Politics

‘ชัยธวัช’ ชี้ครม.เศรษฐา 1 เหมือน ‘เขตทหารห้ามเข้า’

“ชัยธวัช” ชี้ครม.เศรษฐา 1 เหมือน “เขตทหารห้ามเข้า” ใช้พลเรือนคุมกลาโหม แต่ยังคงอยู่ใต้อำนาจ

วันที่ 12 กันยายน 66 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 6 เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา 162 ของรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ 2 เป็นวันสุดท้าย

จัดหนัก

นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวอภิปรายเปิดประเด็นนโยบายเกี่ยวกับการเมือง โดยกล่าวว่า ปฎิเสธไม่ได้ว่าสภาพการณ์ของบ้านเมืองเราที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกว่าที่ผ่านมามันดีขึ้น หลายคนอาจจะมีความหวังว่ามีรัฐบาลใหม่แล้ว อะไรๆ จะดีขึ้น แต่ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่า สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลพวงของปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นตลอดเกือบ 2 ทศวรรษ

“เมื่อผมอ่านและฟังคำแถลงนโยบายทางด้านการเมืองของรัฐบาล มีปัญหาเหมือนกับนโยบายทางด้านอื่นๆ ที่รัฐบาลได้แถลงมาแล้ว คือมีความกว้าง-ไม่ชัดเจน หลายอย่างไม่มีรูปธรรมหรือเป้าหมายชี้วัดว่าจะทำอะไรกันแน่” นายชัยธวัช กล่าว

นายชัยธวัช กล่าวว่า เรื่องการกระจายอำนาจยิ่งแล้วใหญ่ นายกฯ บอกว่าจะใช้การบริหารในรูปแบบการกระจายอำนาจ (ผู้ว่าฯ CEO) เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานแต่ละจังหวัด รองรับการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่ทั้งหมดที่พูดขยายความ ไม่เห็นถึงความชัดเจนว่าจะมีมาตรการในการเพิ่มอำนาจ เพิ่มงบประมาณ เพิ่มบุคลากรและทรัพยากรต่างๆให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดๆ เลย ทั้งทั้งที่นับตั้งแต่รัฐประหาร 2 ครั้ง สถานการณ์เรื่องการกระจายอำนาจถอยหลังเข้าคลอง เกิดการดึงอำนาจจากท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลางอย่างขนานใหญ่

นอกจากนี้ยังพูดถึงเรื่องการปราบปรามผู้มีอิทธิผลและยาเสพติด เรื่องนี้เข้ากับสถานการณ์อย่างยิ่ง สุดท้ายมีการพูดถึงการผลักดันสิทธิของความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชน ที่มีความคิดแตกต่างทางด้านศาสนาและอุดมการณ์ เรื่องนี้อ่านแล้วก็มีความสับสนมาก ดูเหมือนเอาหลายเรื่องมายำกันโดยไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะทำอะไรกันแน่ เป้าหมายคืออะไร

นายชัยธวัช กล่าวว่า หัวข้อสุดท้ายเป็นเรื่องนโยบายพัฒนากองทัพ นายกฯ แถลงว่าเพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี คือมีความมั่นคงทั้งภายใน ภายนอก ที่สอดคล้องกับสภาวะของโลก รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างของหน่วยงานความมั่นคงให้มีความทันสมัย

“นโยบายเกี่ยวกับกองทัพสำคัญมาก โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นแบบนั้น เพราะเราปฏิเสธไม่ได้ว่า เรื่องรัฐประหารเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย กองทัพกลายเป็นกระดูกสันหลังของระบบอำนาจนิยมไทยอย่างปฎิเสธไม่ได้ ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่แก้ความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนกับทหาร การปฏิรูปการเมืองที่ปราศจากการปฏิรูปกองทัพ จะทำให้ไม่มีหลักประกันในการสร้างความเข้มแข็งของระบบประชาธิปไตย”

ภาพถ่ายหน้าจอ 2566 09 13 เวลา 06.00.26 1

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าในรัฐบาลใหม่ชุดนี้ เรามีรัฐมนตรีกลาโหมคนแรกที่เป็นพลเรือน และไม่ใช่นายกรัฐมนตรี หมายความว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคที่พลเรือนอยู่ในกองทัพใช่หรือไม่ หรือเอาเข้าจริงแล้วการส่งพลเรือนมานั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมครั้งนี้ จะกลับกลายเป็นการส่งสัญญาณจากรัฐบาลใหม่ว่า รัฐบาลพลเรือนชุดนี้จะไม่ยุ่งจะไม่แตะกองทัพ

นายชัยธวัช กล่าวว่า พรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลมีนโยบายที่เรียกว่าปฏิรูปกองทัพเป็นทหารอาชีพ ตนตามไปดูเอกสารที่ (เพื่อไทย) ส่งให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้บรรยายว่าจะปฏิรูปกองทัพเพื่อป้องกันการก้าวก่าย แทรกแซงทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้มีความเป็นทหารอาชีพ เสนอกฎหมายป้องกันและต่อต้านการรัฐประหารและแก้ไขกฎหมายยกเลิกการเกณฑ์ทหารโดยให้เข้ารับราชการทหารโดยสมัครใจ แต่ปรากฏว่าตอนแถลงนโยบายของรัฐบาลเมื่อวานนี้ ความมุ่งมั่นชัดเจนของแกนนำรัฐบาลหายไปไหน ต้องถามให้ชัดเพราะการเลิก หรือ การลดการเกณฑ์หาร มันต่างกันมาก ถ้าแค่ลดเท่านั้น ตนสงสัยว่าจะมีอะไรใหม่ เพราะต่อให้ไม่มีรัฐบาลชุดใหม่หลายปีมาแล้ว กองทัพก็ดำเนินการเรื่องนี้อยู่แล้ว

ภาพถ่ายหน้าจอ 2566 09 13 เวลา 06.04.53

ผมอยากสรุปสั้นๆ ว่า นี่ไม่ใช่นโยบายพัฒนากองทัพร่วมกันหรือไม่ แม้แต่จะใช้เรื่องการปฏิรูปกองทัพ แต่นี่คือนโยบายเขตทหารห้ามเข้า” หมายความว่าคำแถลงนโยบายเกี่ยวกับกองทัพ ได้ส่งสัญญาณว่าการปฏิรูปกองทัพโดยพลเรือนจะไม่เกิดขึ้น นอกจากสิ่งที่กองทัพออกแบบมาเองและอนุญาตให้ทำนายชัยธวัช กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo