General

‘หมอนิธิพัฒน์’ เรียกร้อง 4 เรื่องด่วน ฝ่าฝุ่น PM2.5 จี้ดันพรบ.อากาศสะอาด

“หมอนิธิพัฒน์” เสนอ 4 แนวทาง แก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 พุ่ง แนะเร่งคลอด พรบ.อากาศสะอาด ที่ยังคาอยู่ในรัฐบาล ปรับวิธีเตือนระดับฝุ่นพิษ

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล ห่วงฝุ่น PM2.5 ค่าพุ่งระดับกระทบสุขภาพ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไข โดยระบุว่า

ฝุ่น PM2.5

เห็นทีช่วงนี้คนกรุงเทพจะปลดหน้ากากในที่สาธารณะยังไม่ได้ แม้โควิดจะซาลงไปมากแล้วก็ตาม แต่ฝุ่นกำลังตลบมากอยู่ตอนนี้ จากเจ้าตัวจิ๋ว PM2.5 โดยไม่เกี่ยวกับนักการเมืองซึ่งกำลังวิ่งย้ายพรรค

ดังรูปที่ถ่ายตอนสาย แต่ไม่เห็นทัศนียภาพอันสวยงามของเมืองหลวงเช่นเคย สาเหตุหลักน่าจะมาจากปรากฏการณ์ อุณหภูมิผกผัน ประกอบกับมนุษย์เริ่มมีกิจกรรมนอกบ้านกันมากขึ้น หลังโควิดซา

แปดโมงเช้าวานนี้ เช็คแอป A4Thai ไอ้หยา ปริมาณฝุ่นเฉลี่ยในรอบ 24 ชม.(average of cumulative) พุ่งไป 58 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่พอเข้าไปดูค่าที่วัดขณะนั้น (real time) แทบลมจับ ขึ้นไปที่ 91 ดังรูป

ฝุ่น1 3

พอมาดูระดับการเตือนภัยในแอป ยังให้เป็นสีส้มหรือ เริ่มมีผลกระทบ ทั้งที่ควรจะเป็นสีแดง หรือมีผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพได้แล้ว เพราะค่าเกิน 90 ตามมาตรฐานเดิมที่หน่วยราชการไทยใช้อยู่

ทั้งที่เสนอให้แจ้งค่าเตือนภัยสำหรับคนทั่วไปเป็นค่า real time ส่วนค่า average of cumulative ให้ใช้สำหรับผู้บริหารสำหรับตัดสินใจดำเนินการเชิงนโยบาย

และขอให้ปรับลดตัวเลขสีส้มลงมาที่ 37.5 และสีแดงลงมาที่ 75 ตามที่ประเทศเจริญแล้วเขาทำกัน (ที่จริงต้องต่ำกว่านี้อีก) คนไทยไม่ได้ทนต่ออากาศเป็นพิษได้มากกว่าคนชาติอื่น

ฝุ่น

ขอเรียกร้องไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. เร่งออกพรบ.อากาศสะอาด ที่เป็นการแก้ไขเชิงระบบ ขณะนี้ภาคประชาชนผลักดันจนผ่านรัฐสภาแล้ว เรื่องไปรออยู่ที่รัฐบาล เพราะถูกตีความว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงิน

2. การแก้ไขมลพิษในสิ่งแวดล้อม อากาศเป็นพิษ ควรเป็นนโนบายหนึ่งของพรรคการเมืองในการหาเสียง ไม่ใช่เน้นแต่เรื่องเพิ่มเงินอากาศเป็นพิษในทุกรูปแบบ

3. ปรับวิธีการและค่าอันตราย ในการเตือนภัยต่อสุขภาพ ตามข้อเสนอข้างต้น

4. ขอความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ช่วยกันสื่อสารข้อมูล เพื่อสร้างความตระหนักกับประชาชน ในการร่วมมือแก้ไขปัญหาแหล่งกำเนิด PM2.5 และแนวทางการดูแลสุขภาพ ในช่วงคุณภาพอากาศเลวร้าย ระหว่างรอการแก้ไขในระยะยาว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo