Politics

สธ. หวั่น ‘Covid Rebound’ พบในคนไทยแล้ว 2 ราย เตือน!! อย่าซื้อ ‘ยาต้านไวรัส’ มากินเอง

สธ. หวั่น ‘Covid Rebound’ เตือน!! อย่าซื้อ ‘ยาต้านไวรัส’ มากินเอง เสี่ยงเจอยาปลอม และผลข้างเคียง เผยพบอาการในคนไทยแล้ว 2 ราย

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตามที่มีกระแสการซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จากประเทศเพื่อนบ้านในราคาถูก ทางกรมการแพทย์ยังคงยืนยันการใช้ยาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น

Covid Rebound

อย่า!! ซื้อยาต้านไวรัสมากินเอง

โดยการจ่ายยาต้านไวรัส ทั้งโมลนูพิราเวียร์ และแพ็กซ์โลวิด ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ใช่ไปซื้อหายามารับประทานเอง เนื่องยาทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นยาควบคุมและใช้ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งมีการใช้มาเพียงแค่ 1 ปี ยังไม่รู้ถึงผลข้างเคียงจากยา อีกทั้งจะมั่นใจได้อย่างไรว่ายาที่ได้มานั้นเป็นยาจริง ไม่ใช่ของปลอม

โดยการจัดซื้อยาของไทย นอกจากกรมการแพทย์แล้วยังมีองค์การเภสัชกรรม จัดซื้อยา และปัจจุบันราคายาก็ถูกกว่าในอดีต ยืนยันไม่ได้มีการขาดแคลนยา แต่เป็นการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

Covid Rebound

เจออาการรีบาวด์ในผู้ป่วยไทย 2 คน

เมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาพบ ปัญหาภาวะรีบาวด์เกิดขึ้นแล้วกับผู้ป่วยไทย 2 คน จากเดิมที่มีการรายงานพบในคนที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศอย่าง โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ที่ป่วยโควิดรับยาแพ็กซ์โลวิด จนยาหมดแล้วกลับมาป่วยซ้ำ เป็นอาการของภาวะรีบาวด์ บอกระยะเวลาที่แน่ชัดไม่ได้ บางรายอาจเจอหลังจากหายดี 5-7 วัน หรือ 10-14 วัน

ซึ่งผู้ป่วยในไทยเองที่พบเป็นผู้ป่วย 60 ปีขึ้นไป คนแรกอายุ 60 ปี มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดัน ได้รับยาโมลนูพิราเวียร์จนหาย แต่เมื่อวันที่ 13-14 กลับมาตรวจ ATK พบผลบวก ผู้ป่วยมีอาการไอเล็กน้อย จึงให้คำแนะนำ ให้ติดตามอาการเท่านั้น จากนั้นไม่นานผลตรวจ ก็เป็นลบ

ส่วนอีกคนเป็นผู้ป่วยอายุ 70 ปี ไปต่างประเทศ รับยาจากต่างประเทศ หลัง 14 วัน พบตรวจ ATK เป็นบวก จึงไม่สามารถสรุปได้เอย่างชัดเจนว่ารีบาวด์เกิดได้จากอะไร

Covid Rebound

ทั้งนี้ภาวะการรีบาวด์ อาจเกิดจากซากเชื้อ หรือผลบวกลวงของ ATK หรือมาจากอะไร แต่หากอยู่ในความดูแลของแพทย์ การจ่ายยาก็อยู่ในความดูแของแพทย์ จึงมีกรณีบางคนอาจจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อด้วยวิธีอาร์ทีพีซีอาร์อีกครั้ง เพื่อดูไซเคิลไทม์ว่าต่ำกว่า 28-30 หรือไม่ แต่หากมีอาการปกติก็ให้สังเกตอาการต่อ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ต้องการให้ผู้ป่วยใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

ทั้งนี้เกณฑ์การยาจ่ายต้านไวรัสรักษาโควิดมีการปรับตามสถานการณ์ ตอนนี้มาถึงฉบับที่ 24 อาจมีการปรับเปลี่ยน เพราะขณะนี้ต้องยอมรับยังไม่มีใครรู้จักโควิดดีพอ และเชื้ออาจมีการกลายพันธุ์ได้อีกหรือไม่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo