Politics

เผยผลวิจัย ‘วัคซีนเชื้อตาย’ 2 เข็มแรก เพิ่ม ‘T cell’ จดจำเชื้อ สร้างภูมิคุ้มกัน ได้ดีกว่า mRNA

เผยผลวิจัย ‘วัคซีนเชื้อตาย’ 2 เข็มแรก เพิ่ม ‘T cell’ จดจำเชื้อ สร้างภูมิคุ้มกัน ได้ดีกว่า mRNA แต่ 3 เข็ม ภูมิสูงไม่พอต่อการป้องกันการติดเชื้อ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ยกเคสการฉีดวัตซีนที่ฮ่องกง นักวิจัยพบว่า การฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็มแรก จะช่วยกระตุ้น T cell เซลล์เม็ดเลือดขาว ได้ดีกว่า mRNA ข้อความว่า

วัคซีนเชื้อตาย

ถ้ายังจำได้ว่าช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ฮ่องกงโดนการระบาดของ BA.2 หนักมาก คาดการณ์ว่าตัวเลขของผู้ติดเชื้อในประเทศอาจมีมากกว่า 50% ของประชากร ในช่วงเวลาเดียวกันทีมวิจัยที่ University of Hongkong ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มกระตุ้นในประชากรของประเทศพอดี

เนื่องจากฮ่องกงมีการใช้วัคซีนเพียงแค่ 2 ชนิด คือ CoronaVac (Sinovac) กับ mRNA ของ Pfizer กลุ่มที่ได้รับวัคซีน 2 เข็มแรกก็จะมีแค่ C-C (Sinivac x2) กับ B-B (Pfizer x2) แต่ละกลุ่มจีงได้ถูกแบ่งต่อเพื่อได้รับวัคซีนเข็ม 3 ซึ่งอาจจะเป็น CoronaVac หรือ Pfizer ซึ่งทำให้การศึกษามีอยู่ 4 กลุ่มด้วยกันคือ CC-C (Sinovac x3), CC-B (Sinovac x2 เข็ม 3 Pfizer) , BB-C (Pfizer x2 เข็ม 3 กระตุ้นด้วย Sinovac) และ BB-B (Pfizer x3)ฃ

วัคซีนเชื้อตาย

วัคซีนเชื้อตาย พบ T cell สูงกว่า แต่ mRNA กระตุ้นแอนติบอดีได้ดีกว่า

การทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจภูมิยับยั้งกับไวรัสตัวจริง พบว่ากลุ่ม BB-B และ CC-B ให้ค่าแอนติบอดีในการยับยั้งไวรัสได้สูงสุดในทุกกลุ่ม แต่ไวรัสในกลุ่มโอมิครอน BA.1, BA.2 ให้ค่าการยับยั้งน้อยลง ต่ำกว่าไวรัสายพันธุ์เดิมมากกว่า 10 เท่า กลุ่มที่กระตุ้นด้วย CoronaVac ไม่ว่าจะ 2 เข็มแรกไปฉีดอะไรมา ดูเหมือนไม่สามารถกระตุ้นแอนติบอดีต่อ BA.1 และ BA.2 ได้เลย ผลจากแอนติบอดีที่ยับยั้งไวรัสในห้องแล็ปชัดว่า กระตุ้นด้วย mRNA vaccine จะได้ผลที่ดีกว่า

แต่ที่น่าสนใจคือ ทีมวิจัยนำตัวอย่างไปดู T cell ด้วย ซึ่งพบว่า T cell ในกลุ่มที่เคยฉีด CoronaVac มาก่อน แล้วกระตุ้นด้วย CoronaVac หรือ Pfizer มีการเปลี่ยนแปลงที่ตรวจพบได้ คือ สูงขึ้นภายใน 7 วัน แต่กลุ่มที่ฉีด Pfizer มา แล้วกระตุ้น กลับไม่พบการเปลี่ยนแปลงของ T cell ซึ่งน่าสนใจครับว่า โปรตีนต่างๆที่ไวรัสเชื้อตายทำให้ร่างกายเห็นอาจเป็นสิ่งที่ T cell เห็นชัดกว่า

วัคซีนเชื้อตาย

กระตุ้นด้วยวัคซีนเชื้อตาย ภูมิสูงไม่พอต่อการป้องกันการติดเชื้อ

จุดที่น่าสนใจที่สุดของงานนี้อยู่ตรงที่ อาสาสมัครแต่ละกลุ่มที่ได้วัคซีนไปต้องไปอยู่ในช่วงของการระบาดหนักในประเทศในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทีมวิจัยพบว่ามี 59 คน ไปติดโควิดมา และ แบ่งไปตามกลุ่มต่างๆ ซึ่งตัวเลขเมื่อวิเคราะห์ออกมาแล้วพบว่า กลุ่ม CC ไม่ว่าจะกระตุ้นด้วย CoronaVac หรือ Pfizer ติดโควิดได้เท่าๆกัน แยกไม่ออก ถึงแม้ค่าแอนติบอดีที่กลุ่ม CC-B จะสูงกว่า CC-C แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่พอต่อการป้องกันการติดเชื้ออยู่ดี

ส่วนกลุ่ม BB จะเห็นว่ากลุ่มที่ไปกระตุ้นด้วย CoronaVac ติดเชื้อได้สูงกว่า คนที่กระตุ้นด้วย Pfizer แต่ถ้าดู % ในแกน Y จริง กลุ่ม BB-B ก็ดูเหมือนไปต่างจาก CC-C และ CC-B เช่นเดียวกัน เพียงแต่กลุ่ม BB-C ที่อาจขึ้นสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ

งานวิจัยนี้ดูที่จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ แต่ไม่ได้แยกอาการหนักเบาครับ ยังไม่เห็นภาพว่า มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มหรือไม่อย่างไร

สำหรับ T cell  หรือ เซลล์เม็ดเลือดขาว T-cell  เป็นหนึ่งในเซลล์สำคัญของร่างกายที่มีหน้าที่ป้องกันโรคโควิด-19 และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส

วัคซีนเชื้อตาย

อ่านข่าวเพิ่มติม

Avatar photo