General

ถอดบทเรียน ม.2 ถูกแทงดับ ‘กลั่นแกล้งในโรงเรียน’ ไม่ใช่แค่ปัญหาของเด็ก

“กลั่นแกล้งในโรงเรียน” ปัญหาใหญ่ ไม่ใช่แค่เรื่องของเด็ก ส่งผลร้ายทั้งคนโดนแกล้งและคนแกล้ง 

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อีกหนึ่งข่าวใหญ่ที่สะเทือนใจคนทั้งประเทศ คงหนีไม่พ้นเหตุการณ์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งย่านพัฒนาการ ถูกเพื่อนคนละห้องใช้มีดแทงจนเสียชีวิต ต่อหน้าต่อตาครูและนักเรียนอีกหลายชีวิต

กลั่นแกล้ง

จากเหตุการณ์ดังกล่าวหลายคนออกมาให้ข้อมูล ว่าเด็กชายผู้เสียชีวิตได้ไปขู่เอาเงิน วันละ 20 จากมือแทง และกลั่นแกล้งนักเรียนคนที่แทงต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ จนเกิดความเครียด เก็บกด ทนไม่ไหวจึงได้ก่อเหตุดังกล่าว ในขณะเดียวกันพี่ชายของผู้ตาย ได้ออกมายืนยันว่า ไม่มีทางที่น้องชาย (ผู้เสียชีวิต) จะกลั่นแกล้งหรือไปไถเงินเพื่อน เพราะว่าได้เงินไปโรงเรียนวันะ 150 บาท

ดังนั้น การบูลลี่ (Bullying) การกลั่นแกล้ง ในโรงเรียนไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กอีกต่อไป มันส่งผลกระทบในหลายด้านไม่ว่าจะทั้งคนโดนแกล้ง หรือคนแกล้ง ตามมาด้วยครอบครัว ภาวะทางอารมรณ์ ความหวาดระแวง ปัญหาการนอนหลับยาก กลัวการมาโรงเรียน ซึมเศร้า ไม่มีความมั่นใจ รู้สึกไม่ปลอดภัย และสุดท้ายอาจก่อเหตุไม่คาดคิด ทำร้ายผู้อื่น หรือทำร้ายตัวเองได้

วิธีป้องกันเด็กไม่ให้ถูกรังแก มี 5 วิธี ดังนี้

1. ชวนลูกพูดคุยถึงการข่มเหงรังแก โดยยกประสบการณ์การถูกรังแกของคนในครอบครัวให้เด็กฟัง เพื่อให้เด็กเข้าใจว่าเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ หากเคยเกิดขึ้นกับเด็กก็จะเป็นโอกาสให้เด็กเล่าให้ผู้ปกครองฟัง ต้องชื่นชมในความกล้าหาญของเด็กที่พูดถึงเรื่องนี้ พร้อมกับให้กำลังใจเด็ก ปรีกษากับคุณครูที่รงเรียนเพื่อหาวิธีการที่โรงเรียนจะรับรู้เรื่องนี้และให้การช่วยเหลือ เด็กต่อไป

2. กำจัดปัญหาของการถูกรังแก เช่น หากเด็กถูกข่มขู่เรียกเงินค่าอาหารกลางวันหรือของใช้ส่วนตัวก็ ให้เด็กนำข้าวกล่องไปทานหรืองดให้เด็กพกของมีค่าไปโรงเรียน เป็นต้น

3.ให้ทำกิจกรรมโดยมีเพื่อนอยู่ด้วย อย่างน้อย 2 คนขึ้นไป ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกรังแกได้น้อยกว่าการอยู่ คนเตียว

4. ฝึกการแสดงออกทางอารมณ์และดำเนินชีวิตเป็นปกติ ไม่แสดงอารมณ์หรือปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการกระทำนั้นๆ เพียงแต่บอกผู้รังแกว่าให้หยุดพฤติกรรมนั้น แล้วเดินห่างออกมา หากเด็กสามารถควบคุมอารมณ์ ไม่แสดงอาการ จะลดแรงจูงใจในการถูกรังแกได้

5.อย่าต่อสู้กับเรื่องนี้ด้วยตัวเองตามลำพัง พ่อแม่ควรพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็กที่เป็นผู้รังแก โดยควรมีครูหรือนักจิตวิทยาโรงเรียนเข้าร่วมพูดคุยด้วย

shutterstock 1503499058

วิธีการสอนเด็กเพื่อลดการรังแกกันมี 5 วิธี ดังนี้

1.สอนให้เด็กรู้ว่าการรังแกผู้อื่นเป็นพฤติกรรมรุนแรงที่ไม่ได้รับการยอมรับทั้งจากผู้ปกครอง และสังคมภายนอก ตั้งกฎที่ขัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กจะถูกลงโทษหากรังแกเพื่อนและเข้มงวดกับกฎนั้นและอาจลงโทษเด็กโดยการจำกัดสิทธิ์ในกิจกรรมที่เต็กชอบทำ เช่น งดใช้คอมผิวเตอร์ หรือ งดขนมที่เด็กชอบ

2.สอนให้เด็กเคารพสิทธิของผู้อื่นและปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม ตลอดจนสนับสนุนให้เด็กได้มีกิจกรรมร่วมกับเด็กที่มีความแตกต่างกับตัวเอง

3.หาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุที่ทำให้เต็กรังแกเพื่อนทั้งในด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียน เช่นมีเด็กคนอื่นที่ชอบรังแกเพื่อนอีกหรือไม่ เพื่อนๆ ของลูกมีพฤติกรรมนี้ด้วยหรือไม่ ลูกต้องเผชิญกับความกดดันใดหรือไม่ โดยปรึกษาคุณครู นักจิตวิทยาโรงเรียน หรือกลุ่มผู้ปกครองในการหาทางแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน

4.ชมเชยหรือให้รางวัล เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดีสามารถแก้ไขความขัดแย้งโดยใช้วิธีทางบวกและสร้างสรรค์

5.เป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็ก ไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนที่จะพูดหรือกระทำการใดๆ กับเด็กในช่วงที่มีบัญหา หรือความขัดแย้งเกิดขึ้นในครอบครัว ถ้าผู้ปกครองแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อหน้าเด็ก เด็กจะมีพฤติกรรมเลียนแบบ ควรแสดงให้เด็กเห็นว่าการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร โดยผู้ปกครอง สามารถบอกความรู้สึกของตัวเองในขณะนั้นและแสดงให้เด็กเห็นว่าควรจะจัดการต่ออารมณ์นี้อย่างไร เข็นต้น

shutterstock 676951951

ลดปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียนได้อย่างไร?

การจัดการกับปัญหาหารบูลลี่ในโรงเรียน หลายครั้งที่เกิกเหตุผู้ปกครองจะยกปัญหานี้ให้กับ “โรงเรียน-ครูประจำชั้น” เป็นอันดับแรก ในการหาทางแก้ปัญหา แต่จะให้โรงเรียนรับผิดชอบฝ่ายเดียวคงไม่ได้ “ผู้ปกครอง” ก็มีบทบาทในการช่วยป้องกันไม่ให้ลูกถูกบูลลี่ หรือไม่ให้ลูกไปบูลลี่คนอื่นด้วยเช่นกัน การสอนให้ลูกรู้จักความเมตตาและเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ครอบครัวคือเกราะป้องกันด่านแรก การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกและรับฟังลูกอย่างเปิดใจ เริ่มต้นจากที่บ้าน อาจช่วยลดปัญหานี้ได้

ดังนั้นปัญหาการรังแกกันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเนื่องจากส่งผลกระทบ โดยตรงกับเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติซึ่งหากจะให้ประสบความสำเร็จได้นั้นก็ต้องได้รับ ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ภาครัฐและคนในสังคมที่จะร่วมกัน บูรณาการในการศึกษาและวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาของการรังแกกันอย่างละเอียด เพื่อให้ได้เข้าใจถึง รากเหง้าของปัญหานี้อย่างชัดเจน

ขอบคุณข้อมูล รัฐสภา, นายสุริยา ฆ้องเสนาะ วิทยากรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานบริการวิชาการ 3 สำนักวิซาการ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo