The Bangkok Insight

ใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ อ่านด่วน!! หากได้รับอันตราย ทำตามนี้

สภาองค์กรของผู้บริโภค แนะวิธีสังเกตเมื่อใช้บริการเรียกรถผ่านแอปฯ หากถูกคุกคาม หรือได้รับอันตราย ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

สภาองค์กรของผู้บริโภค โพสต์เพจเฟซบุ๊ก เรื่อง เรียกรถผ่านแอปฯ แต่ได้รับอันตราย ต้องทำอย่างไร? โดยระบุว่า

เรียกรถผ่านแอปฯ

เพื่อความปลอดภัยเมื่อต้องใช้บริการรถสาธารณะ เช่น รถแท็กซี่ที่เรียกผ่านแอปพลิเคชัน ผู้โดยสารควรสังเกตอะไร แสดงไว้ตรงไหน และหากไม่ได้รับความปลอดภัยควรทำอย่างไร

ผู้ใช้บริการ สามารถสังเกตตัวรถที่นำรถยนต์มาให้บริการ ว่าเป็นรถที่จดทะเบียนถูกต้องหรือไม่ โดยหากเป็นรถแท็กซี่ ต้องจดทะเบียนรถเป็น รถยนต์สาธารณะ (ป้ายเหลือง)

ส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลที่รับจ้างผ่านแอปพลิเคชัน ต้องจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็น รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และติดสติ๊กเกอร์สัญลักษณ์ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังรถที่เห็นได้ชัดเจน

รถยนต์รับจ้า

สำหรับรถจักรยานยนต์รับจ้างผ่านแอปพลิเคชันที่ถูกต้องตามกฎหมายต้องเป็นรถจักรยานยนต์สาธารณะ (ป้ายเหลือง) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 กรกฎาคม 2565 และคนขับจะต้องใส่เสื้อคลุมของแอปพลิเคชันเมื่อให้บริการด้วย

แต่ในกรณีที่ถูกคุกคาม หรือเจอปัญหา และไม่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้บริการขนส่งแนะนำให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. เก็บรวบรวมหลักฐาน เช่น จดป้ายทะเบียนรถ ชื่อคนขับ สีและยี่ห้อของรถยนต์ และหากมีภาพประกอบอื่น ๆ ก็สามารถนำไปเป็นหลักฐานได้

2. ร้องเรียนผ่านแอปฯ ที่ใช้บริการ เช่น Bolt, Grab หรือ Lineman เป็นต้น

3. หากไม่ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม สามารร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารสาธารณะ สายด่วน 1584 หรือร้องเรียนกับสภาผู้บริโภค ตามช่องทางดังต่อไปนี้

  • ร้องเรียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ tcc.or.th คลิกลิงก์ https://crm.tcc.or.th/portal/public
  • ไลน์ออฟฟิเชียล (Line Official) : @tccthailand คลิกลิงก์ https://lin.ee/uhDyO1U
  • อีเมล : [email protected]
  • โทรศัพท์ : 02 239 1839 กด 1, 081 134 9215 หรือ 081 134 9216
  • อินบ็อกซ์เฟซบุ๊ก (Facebook Inbox) : สภาองค์กรของผู้บริโภค

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo