COVID-19

ผู้ป่วยโควิดพุ่งหลังวันหยุดยาว ‘หมอนิธิพัฒน์’ หวังผู้ป่วยหนักไม่ทะลุ 1,000 จุดอันตราย

วันหยุดยาวเริ่มออกฤทธิ์ ผู้ป่วยโควิดพุ่ง ทั้งผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยหนัก ยอดเสียชีวิต “หมอนิธิพัฒน์” หวังผู้ป่วยหนักไม่ทะลุ 1,000 ราย ที่เป็นจุดอันตราย คาดต้นเดือนหน้าเริ่มลดลง

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก นิธิพัฒน์ เจียรกุล ถึงตัวเลขผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มขึ้นหลังช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา โดยระบุว่า

LINE ALBUM Covid atk สถานที่ต่างๆ ๒๒๐๗๒๖ 0

ช่วงนี้โควิด-19 ถูกฝีดาษวานรขโมยซีนไปได้มาก เพราะยอดทั่วโลกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในหลักหมื่น แต่อัตราการเสียชีวิตยังพบน้อยอยู่

ช่องทางการติดต่อโดยหลักแล้วมาจากการถูกเนื้อต้องตัวกันในระยะใกล้ รวมถึงละอองสารคัดหลั่งในระบบการหายใจ ทั้งน้ำมูก น้ำลายและเสมหะ แต่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อในรูปแบบการสูดหายใจ (airborne) เอาละอองลอย (aerosols) เข้าไป

อย่างไรก็ตามการใส่หน้ากากในที่สาธารณะ ช่วยป้องกันทั้งการรับเชื้อและแพร่เชื้อโรคฝีดาษวานรและโรคโควิด-19 ได้ทั้งคู่

ณ บ้านริมน้ำ ตัวเลขผู้ป่วยโควิดอาการรุนแรงกลับมาเพิ่มขึ้นใหม่ เมื่อพิจารณาตัวเลขผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยที่รักษาตัวนอกโรงพยาบาล ของสัปดาห์ที่ 29 แห่งปี (17-23 ก.ค.) มียอดเพิ่มขึ้นมาจากเดิมราว 30+% (จากราว 1.5 แสนไปเป็น 2 แสน)

ส่วนจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล เพิ่มขึ้นมาจากเดิมราว 20+% (จากราว 1 หมื่นไปเป็น 1.2 หมื่น)

ตัวเลขนี้บอกเราว่า หลังช่วงหยุดยาวห้าวันมีคลื่นกระเพื่อมขึ้นมาลูกย่อม ๆ ยังไม่เหนือบ่ากว่าแรงภาคการแพทย์นัก แต่ก็ไม่สบายเนื้อสบายตัวกันทั่วหน้า เพราะเพื่อนร่วมงานรอบข้างก็ติดเชื้อ ป่วยไปหลายคนเหมือนกัน

ครั้นพิจารณายอดผู้ป่วยรุนแรง ใส่เครื่องช่วยหายใจ เสียชีวิต ก็เพิ่มขึ้นมาระดับ 20-40% ซึ่งจะยังเพิ่มต่อไปได้หน่อยในอีกสองสามวันข้างหน้า ก่อนเริ่มหยุดยาวกันอีกรอบ หวงว่าผู้ป่วยหนักที่ทะลุ 900 มาแล้ว จะไปไม่ถึงจุดอันตรายที่ 1,000 ตามที่เคยเตือนไว้

นิธิพัฒน์ เจียรกุล
รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล

ถ้าเป็นตามคาดว่าไม่ค่อยเหลือผู้บริสุทธิ์ ที่ยังไม่มีภูมิธรรมชาติ (nature immunity) และไม่มีภูมิเหนือธรรมชาติจากวัคซีน (nurture immunity) จำนวนผู้ติดเชื้อ ป่วยอาจจะทรงหรือเพิ่มได้อีกเล็กน้อย เป็นการปรับฐานอีกครั้งช่วงหยุดยาวที่สองช่วงปลายเดือนนี้ แล้วจึงค่อยเห็นลดลงช้า ๆ ในต้นเดือนหน้า

กว่า 80% ของผู้ป่วยยืนยันจาก RT-PCR เกิดขึ้นในกรุงเทพ และกว่า 80% ของคนกรุงเทพติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.5 นำหน้าต่างจังหวัดซึ่งติด BA.5 อยู่ที่ 60+%

ส่วนที่ให้ข่าวกันว่า BA.5 ร้ายแรงกว่า BA.2 เพราะสุ่มตรวจพบในผู้ป่วยอาการรุนแรงในกรุงเทพได้กว่า 90% คงไม่สามารถระบุได้ เพราะฐานการติดเชื้อไม่เท่ากัน แต่ถ้าปรับตามฐานที่ใกล้เคียงกันแล้ว ความรุนแรงน่าจะอย่างน้อยเท่ากันหรือลดลงมาระดับหนึ่งเสียด้วยซ้ำ

ไม่ว่าผลสถานการณ์โควิดเดือนหน้าจะออกมาเป็นเช่นไร ชีวิตก็ต้องเดินหน้าต่อ เหมือนแฟนปิศาจแดงที่ลงเรือลำเดียวกับแฟนหงส์แดงแล้ว ขืนทะเลาะกันรุนแรง เรือก็จะล่มเสียเปล่า ๆ ปลี้ ๆ

ท้ายสุดจะชวดแชมป์ปล่อยให้ทีมเรือใบสีฟ้าหยิบชิ้นปลามันไปครอบครองเหมือนฤดูกาลที่แล้ว รักใครชอบใครบ่ายโมงนี้ตามไปเป็นอัศวพักตร์กันได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo