COVID-19

‘หัวหน้าศูนย์จีโนมฯ’ คาด ‘โอไมครอน’ จบมีนาคม แล้วเปลี่ยนสายพันธุ์!!

“หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี” คาด “โอไมครอน” จบเดือนมีนาคมนี้ แล้วเปลี่ยนสายพันธุ์ ย้ำโควิดไม่มีทางสูญพันธุ์

กรณีดาราพาเหรดติดเชื้อโควิด แค่เดือนกุมภาพันธ์ตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันนี้ (24 ก.พ) มีดาราติดเชื้อไปแล้วทั้งหมด 41 คน อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ “โอไมครอน” หนึ่งในสายพันธุ์ของโควิดทำให้ประชาชนติดเชื้อได้ง่าย ความรุนแรงจะเป็นอย่างไร และเชื้อโควิด-19 จะมีโอกาสสูญพันธ์หรือไม่

โอไมครอน

ล่าสุด รายการโหนกระแส ได้สัมภาษณ์ “ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิพย์” หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี

อาจารย์ทำอะไรในศูนย์จีโนม?

ดร.วสันต์ : เราจะถอดรหัสพันธุกรรมเป็นหลัก ปกติถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ที่เป็นโรค เพื่อใช้ยา หรือปรับเปลี่ยนอะไรต่าง ๆ หรือผ่าตัด ทีนี้พอมีปัญหาเรื่องโควิด ทั่วโลก โดยเฉพาะ WHO เขาขอร้องมาว่าห้องแล็บทั่วโลกไม่ว่าเล็กใหญ่ขอให้ช่วยถอดรหัสพันธุกรรม เพราะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะอัพโหลดขึ้นไปในคลาวน์ซิสเต็มอันนึง แล้วจะได้วิเคราะห์กันทั่วโลก

ทั่วโลกจะได้รู้กันหมดว่ามันเปลี่ยนอะไรยังไงบ้าง?

  • ดร.วสันต์ : ถูกต้องครับ และจะได้เอาไปใช้พัฒนาชุดตรวจ หรือควบคุมโรค หรือพัฒนายา วัคซีนต่าง ๆ

โอไมครอน

สายพันธุ์ที่เกิดคือโอไมครอน มันติดเร็วขนาดนั้นเลยเหรอ?

  • ดร.วสันต์ : ถ้าดูโอไมครอน WHO ขอร้องให้บรรดาห้องแล็บช่วยดู จะมีพี่ ๆ น้อง ๆ เขา โอไมครอนแตกเป็นสายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 และ BA1.1 หลังจากนั้นเป็น BA.2 และ BA.3 นี่คือโอไมครอน

ทำไมเยอะ?

  • ดร.วสันต์ : ถ้าเราดูเดลต้า เดลต้ามีสายพันธุ์ย่อยเยอะกว่านี้ เป็น AY.1-80 เพราะว่าโอไมครอน ไม่เคยหยุดการกลายพันธุ์ มันจะกลายไปเรื่อย ๆ

ณ วันนี้ที่กำลังเผชิญอยู่เป็นตัวไหน?

  • ดร.วสันต์ : ถ้าดูภาพอินเสิร์จที่สองจะชัดเจน ตอนนี้เรามีไวรัสที่ถอดรหัสพันธุกรรมไปแล้วประมาณ 8 ล้านตัว พอ 8 ล้านตัวก็ใช้แอพพลิเคชั่นมาดูว่ากลายพันธุ์ยังไง ซ้ายมือสุดคือ อู่ฮั่น ไม่มีการกลายพันธุ์เลย ถัดมาคือ เดลต้า โอไมครอนอะไรต่าง ๆ ถ้าลากเส้นตรงตำแหน่งที่ 60 คือหมายถึงว่ากลายพันธุ์จากอู่ฮั่นไป 60 ตำแหน่ง อันนี้ยังดีนะ ไวรัสอะไรก็ตามที่กลายพันธุ์ต่างจากอู่ฮั่นไปน้อยกว่า 60 หรือเท่ากับ 60 ถือว่ากำลังจะสูญพันธุ์ไม่ต้องไปสนใจแล้ว

เอาง่ายๆ อู่ฮั่นอยู่แถวเลข 0 แต่พอเริ่มกลายพันธุ์จะทวีความรุนแรง แต่พอมาถึง 60 ปุ๊บ มันลดลงแล้ว?

  • ดร.วสันต์ : คือแต่ละสายพันธุ์ โดยเฉพาะโอไมครอน จากการเข้าไปดูทุกประเทศ สายพันธุ์เหล่านี้จะอยู่ได้ไม่นาน และเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ใหม่ อย่างโอมิครอน ที่แอฟริกาใต้ หรืออังกฤษ หรือสหรัฐอเมริกา เกิดขึ้น คงอยู่และดับสูญไปประมาณ 2 เดือนเท่านั้นเองครับ ก็มีคำถามว่าเราจะอยู่กับโอมิครอนไปอีกนานเท่าไหร่ ก็ต้องบอกว่าประมาณ 2 เดือน แต่เราจะอยู่กับไวรัสโคโรนา 2019 ไปอีกเท่าไหร่ ก็ต้องบอกว่าอีกนาน เพราะเขาจะกลายพันธุ์ไปเรื่อย ๆ

มี 14 คำถามที่ต้องถามอาจารย์ คำถามแรก โอไมครอนจะระบาดในไทยอีกนานแค่ไหน?

  • ดร.วสันต์ : จากข้อมูลทั่วโลก หลายประเทศ โดยเฉลี่ยไม่เกิน 2 เดือน คือ 60 วัน ทุกประเทศทั่วโลกไม่เคยเกิน 2 เดือน

โอไมครอน

ของเรากุมภาพันธ์-มีนาคมน่าจะจบ แล้วจะเปลี่ยนสายพันธุ์อีกมั้ย?

  • ดร.วสันต์ : เปลี่ยนครับ WHO บอกว่าโอไมครอนไม่ใช่สายพันธุ์สุดท้ายอย่างแน่นอน

ต้องไปอีกกี่สายพันธุ์?

  • ดร.วสันต์ : WHO บอกว่าคงต้องอยู่ไปกับไวรัสโคโรนา 2019 ไปอีกนาน แต่ WHO บอกชัดเจนว่าปีนี้การระบาดใหญ่ ที่แพนิกไปทั่วโลกจะยุติลง ประมาณกลางปีนี้ เปลี่ยนจากโรคอุบัติใหม่ที่รุนแรง เป็นโรคที่ควบคุมได้ แต่ยังไม่ใช่โรคประจำถิ่น ไวรัสประจำถิ่นปีนี้จะลดระดับลงจนเราควบคุมได้แต่เราไม่แน่ใจว่าจะประจำถิ่นเมื่อไหร่ เพราะไวรัสประจำถิ่นมันมีอีกปัจจัยนึงคือเราต้องสามารถคาดคะเนได้ว่าเขาจะมาเมื่อไหร่ ไปเมื่อไหร่ ตอนนี้เรายังเดาใจเขาไม่ถูก

ประเมินได้มั้ยว่าจะสูญพันธุ์เมื่อไหร่?

  • ดร.วสันต์ : ประเมินได้ว่ามันจะไม่สูญพันธุ์ ไวรัสมีหลายประเภท ถ้าไวรัสเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ จากประวัติศาสตร์ในอดีตถึงปัจจุบัน เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดธรรมดา ไม่เคยมีสายพันธุ์ไหนหายไปเลย มีไวรัสบางประเภทที่หาย เช่น ไข้ทรพิษ หรือโปลิโอ อันนี้เราควบคุมและหายได้ แต่ไวรัสที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ ยังไม่มีตัวไหนหายไปเลยจากระบบ เพียงแต่ว่าเมื่อระบาดแล้ว อาการทีแรกรุนแรง มีคนเสียชีวิต และจะค่อย ๆ บรรเทาเบาบางลง จนเราอยู่ร่วมกับเขาได้

ต่อไปก็จะเหมือนไข้หวัดแล้วเราก็กินยาและหายไป?

  • ดร.วสันต์ : ใช่ครับ เป็นอย่างนี้ ฉะนั้น วันนี้สมมุติมีใครติดกันมากมาย สำหรับผมถือว่าเป็นโอกาสดีที่มาติดกันช่วงนี้ เพราะโอกาสที่จะเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต โดยอัตราจากต่างประเทศ 0.9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเดลต้า เมื่อก่อนถึง 5.4%

โอไมครอนที่บอกว่าไม่รุนแรง ทำไมยังมีคนเสียชีวิตอยู่?

  • ดร.วสันต์ : เราต้องเข้าใจว่าโรคไวรัสโคโรนา 2019 เป็นกลุ่มอาการ ภาษาหมอ คือ สเปกทรัมป์ ตั้งแต่ไม่มีอาการเลย จนมีอาการรุนแรง ถ้าเดลต้าจะหนักไปทางรุนแรง ถ้าโอมิครอน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ หรือมีอาการนิดหน่อยคล้ายไข้หวัด แต่มี 0.9% ที่เสียชีวิต ฉะนั้น จะมีอาการรุนแรงน้อย แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีเลย

นมีอาการรุนแรง อาจเป็นคนไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือมีโรคประจำตัว หรือคนแก่?

  • ดร.วสันต์ : ถูกต้องครับ เป็นอย่างนั้น

โอไมครอน

มีจำกัดอายุมั้ย?

  • ดร.วสันต์ : 608 เป็นลักษณะซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเขาระบุไว้ เป็นโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เบาหวาน ต่าง ๆ นานา แต่เหล่านี้พยายามเลย รีบไปฉีดวัคซีนไว้ก่อนเลย

เขาลือกันว่า สุดท้ายต้องติดทุกคนจริงมั้ย?

  • ดร.วสันต์ : อันนี้อาจคลาดเคลื่อนนิดนึง ที่ลือกันว่าทุกคนจะติดโอไมครอนในประเทศไทยไม่น่าจะใช่ เพราะโอไมครอนจะมาแล้วก็ไปภายใน 2 เดือน ไม่ทันติดคนไทยทั้งประเทศ แต่ถ้าเปลี่ยนคำพูดใหม่ว่าพวกเรา คนทั้งโลก ท้ายที่สุดในช่วงชีวิตของเราจะมีโอกาสติดไวรัสโคโรนา 2019 ไม่ว่าสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งในปัจจุบันหรืออนาคต ก็จะใกล้เคียงกว่า

มีประเทศไหนที่ตัวเลขประเทศเขาขึ้นสูงทุกวัน และขึ้นสูงจนน่ากลัว?

  • ดร.วสันต์ : เดนมาร์ก คือประจวบเหมาะเดนมาร์กมีประชากร 5-6 ล้านคน เขาก็ฉีดวัคซีนให้ตั้งแต่เด็ก 5 ขวบถึงทั้งหมดเลย ฉีดไปแล้วเยอะมาก ประมาณ 70-80% ได้ แล้วเข็มสามก็เยอะ ประมาณ 60-70% มาก ซึ่งเขามีความมั่นใจในวัคซีนมาก จากนั้นเขายกเลิกมาตรการต่าง ๆ หมดเลย ไม่ต้องใส่แมสก์ ไม่ต้องโซเชียลดิสแทนซิ่งอะไรต่าง ๆ แล้วก็จะเห็นชัดเจนว่ากราฟ โดยเฉพาะในอินเสิร์จที่ 5 จะเห็นว่าปรู๊ดขึ้นไปเลย จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเดนมาร์กพุ่งสูงขึ้นมากกว่าประเทศอื่น ๆ กราฟอันบนจะบอกถึงผู้ติดเชื้อรายใหม่ และน่าสนใจคือของเดนมาร์กเดิมจะติดเชื้อ BA.1 ก่อน แล้วพอเคิร์ฟยังไม่ทันลงดีเลย ก็ติด BA.2 ตามเข้าไป ฉะนั้น เคิร์ฟก็เป็นหยัก 2 อัน ถ้ามาดูกราฟอันล่าง จะเห็นว่าไม่ว่าประเทศไหนก็ตามที่มีการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามผู้เสียชีวิตไม่มาก ใกล้เคียงกัน

โอไมครอน

ปัจจัยการแพร่กระจาย ที่ติดกันเยอะ ๆ ส่วนใหญ่น่าจะมาจากตรงจุดไหน?

  • ดร.วสันต์ : ถ้าพูดถึงสิ่งแวดล้อมก่อน ในกรณีของโอไมครอนก็จะติดต่อกันได้ โดยผ่านทางเดินหายใจ อีกอันนึงคือสิ่งแวดล้อมเองโอไมครอนจะทนทานมาก ถ้าติดอยู่ตรงมือ อยู่ได้วันนึง ถ้าติดบนพื้นผิว 8 วันนะครับ นั่นหมายถึงว่า ถ้าบนผิวหนังตอนนี้โอมิครอนยาวไปแล้วเกือบวันนะครับ

ถ้าเดลต้า อัลฟ่าอยู่บนผิวหนัง 4 ชม. แล้วจะตายไปถ้าเข้าเซลล์เราไม่ได้ อยู่บนพื้น ติดตามพื้นพวกลูกบิดกี่วันถ้าเป็นเดลต้า?

  • ดร.วสันต์ : เดลต้าจะน้อยกว่า แต่ถ้าของโอไมครอนคือ 8 วัน

ถ้ามีคนไอแล้วเอามือไปจับ โอมิครอนติดมือ แล้วไปจับประตูห้องน้ำ เชื้อติดอยู่ตรงนั้น 8 วัน?

  • ดร.วสันต์ : ครับ แต่ต้องเป็นพวกห้องส่ง ไม่มีแสงแดด พวกอุณหภูมิอย่างนี้จะอยู่ ถ้าเจอแสงแดดไม่รอด แสงยูวีทำลายทุกสิ่งอย่าง อยู่ที่โล่ง ๆ ไม่มีปัญหา แต่ถ้าอยู่ห้องส่งเย็น ๆ ห้องน้ำก็อยู่นานเช่นเดียวกัน ฉะนั้นแปลกมาก พอเขากลายพันธุ์ไป เข้าใจว่าอาจทำให้โครงสร้างไวรัสเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร ทำให้เขาทนทานต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้คนสงสัยว่าทำไมติดเชื้อกันง่าย ติดเชื้อกันบ่อย ติดกันเยอะ ส่วนหนึ่งมาจากสิ่งแวดล้อมด้วย

โอไมครอน

มันติดเร็วมากขึ้นกี่เท่าถ้าเทียบกับอัลฟ่า หรือเดลต้า?

  • ดร.วสันต์ : ถ้าเป็น BA1 กับ BA2 ประมาณ 1.5 เท่า แต่ของเดลต้าจำไม่ได้ว่าเท่าไหร่ ถ้ามองดูกรณี BA.2 การแพร่ ก็เทียบกับหัดเยอรมัน ประมาณ 18 หมายถึง 1 คน แพร่ไป 18 คน ขณที่เดลต้าการแพร่อยู่ที่ 6.5-8 คน

ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์จนถึงตอนนี้ ดาราติดทั้งหมด 41 คน เยอะมากนะ?

  • ดร.วสันต์ : ผมไม่ประหลาดใจ ต้องถามว่าทั้งหมดที่อ่านมาฉีดวัคซีนแล้วใช่มั้ย คำถามคือ ใช่ ทำไมถึงเกิดอย่างนั้น คือวัคซีนที่เราใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน เราสร้างขึ้นมาอาศัยรูปลักษณ์อู่ฮั่นเป็นหลัก ถ้าเราดูโอไมครอน โดยเฉพาะ BA.2 ต่างจากอู่ฮั่น 100 ตำแหน่ง ฉะนั้น ประสิทธิภาพของวัคซีนจะด้อยลง แล้วมีลักษณะการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน เรียกว่า วัคซีนเบรกทู โอไมครอน 55.9% คือ 100 นึงติดเชื้อได้ครึ่งนึง ฉะนั้น หลายคนเลยบอกว่าทำไมมีการติดเชื้อใหม่ เมื่อเทียบกับเดลต้า 24%

หลังโอมิครอนจะมีตัวอื่นมาแน่นอน มันจะรุนแรงมั้ย?

  • ดร.วสันต์ : WHO ยืนยันอีกว่าไม่ทราบ ต้องรอดูเอง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo