COVID-19

ผู้ป่วยโควิดเนเธอร์แลนด์ ลากยาว 613 วัน พบ BA.1.17 หลบภูมิคุ้มกันดีกว่าไข้หวัดใหญ่

“ดร.อนันต์” เปิดข้อมูลผู้ป่วยโควิดเนเธอร์แลนด์ ติดเชื้อนาน 613 วัน พบสายพันธุ์ BA.1.17 ที่ไม่พบในประเทศแล้ว และยังสามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าไข้หวัดใหญ่

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า

BA.1.17

ผู้ป่วยโควิดรายหนึ่งในประเทศเนเธอแลนด์อายุ 72 ปี ผ่านการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไขกระดูกและมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ผู้ป่วยรายนี้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่อัมสเตอร์ดัม จากโรคโควิดในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2565 โดยไวรัสที่ผู้ป่วยรายนี้ติดมาเป็นสายพันธุ์ BA.1.17 ซึ่งเป็นโอไมครอนสายพันธุ์แรก ที่ระบาดหลังเดลต้า ก่อนที่จะมี BA.2 และ BA.5 ระบาดเข้ามาทดแทนในเวลาต่อมา

ผู้ป่วยมีอาการปอดติดเชื้อและรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 31 วัน ก่อนกลับบ้าน
แต่ผู้ป่วยก็ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นระยะในช่วงเวลาต่อมา

111 3

ตลอดเวลาหลังจากติดเชื้อ ทีมแพทย์ได้ตรวจเชื้อจากตัวอย่างทางเดินหายใจของผู้ป่วยพบว่า มีค่า RT-PCR เป็นบวกมาโดยตลอด โดยเฉพาะช่วง 150 วัน (5 เดือน) หลังติดเชื้อ ค่า Ct อยู่ในระดับ 20 ซึ่งเป็นค่าที่ไวรัสสูงมาก  ถึงแม้ว่าจะเริ่มลดลงมา แต่ก็กลับมาอีกครั้งเมื่อผู้ป่วยไปติดไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่วมมาอีก และ ขึ้น ๆ ลง ๆ ในระดับ Ct 20-30 มาตลอดนานกว่า 300 วัน ก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต

ทีมวิจัยได้เก็บตัวอย่างไวรัสของผู้ป่วยที่เวลาต่าง ๆ และถอดรหัสพันธุกรรมเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลาพบว่า ไวรัสยังคงเป็น BA.1.17 ถึงแม้ว่าไวรัสในเนเธอแลนด์จะไม่พบ BA.1.17 ในประชากรแล้ว แสดงว่า ผู้ป่วยไม่ได้ติดเชื้อซ้ำมาจากคนอื่น

222 1

ที่น่าสนใจคือ ไวรัสในตัวอย่างของผู้ป่วยในเวลาต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงของนิวคลีโอไทด์ในตำแหน่งต่างๆเพิ่มขึ้นมากกว่า 50 ตำแหน่ง ซึ่งบ่งชี้ว่าตลอดเวลาที่ไวรัสอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยไวรัสมีการปรับตัวกลายพันธุ์ตัวเองอยู่ตลอด จนหน้าตาเปลี่ยนไปและ จุดที่เปลี่ยนไปในหลายตำแหน่งดังกล่าว จะทำให้ไวรัสหนีภูมิคุ้มกัน และ เพิ่มปริมาณในร่างกายของผู้ป่วยได้ดีขึ้น หลาย ๆ ตำแหน่งยังไม่เคยพบในไวรัสที่กระจายในประชากรมนุษย์ เช่น XBB.1.5 หรือ XBB.1.9

ข้อมูลของผู้ป่วยรายนี้ อาจจะเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด (613 วัน) ที่ไวรัสอยู่ในร่างกายของโฮสต์ได้ หากผู้ป่วยไม่เสียชีวิตไวรัสน่าจะยังไปต่อได้อีก ซึ่งเป็นข้อมูลที่สนับสนุนว่า ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ที่เชื่อว่าหายไปจากประชากรมนุษย์แล้ว อาจจะสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองจนมากพอที่จะกลับมาเป็นไวรัสตัวใหม่ที่ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายเคยสร้างไว้กับไวรัสกลุ่มนี้ในอดีตจำไม่ได้ และกลับมาติดซ้ำได้อีกครั้ง

333

ประเด็นที่น่าสนใจมากสำหรับผมคือ ผู้ป่วยรายนี้ติดไวรัสไข้หวัดใหญ่และรักษาตัวเองโดยยาต้าน และ สามารถเคลียร์ไวรัสไช้หวัดใหญ่ออกจากร่างกายได้หมด (PCR เป็นลบ) ในเวลาประมาณ 1 เดือน ซึ่งหมายถึงภูมิคุ้มกันของเค้าดีพอที่จะจัดการไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้

แต่ในช่วงเวลาเดียวกัน ไวรัส SARS-CoV-2 ก็ยัง active อยู่ในร่างกายของเค้า ข้อมูลนี้บ่งชี้คุณสมบัติของไวรัส SARS-CoV-2 ในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า ไวรัสไข้หวัดใหญ่มาก ๆ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo