General

ศูนย์จีโนมฯ เตือน! ไปแอฟริกาต้องระวัง ‘ไวรัสลาสซา’ หลังพบติดเชื้อ 14 ราย เสียชีวิต 1 ราย

ศูนย์จีโนมฯ เตือน! ไปแอฟริกาต้องระวัง ‘ไวรัสลาสซา’ หลังพบติดเชื้อ 14 ราย เสียชีวิต 1 ราย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า เตรียมรับมือโรคไข้เลือดออกอันตรายจากไวรัสลาสซา (Lassa-acute  hemorrhagic fever)  ล่าสุดเกิดการระบาดในประเทศกานา แอฟริกาตะวันตก มีผู้ติดเชื้อ 14 ราย เสียชีวิตแล้ว 1 ราย

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2023 หน่วยงานบริการสุขภาพประเทศกานา (GHS) ได้แถลงยืนยันการระบาดของไวรัสไข้ลาสซาเกิดขึ้นในประเทศจำนวน 14 ราย มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้แล้ว 1 ราย

ไวรัสลาสซา

โรคประจำถิ่นของทวีปแอฟริกา

ไข้ลาสซา (ไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัส) เป็นโรคประจำถิ่นของทวีปแอฟริกาในประเทศ เบนิน กานา กินี ไลบีเรีย มาลี เซียร์ราลีโอน และไนจีเรีย

ไข้ลาสซาเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลาสซา ซึ่งเป็นไวรัสอาร์เอ็นเอ สายเดี่ยวที่อยู่ในตระกูล Arenaviridae มีระยะฟักตัวระหว่าง 2-21 วัน

ไวรัสไข้ลาสซาส่วนใหญ่พบในแอฟริกาตะวันตก และคาดว่าไข้ลาสซาจะมีการติดต่อสู่ผู้คนประมาณ 100,000 ถึง 300,000 คนต่อปี โดยมีอัตราการเสียชีวิต 1% ในบางพื้นที่อาจสูงถึง 50% ในกรณีที่มีการติดเชื้อรุนแรง

ไข้ลาสซาแพร่กระจายอยู่ในสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “หนูมาสโตมี” ไม่มีหลักฐานว่าเคยพบหนูชนิดนี้ และพบการระบาดของไข้ลาสซาในประเทศไทย

ไวรัสลาสซา

เดินทางไปแอฟริกา ต้องระวังการติดเชื้อ

อย่างไรก็ตาม หากคุณเดินทางไปแอฟริกาตะวันตก หรือสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคไข้ลาสซา คุณควรใช้ความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

  • ไวรัส ลาสซาติดต่อจากหนูมาสู่มนุษย์ ผ่านการสัมผัสกับอาหารหรือสิ่งของในครัวเรือน ที่ปนเปื้อนปัสสาวะหรืออุจจาระของหนูเหล่านี้
  • ไวรัส ลาสซาอาจแพร่ระบาดระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ผ่านการสัมผัสโดยตรงกับเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ หรือของเหลวในร่างกายอื่นๆ ของผู้ที่ติดเชื้อไข้ลาสซา
  • มีรายงานการแพร่เชื้อไวรัสลาสซาผ่านการมีเพศสัมพันธ์

ไวรัสลาสซา

อาการของโรคไข้ลาสซา

อาการเริ่มต้นของไข้ลาสซา อาจมีไข้และอ่อนเพลียทั่วไป ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหัว เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ไอ และปวดท้องในภายหลัง

ในรายที่เป็นมากอาจมีเลือดออกทางทวารต่างๆ เช่น ปาก จมูก หู ช่องคลอดหรือท้อง อาจเสียชีวิตใน 14 วันหลังจากเริ่มมีอาการ

มียา(ต้านไวรัส)รักษาและได้ผลดีถ้ารับประทานแต่เนิ่นๆ ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้ลาสซา

ไวรัสลาสซา

อาการของโรคไข้ลาสซา โรคมาร์บวร์ก และโรคไวรัสอีโบลาคล้ายคลึงกัน เนื่องจากโรคทั้งสามสามารถทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรง และไข้เลือดออกในคนได้ อาการอาจรวมถึง:

  • ไข้
  • ปวดศีรษะ
  • อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ความอ่อนแอ
  • ความเหนื่อยล้า
  • อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • อาการปวดท้อง
  • อาการเลือดออก เช่น เลือดออกจากเหงือก จมูก และบริเวณอื่นๆ
  • ผื่นที่ผิวหนัง (ในบางกรณี)

334071378 239328155088792 2310460361722573798 n

ความเป็นไปได้ของการระบาดของไข้ลาสซาในประเทศไทยมีน้อย

เนื่องจากไวรัสส่วนใหญ่ติดต่อผ่านการสัมผัสกับสิ่งขับถ่ายของสัตว์ฟันแทะที่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่คือหนูแมสโตมีส นาทาเลนซิส (Mastomys natalensis) ซึ่งไม่พบในประเทศไทย

มีรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์กในหลายประเทศในแอฟริกากลางและตะวันออก รวมถึงยูกันดา แองโกลา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ความเสี่ยงของการระบาดของไวรัสมาร์บวร์กเข้ามาสู่ประเทศไทยต่ำเช่นกัน เนื่องจากไวรัสจะติดต่อสู่คนผ่านทางค้างคาวกินผลไม้ ซึ่งไม่พบในประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo