์เพียงอย่างเดียว ตามด้วยช่วงคำถาม-คำตอบที่น่าสนใจจากกลุ่มคนฟัง

Thailand Pavilion

  • ต้อนรับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ Thailand Greenhouse Gas Management Organization (TGO)

ใช้พื้นที่จัดสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “Thailand Carbon Neutral Network”  และ “Thailand Minister’s Climate Talk and Business Leaders” โดยมีตัวแทนผู้เชี่ยวชาญบนเวที 3 คน รวมถึง อีกจำนวนหนึ่งที่เข้าร่วมสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนะนำที่มาที่ไปของ Climate Action Initiatives ของแต่ละองค์กร

  • ต้อนรับ ดร.กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิก ผู้ได้รับรางวัล 2020 UN Global Climate Action Award

ใช้พื้นที่จัดสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “Nature-based Solution to Increase Urban Adaptability” แลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแชร์ผลงานจากโครงการ ในส่วนของการออกแบบพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ ในประเทศไทย ที่มีส่วนช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างเช่น อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ถูกสร้างให้มีความลาดเอียง 3 องศา เพื่อรองรับน้ำฝนและป้องกันน้ำท่วม และสวนผักอินทรีย์ลอยฟ้าใหญ่ที่สุดในเอเชีย ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thailand Pavilion

  • ต้อนรับกลุ่มเยาวชน Global Youth Talk

ใช้พื้นที่จัดสัมมนา ภายใต้หัวข้อ “Live from COP26! Hope and Fear with Global Youths at Thailand Pavilion” โดยมีตัวแทนเยาวชนหลัก 6 คน จาก สหรัฐ โคลัมเบีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไทย รวมถึงอีกหลากหลาย ที่เข้าร่วมสัมมนาในรูปแบบออนไลน์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เล่าถึงความเป็นมาของแต่ละคน เรื่องจุดเริ่มต้นการเป็นผู้นำในเรื่องของ Climate Action ภายในขอบเขตความรับผิดชอบ และบริบทการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล

นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงความคาดหวัง และความกังวล ที่มีต่อบทสรุปงาน COP26 ในครั้งนี้ ตามด้วยช่วงคำถาม-คำตอบที่น่าสนใจ โดยมีดร.กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิก เจ้าของรางวัล 2020 UN Global Climate Action Award ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo