COVID-19

มาแล้ว! พบติดเชื้อ ‘BQ.1’ ในไทย 1 ราย หลังเพิ่งเจอ สายพันธุ์ย่อย XBB

พบติดเชื้อ ‘BQ.1’ ในไทยแล้ว 1 ราย CDC สหรัฐฯ เผยระบาดเร็ว ดื้อต่อวัคซีนและภูมิคุ้มกัน คาดเข้าแทนที่ BA.5 ภายในสิ้นปีนี้

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า ไทยพบผุ้ติดเชื้อ โอไมครอน BQ.1 แล้ว 1 ราย และเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในสหรัฐ โดยคาดจะเข้าแทนที่ BA.5 ภายในสิ้นป้นี้ ข้อความดังนี้

โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย “BQ.1 และ BQ.1.1”  และ “ยาแอนติบอดีสำเร็จรูป”เจเนอเรชันสองเพื่อการรักษา

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (CDC) ได้ออกมาเตือนถึงการระบาดของโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย “BQ.1”  และ BQ.1.1 ซึ่งเป็นรุ่นหลานของโอไมครอน BA.5

ประเทศไทยพบ “BQ.1” แล้วหนึ่งรายจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม ของโควิดโลก “GISAID”

BQ.1

2 สาเหตุ ที่ผู้เชี่ยวชาญกังวลต่อ BQ.1 และ BQ.1.1

นายแพทย์ “แอนโทนี เฟาชี” แพทย์ใหญ่ประจำคณะทำงานด้านการควบคุมโรคโควิด-19 ของทำเนียบขาว กล่าวถึงสาเหตุที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญกังวลใจเกี่ยวกับบรรดาโอไมครอนสายพันธุ์ใหม่ เช่น BQ.1 และ BQ.1.1 เนื่องจาก 2 เหตุผลสำคัญ (ภาพ1) คือ

  1. โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1 และ BQ.1.1 มีการเพิ่มจำนวนเป็นเท่าตัว (doubling time) ภายในอาทิตย์เดียวติดต่อกันมาหลายสัปดาห์ซึ่งถือว่าสูงมาก (ภาพ2) และ
  2. โอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BQ.1 และ BQ.1.1 ดื้อต่อยาแอนติบอดีสำเร็จรูปตัวสำคัญที่เรามีใช้อยู่ เช่น เอวูเชลด์ (Evusheld) และ เบบเทโลวิแมบ (Bebtelovimab) ที่ใช้รักษาโควิด-19 (ภาพ3)

BQ.1

ดื้อต่อวัคซีนและภูมิคุ้มกัน

ปัจจุบันโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามธรรมชาติหรือภูมิที่ได้จากการฉีดวัคซีนได้ดี  (ภาพ4) ทั้งยังดื้อต่อยา“แอนติบอดีสำเร็จรูป”เจเนอเรชันแรกเป็นส่วนใหญ่ (ภาพ3) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยา“แอนติบอดี ค็อกเทล”เจเนอเรชันสอง สำหรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19

“แอนติบอดี ค็อกเทล”เจนเนอเรชั่นสอง เช่น “SA55+SA58” สามารถเข้าจับและทำลายโอไมครอนได้ทุกสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.1/BA.2, BA.4/BA.5  จนมาถึงสายพันธุ์ย่อยล่าสุด BQ.1, BQ.1.1, XBB  (ภาพ3)

BQ.1

โอไมครอน BQ.1 มีการกลายพันธุ์บริเวณส่วนหนามที่สำคัญคือ K444T, L452R, N460K, และ  F486V ซึ่งทำให้หลบภูมิคุ้มกันที่ได้จากการติดเชื้อตามธรรมชาติหรือได้จากการฉีดวัคซีนได้ดี ในสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อ BQ 1 ร้อยละ 5.7 ของโอไมครอนสายพันธุ์ต่างๆที่ระบาดอยู่ในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด และหากคิดรวม BQ.1.1 (กลายพันธุ์เพิ่มจาก BQ.1 อีกหนึ่งตำแหน่ง คือ R346T) จะมีผู้ติดเชื้อ BQ.1 และ BQ.1.1 รวมกันถึงร้อยละ 11.4 ซึ่งคาดว่าสายพันธุ์ย่อยทั้งสองจะมาแทนที่ BA.4.6 ซึ่งระบาดในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันคิดเป็นร้อยละ 12.2

แต่ขณะนี้มีปริมาณการเพิ่มจำนวนที่คงตัว ในขณะที่โอไมครอน BA.5 ในสหรัฐอเมริกาลดจำนวนลงเป็นลำดับ ขณะนี้เหลือเพียงร้อยละ 67.9

BQ.1

CDC สหรัฐคาด BQ.1 จะแทนที่ BA.5 ภายในสิ้นปีนี้

BQ.1   มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดเหนือกว่า  BA.5.2 เกือบ 15% ต่อวัน ในขณะที่ BQ.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดเหนือกว่า BA.2 ประมาณ 14% ต่อวัน บ่งชี้ว่า BQ.1 น่าจะเจริญเพิ่มจำนวนได้รวดเร็วกว่า ส่งผลให้แพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็ว น่าจะเข้ามาแทนที่ BA.5 ได้ภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปี 2566

แม้โอไมครอน BQ.1 จะมีการกลายพันธุ์หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีและแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกแสดงให้เห็นว่า โอไมครอน BQ.1 และ BQ.1.1 ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงและมีผู้เสียชีวิตแตกต่างไปจากโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญ

การรักษาอาจต้องใช้ยา“แอนติบอดี ค็อกเทล”เจเนอเรชันสอง ที่เข้าจับหนามของอนุภาคไวรัสบริเวณที่ไม่มีการกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลง สามารถใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ติดเชื้อโอไมครอนทุกสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.1/BA.2, BA.4/BA.5  จนมาถึงสายพันธุ์ย่อยล่าสุด BA.2.75.2, BQ.1, BQ.1.1, และ XBB  (ภาพ3)

312140735 782054033133845 5635533005652027562 n

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ศูนย์จีโนมฯ ได้ให้ข้อมูลว่า จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมโควิดโลก “GISAID” เมื่อวันที่ 13/10/2565 ในประเทศไทยพบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BF.7 จำนวน 2 ราย BN.1 จำนวน 3 ราย BA.2.75.2 จำนวน 5 ราย จากที่มีการกลายพันธุ์ไป 6 สายพันธุ์ย่อย

ซึ่งกรมควบคุม เพิ่งเปิดเผยเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ว่าพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ XBB แล้ว 2 ราย และล่าสุด กับการพบผู้ติดเชื้อโอไมครอน BQ.1 จากฐานข้อมูลโควิดโลกดังกล่าว

อ่านข่าวพิ่มเติม

Avatar photo