Environmental Sustainability

‘เลขาฯ สผ.’ เปิดละเอียด ประชุม 5 วัน ‘COP26’ เน้นหารือ ‘ลดก๊าซเรือนกระจก’

เลขาฯ สผ. เปิดเผยรายละเอียด “COP26” ประชุมโลกร้อนของยูเอ็นช่วง 5 วันที่ผ่านมา ระบุ มีการหยิบยกประเด็นต่าง ๆ มาหารือ เพื่อหวังลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างเข้มข้น

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของประเทศ ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) กล่าวถึงการประชุม COP26 ในช่วง 5 วันที่ผ่านมา ว่า ในพิธีเปิดการประชุม COP26/CMP16/CMA3 อย่างเป็นทางการมีขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564 มีการรับรองวาระการประชุม และกำหนดแนวทางในการทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมสำหรับการประชุมครั้งนี้

S 49029127

ประเทศที่เข้าร่วมการประชุมชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการประชุมครั้งนี้ ที่ต้องเร่งหารือในประเด็นสำคัญที่จะนำมาสู่การยกระดับการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น และการสนับสนุนกลไกการดำเนินงาน ที่จะทำให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายของความตกลงปารีส

เนื่องจากรายงานทางวิทยาศาสตร์ที่เผยแพร่ออกมาในปีนี้ โดยเฉพาะรายงาน Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) Working Group I (WG I) contribution to the Sixth Assessment Report ต่างชี้ให้เห็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ทวีความรุนแรงมายิ่งขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก และโอกาสที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณภูมิไม่ให้เกิน 2 หรือ 1.5 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายของความตกลงปารีสเหลือน้อยลงทุกขณะ

ดังนั้น การประชุม COP26/CMP16/CMA3 เป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศต่าง ๆ จะร่วมกันกำหนดแนวทางที่จะทำให้เป้าหมายดังกล่าวเป็นจริงได้

S 139812909

ขณะที่ การประชุม World Leaders Summit ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2564 โดยนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรี สหราชอาณาจักร เป็นเจ้าภาพการประชุม มีผู้นำจากประเทศต่าง ๆ จำนวน 117 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เข้าร่วมการประชุม

บรรดาผู้นำได้กล่าวถ้อยแถลง แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมประกาศเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์ (Net zero GHG emission) และความมุ่งมั่น ลดก๊าซเรือนกระจก และมุ่งสู่การพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และมีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศ

รวมถึง การประกาศเป้าหมายการสนับสนุนทางการเงินด้านสภาพภูมิอากาศ เช่น อินเดีย ประกาศเป้าหมายที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2613 และมีการใช้พลังงานทดแทน 50% ภายในปี 2573

ออสเตรเลีย ประกาศเป้าหมายจะลดก๊าซเรือนกระจก 35% ภายในปี 2573 เยอรมนี ประกาศเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 65% ภายในปี 2573 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2588 พร้อมเพิ่มเป้าการสนับสนุนทางการเงิน 600 ล้านยูโร

S 139812913

ญี่ปุ่น ประกาศเป้าหมายจะลดก๊าซเรือนกระจก 46% ภายในปี 2573 และจะสนับสนุนทางการเงิน 10,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี 2569 เกาหลีใต้ ประกาศลดก๊าซเรือนกระจก 40% ภายในปี 2573 อินโดนีเซีย ประกาศเป้าหมาปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในภาคป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในปี 2573

เวียดนาม ประกาศปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 สเปน ประกาศสมทบทุนให้แก่กองทุนการปรับตัวฯ (Adaptation Fund) จำนวน 30 ล้านดอลลาร์  ในปี 2565  และ นอร์เวย์ ประกาศเพิ่มการสนับสนุนทางการเงิน 2 เท่า เป็นจำนวน 1.6 ล้านดอลลาร์  ภายในปี 2569 เป็นต้น

นอกจากนั้น ประเทศต่าง ๆ ได้ประกาศเข้าร่วมปฏิญญาสำคัญ ที่รับรองในการประชุมครั้งนี้ อาทิ

  • The Glasgow Leaders’ Declaration on Forests and Land Use
  • Global Coal to Clean Power Transition Statement
  • World Leader Summit Statement on the Breakthrough Agenda
  • COP26 declaration on accelerating the transition to 100% zero emission cars and vans

S 139812911

ภายหลังพิธีเปิดประชุม COP26/CMP16/CMA3 ประเทศต่าง ๆ ยังเจรจาในประเด็นสำคัญ ที่ต้องเร่งหาข้อสรุปให้ได้ในการประชุมครั้งนี้ อาทิ

  • กฎการดำเนินงานของกลไกตลาดและไม่ใช่ตลาดภายใต้ข้อ 6 ของความตกลงปารีส
  • แผนการปรับตัวแห่งชาติ (National Adaptation Plan)
  • กรอบเวลาสำหรับการดำเนินงานของ NDC
  • ผลกระทบจากการใช้มาตรการลดก๊าซเรือนกระจก ของประเทศพัฒนาแล้ว ที่มีต่อประเทศกำลังพัฒนา (Impact on the implementation of response measure)
  • แนวทางและการเงิน ที่จะรองรับการสูญเสียและความเสียหาย ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การบูรณาการของกลไกด้านเทคโนโลยี
  • แนวทางการดำเนินงานด้านการเกษตร
  • รูปแบบการรายงานบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
  • การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามเป้าหมาย NDC
  • รายงานการให้/ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยี
  • การเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง แนวทางระดมทุนสนับสนุนการดำเนินงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากประเทศพัฒนาแล้ว ต่อประเทศกำลังพัฒนา ตามเป้าหมายที่กำหนดให้ได้ 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งปัจจุบันพบว่า ยังไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายนี้ได้ โดยยังอยู่ในระดับประมาณ 48,700 ล้านดอลลาร์ต่อปีเท่านั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo