Stock - Finance

นักวิเคราะห์มองบวก ‘SCB’ ปรับโครงสร้างธุรกิจ มุ่งสู่ ‘SCBx ‘

จะพูดว่าเป็นข่าวใหญ่ที่สุดของวงการธนาคารของปีนี้เลยก็ว่าได้ เมื่อกลุ่มไทยพาณิชย์ (SCB Group) ประกาศวิทัยทัศน์องค์กร ปรับโครงสร้างธุรกิจใหญ่ โดยจะมีการจัดตั้ง SCBหรือ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อถือหุ้นในบริษัทอื่นๆ ในเครือ ในรูปแบบของ Holding Company

SCBx จะเป็นเหมือน “ยานแม่”  ที่ถือหุ้นในหลายธุรกิจของกลุ่ม ทั้งธุรกิจที่เป็น Cash Cow เช่น ธนาคาร สินเชื่อ หลักทรัพย์ ประกัน และธุรกิจที่เป็น New Growth อย่าง Financial Technolocy ต่างๆ ซึ่งต่อจากนี้ต้องไม่จำกัดตัวเองอยู่ที่ธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป แต่เป็นการเร่งขยายธุรกิจเชิงรุก บริหารแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีขนาดใหญ่ให้ทัดเทียมคู่แข่งระดับโลก 

scb มุ่งสู่ scb x e1632495525326

ประเด็นสำคัญก็คือจะมีการเพิกถอนหุ้น SCB ออกจากกระดานตลาดหลักทรัพย์ฯ และนำ SCBx เข้ามาซื้อขายแทน ด้วยแลกหุ้น (swap) ในอัตรา 1 ต่อ 1 

ทำให้ผู้ถือหุ้นเดิมของ SCB ก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้น SCBx ไปโดยปริยาย ขั้นตอนต่อไปทางบริษัทเตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้ 

นอกจานกนี้ จะมีเงินปันผลพิเศษจ่ายออกมา 70,000 ล้านบาท  แบ่งเป็น 70% เพื่อให้ SCB นำไปจัดตั้งธุรกิจใหม่ตามแผน และอีก 30% เป็นเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งคาดว่าจะจ่ายได้ในช่วงปี 2565 

หุ้น SCB วิ่งแรงรับข่าวดี

ข่าวประกาศปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ส่งผลให้ราคาหุ้น SCB ปรับเพิ่มขึ้นทันทีที่เปิดการซื้อขายวันที่ 23 กันยายน 2564 เปิดตลาดที่ 131 บาท เพิ่มขึ้น 21.50 บาทจากวันก่อนหน้า จากนั้นราคาไต่ระดับสูงขึ้นทำราคาสูงสุดของวันที่ 137 บาท และปิดตลาดที่ 130 ปรับเพิ่มขึ้นถึง +18.72% ในวันเดียว แถมยังดึงให้หุ้นกลุ่มธนาคารอื่นๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย 

เมื่อลองสำรวจบทวิเคราะห์ พบว่ามีถึง 4 โบรกเกอร์ที่พร้อมใจมองตรงกันว่านี่จะเป็นประเด็นบวกอย่างมากต่อผู้ถือหุ้น SCB รวมถึง SCB ในอนาคต โดยบล. เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ระบุว่า มีมุมมองเชิงบวกต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ Tech Company ของไทยพาณิชย์ และแผนการปรับโครงสร้างเพื่อสร้างมูลค่าระยะยาวจากการ spin-off บริษัทย่อย 

คาดว่าจะส่งผลให้ ROE สูงขึ้นเป็น 15-20% ใน 3-5 ปี เนื่องจากการเน้นขยายบริษัทย่อยที่สร้าง ROE สูง เช่น สินเชื่อเพื่อผู้บริโภคที่ไม่มีหลักประกัน สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ และบริการการเงินดิจิทัล 

scb x e1632495489557

ขณะที่ บล.คันทรี่ กรุ๊ป วิเคราะห์ว่าการจัดตั้ง SCB จะเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจได้มากขึ้น ระยะกลางมีโอกาสรับรู้มูลค่าเพิ่ม จากการแยกธุรกิจย่อย รวมทั้งจะมีผลเชิงบวกต่อการขยายฐานลูกค้าระยะยาว

บล. เอเชีย เวลท์ ก็มีมุมมองเป็นบวกต่อผลการดำเนินงานในระยะยาวจาก

1. ลดข้อจำกัดในการดำเนินงานในธุรกิจหลักของกลุ่ม ทำให้บริษัทสามารถสร้างการเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต

2. การนำเทคโนโลยี จะช่วยให้บริษัทขับเคลื่อนธุรกิจเข้าสู่ตลาด Blue Ocean 3.) การได้ Strategic Partner อย่าง ADVANC มาร่วมทุนจะยิ่งสร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจ Digital Lending ที่ปัจจุบัน AIS มีผู้ใช้บริการมากถึง 43 ล้านเลขหมาย

ด้าน บล. ฟิลลิป เชื่อว่าแผนการปรับโครงสร้างจะทำให้มีความคล่องตัว รองรับการเติบโตได้ในอนาคต ซึ่งแผน 5 ปีของ SCB ประกอบไปด้วยการร่วมทุนกับบริษัทอื่นๆ จะทำให้ SCB เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นถึง 200 ล้านคนทั่วภูมิภาคอาเซียน 

อีกทั้งยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่ม market cap. ขึ้นเป็น 1 ล้านล้านบาท และให้บริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงแผนเพิ่มผลประกอบการที่มีคุณภาพขึ้น 1.5 เท่า ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ SCB เป็นผู้นำในธุรกิจ digital asset และเปลี่ยนตัวเองเป็นบริษัท Fin Tech ไม่ใช่แค่ธุรกิจธนาคารอีกต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน