Politics

สื่อต่างชาติประโคมข่าว ค้นพบ ‘วิธีขัดขวาง’ การเพิ่มจำนวนไวรัสโควิด โดยใช้ยารักษามะเร็ง

สื่อต่างชาติประโคมข่าว นักวิจัยสหรัฐค้นพบ ‘วิธีขัดขวาง’ การเพิ่มจำนวนไวรัสโควิด โดยใช้ยารักษามะเร็ง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า นักวิจัยสหรัฐ ค้นพบสารเคมีที่ไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ ซึ่งจำเป็นต่อการเพิ่มจำนวนของไวรัส ซึ่สารเคมีดังกล่าวมีอยุ่นยารักษามะเร็ง และการค้นไนครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากสื่อยักษ์ใหญ่ อย่างมาก ดังนี้

ไวรัสโควิด

โปรตีน Nucleocapsid ของไวรัสที่เราตรวจหาได้จาก ATK เป็นโปรตีนที่มีหน้าที่หลายอย่าง ซึ่งจำเป็นต่อการเพิ่มจำนวนของไวรัส โปรตีนชนิดนี้เมื่อไวรัสสร้างขึ้นมาแล้วจะต้องถูกเปลี่ยนแปลงเพิ่มโดยโปรตีนของเซลล์เจ้าบ้านซึ่งไวรัสสร้างขึ้นเองไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีคำเรียกในทางวิชาการว่า Phosphorylation คือ การเอาหมู่ฟอสเฟตไปเติมบนกรดอะมิโนบางตัวบนโปรตีนนั้น เช่น กรดอะมิโน Serine หรือ Threonine ซึ่งถ้าไม่มีกลุ่มฟอสเฟตไปเพิ่ม โปรตีน Nucleocapsid จะไม่สามารถนำหน้าที่ในการเพิ่มจำนวนของไวรัสในเซลล์ได้

ไวรัสโควิด

จุดอ่อนของไวรัส 

นักวิจัยมองเห็นว่า กลไกนี้เป็นจุดอ่อนของไวรัสที่เราสามารถไปขัดขวางการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้ ถ้า…

  1. ทราบว่าไวรัสอาศัยเอนไซม์อะไรของโฮสต์ในการไปเติมหมู่ฟอสเฟตให้กับโปรตีน N
  2. หมู่ฟอสเฟตที่ไปเติมนั้นตรงกับตำแหน่งกรดอะมิโนตัวไหนบ้าง ไวรัสสามารถกลายพันธุ์หนีได้หรือไม่
  3. ไวรัสโคโรน่าตัวอื่นๆใช้กลไกเดียวกันหรือไม่

ซึ่งถ้าทราบข้อมูลที่จะมาตอบคำถามนี้ได้ เราจะสามารถพัฒนายาต้านไวรัสโคโรนาตัวใหม่ที่ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องการกลายพันธุ์ของไวรัสหนีการทำงานของยา (เพราะยาไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ของโฮสต์) และ สามารถใช้รองรับการระบาดของไวรัสโคโรนาใหม่ๆได้ ในกรณีที่มีการระบาดข้ามสายพันธุ์มาที่คนอีก

ไวรัสโควิด

ค้นพบการขัดขวางการเพิ่มจำนวนไวรัสโควิด โดยใช้ยารักษามะเร็ง

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science Signaling โดยทีมวิจัยจากกลุ่มใหญ่มากในสหรัฐอเมริกา ค้นพบเอนไซม์ของโฮสต์ที่ทำหน้าที่เติมหมู่ฟอสเฟตให้กับโปรตีน Nucleocapsid ของไวรัส SARS-CoV-2 ได้สำเร็จ เป็นเอนไซม์ 3 ชนิด ที่ทำงานร่วมกัน (SRPK, GSK-3, and CK1)

ทีมวิจัยพบว่าสารเคมีที่ไปขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ดังกล่าว โดยเฉพาะ SRPK ทำให้การเพิ่มจำนวนของไวรัส ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ไวรัสโควิด

ทีมวิจัยใช้ยาที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันชื่อว่า alectinib ซึ่งเป็นยารักษามะเร็งที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ SRPK มาทดสอบฤทธิ์การต้านไวรัสในเซลล์ปอด และ พบว่ายาดังกล่าวสามารถยับยั้งไวรัสได้ และ ไม่จำกัดไปที่ไวรัส SARS-CoV-2 แต่เพียงอย่างเดียว แต่ใช้ได้กับไวรัสโคโรน่าชนิดอื่นด้วย

งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับความสนใจจากสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Washington Post เขียนข่าวออกมาในบทความใหญ่มาก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo