Politics

แย่แล้ว! ผลวิจัยชี้ มีโอกาสที่ผู้ป่วยโควิด จะแพร่เชื้อได้นานกว่า ‘ช่วงกักตัว’

เผยผลวิจัยจากอเมริกา พบ ‘พันธุกรรมไวรัส’ ปะปนในอุจจาระนานถึง 7 เดือน ทำให้มีโอกาสที่ผู้ป่วยโควิด จะแพร่เชื้อได้นานกว่า ‘ช่วงกักตัว’

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เรื่อง งานวิจัยพบพันธุกรรมไวรัส ปะปนในตัวอย่างอุจจาระผู้ติดเชื้อ นานถึง 7 เดือน ทำให้มีโอกาสที่ไวรัสจะแพร่ออกจากตัวผู้ป่วยได้นานกว่าช่วงเวลากักตัว ดังนี้

ช่วงกักตัว

ข้อมูลแทบทั้งหมดตอนนี้เกี่ยวกับการแพร่กระจายไวรัส SARS-CoV-2 จากผู้ป่วยโควิด จะมาจากการตรวจตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ เช่น จากตัวอย่างโพรงจมูก หรือ จากน้ำลาย

แต่ความเป็นจริงแล้ว มีข้อมูลมาตั้งแต่การเริ่มต้นของการระบาดแล้วว่า ไวรัสอาจจะแพร่ออกสู่สิ่งแวดล้อม ผ่านช่องทางของระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะทางอุจจาระของผู้ป่วย แต่เนื่องจากโอกาสการแพร่กระจายจากช่องทางนี้ น้อยกว่าจากช่องทางน้ำมูก น้ำลาย ทำให้ข้อมูลการศึกษาว่า ตกลงไวรัสจะอยู่ในตัวผู้ป่วยนานมากน้อยขนาดไหนจึงมีไม่มาก และ ไม่ค่อยชัดเจน

ช่วงกักตัว
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา

พบ RNA ของไวรัสในตัวอย่างอุจจาระนาน 7 เดือน แต่ตรวจ RT-PCR จากโพรงจมูก หรือ ลำคอ เป็นลบ

งานวิจัยชิ้นล่าสุดจากทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย Stanford ในสหรัฐอเมริกา เก็บข้อมูลโดยหาปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัส จากตัวอย่างอุจจาระของผู้ป่วยโควิด-19 ในระยะเวลาต่างๆ พบว่า ประมาณ 50% ของผู้ป่วยสามารถตรวจพบ RNA ของไวรัสได้ภายใน 1 สัปดาห์ หลังตรวจพบว่าติดเชื้อ

ที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อทำการตรวจ RT-PCR จากตัวอย่างที่เก็บจากโพรงจมูก หรือ ลำคอ จะเป็นลบหมดที่ 4 เดือน แต่ยังพบว่า 12.7% ของผู้ป่วยยังตรวจพบ RNA ของไวรัสในตัวอย่างอุจจาระ บางคนสามารถตรวจพบได้ยาวนานถึง 7 เดือน

ช่วงกักตัว

ทีมวิจัยยังพบว่า ผู้ป่วยที่ตรวจพบ RNA ของไวรัสในตัวอย่างอุจจาระ มักจะเป็นกลุ่มที่มีอาการเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

คำถามต่อมาคือ ตกลง RNA ที่ตรวจได้ เป็นไวรัสที่ยังแพร่ต่อได้ หรือ แค่ซากเชื้อหรือสารพันธุกรรมไวรัสที่หลงเหลืออยู่ แต่น่าเสียดายที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เนื่องจากผู้ป่วยต้องทำการเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง ก่อนส่งให้ทางทีมวิจัยไปตรวจสอบต่อ ซึ่งจำเป็นต้องทำการฆ่าเชื้อก่อนส่งตัวอย่างออก

ช่วงกักตัว

มีโอกาสที่ไวรัส จะแพร่ออกจากตัวผู้ป่วย ได้นานกว่าช่วงเวลากักตัว 

แต่จากงานวิจัยที่เคยตีพิมพ์ไปก่อนหน้านี้ ที่สามารถแยกเชื้อไวรัสได้จากตัวอย่างอุจจาระ และ ข้อมูลที่ออกมาว่า ไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์ลำไส้ได้ดี ทำให้ทีมวิจัยคาดว่า มีโอกาสที่ไวรัสจะแพร่ออกจากตัวผู้ป่วยได้นานกว่าช่วงเวลากักตัว

ข้อมูลนี้มีประโยชน์ครับ เพราะจะทำให้เราระมัดระวังช่องทางการป้องกัน การแพร่กระจายของเชื้อเพิ่มขึ้น การทำความสะอาดห้องน้ำในช่วงกักตัว หรือ หลังกักตัว หรือ การปิดฝาก่อนกดชักโครก น่าจะช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อได้มากขึ้นครับ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo