Social

เปิดสาเหตุ ‘ผังเมืองยะลา’ หนึ่งเดียวในไทย ติดอันดับดีสุดในโลก

เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เว็บไซต์ระดับโลกได้จัดอันดับผังเมืองที่มีความสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อยมากที่สุดในโลก และ “ผังเมืองยะลา” จังหวัดใต้สุดของไทย ก็ติดอยู่ในที่ 23 ของการจัดอันดับครั้งนี้ หลังจากเคยได้รับรางวัลด้านเมืองจากยูเนสโกมาแล้ว 

เฟซบุ๊กเพจ City Connext โพสต์ข้อความเกี่ยวกับผังเมืองยะลา ที่เป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทย ที่มีผังเมืองดีติดอันดับ 23 ของโลก และได้รับรางวัลจากยูเนสโก  โดยระบุว่า

ผังเมืองยะลา

ผังเมืองยะลาดีขนาดไหน

หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่า “ยะลา” จังหวัดฉายาใต้สุดแดนสยามเมืองงามชายแดนนั้น มีผังเมืองติดอันดันท็อปของโลก จนปี 2546 ผ่านการตัดสินชนะเลิศจากกรรมการตัดสินชุดใหญ่ของยูเนสโก ได้รางวัล UNESCO Cities และมีเว็บไซต์ชื่อดัง จัดอันดับ “ยะลา” ให้เป็นผังเมืองที่ดีที่สุด อันดับที่ 23 ของโลกในปี 2560 เป็นปีเดียวกับที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษได้อันดับที่ 1 ไปครอง

ยะลาทำอย่างไรถึงได้รางวัลการันตีว่าเป็นผังเมืองที่ดี

ยะลา เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองใหญ่ในประเทศไทย ที่มีการวางผังเมืองตั้งแต่สร้างเมือง สมัยที่ชุมชนเมืองยะลา ยังเป็นชุมชนขนาดเล็ก เกาะตัวอยู่ใกล้สถานีรถไฟ รายล้อมด้วยสวนยาง และป่าไม้ การตัดถนนจึงดำเนินการไปในพื้นที่สวน และป่าเป็นส่วนใหญ่

จุดเริ่มต้นของการวางผังเมืองยะลานั้นริเริ่มโดยพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) อดีตข้าหลวงคนที่ 10 ของจังหวัดยะลา (2456-2458) ซึ่งเมื่อลาออกจากราชการแล้วได้รับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองยะลา ถึง 2 สมัย (2480-2488)

ถนนทุกเส้นมุ่งหน้าสู่ใจกลางเมือง

ยะลามีถนนกว่า 400 สาย ตัดเชื่อมต่อกันเหมือนใยแมงมุม มีวงเวียนซ้อนกัน 3 วง คล้ายกรุงปารีส ของฝรั่งเศส และแบ่งพื้นที่เป็นโซนนิ่งชัดเจน คล้ายกับกรุงปารีส รวมถึงมีการกล่าวว่า มีต้นแบบแรกเริ่มมาจากแคนเบอร์รา เมืองหลวงของออสเตรเลีย

https://www.facebook.com/cityconnext/posts/307909865490393?ref=embed_post

ขณะข้อมูลจาก ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ระบุว่า พระรัฐกิจวิจารณ์ได้ร่วมกับสหาย ข้าราชการ วางผังเมืองของยะลาโดยได้รับการเสนอแนะจากแผนกผังเมือง กรมโยธาเทศบาล วางผังเมือง ยะลา โดยเรียกว่า ผังเค้าโครงเมืองยะลา ปี 2485

ในการริเริ่มดำเนินงาน พระรัฐกิจวิจารณ์ และสหายข้าราชการ ได้ร่วมกันหาศูนย์กลางของเมือง แล้วจึงปักหลักก้อนใหญ่ และมีก้อนหินไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งภายหลังได้เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง และได้วางแผนผังเมืองเป็น วงเวียนรอบศูนย์กลางเมือง ทั้งสิ้น 3 วง

โดยเตรียมที่ดินในบริเวณนี้ไว้เป็นสถานที่ราชการ คือ บริเวณวงในสุด เป็นสถานที่ราชการต่าง ๆ เช่น ศาลากลาง จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานที่ดิน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ผังเมืองยะลา

วงเวียนที่สอง คือ บ้านพักข้าราชการ และวงเวียนที่สาม ซึ่งเป็นวงเวียนสุดท้ายเป็นที่ตั้งของ โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัยของประชาชน

มีการสร้างถนนเข้ามายังศูนย์กลางเมืองที่เรียกว่า กิโลศูนย์ และตัดถนนสายต่าง ๆ ทั่วทั้งเมืองยะลา ถนนพิพิธภักดี เริ่มจากสถานีรถไฟยะลาไปยังกิโลศูนย์ ถนนสุขยางค์ จากหอนาฬิกาไปถึงกิโลศูนย์ ถนนสิโรรสจากสถานีรถไฟยะลาถึงหน้าโรงพยาบาล

ปัจจุบัน ถนนพิพิธภักดี และถนนสิโรรส เป็นถนนสายเอกของเทศบาลเมือง มีความสวยงาม ถนนพิพิธภักดี ซึ่งเป็นถนนคู่ มีทางเดินเท้าและช่องทางจักยาน และปลูกต้นประดู่เรียงรายไว้ตามเกาะกลาง และมีการตัดถนนสายย่อย ๆ เป็นรูปสี่เหลี่ยมหมากรุก ได้แก่ ถนนยะลา ถนนไชยจรัส ถนนรัฐกิจ ถนนประจิน ถนนพังงา และถนนรวมมิตร เป็นต้น

การตัดถนนเหล่านี้ได้ยึดหลักเกณฑ์ที่ว่าในการวางผังเมือง และตัดถนน ได้แบ่งตัดซอยให้หลังบ้านชนกัน แต่ห่าง 4 เมตร สำหรับเป็นที่วางขยะ ถังขยะ และสะดวกต่อการดับเพลิง

ผังเมืองยะลา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo