COVID-19

จำลองปอดมนุษย์ ผลวิจัยชัด โอไมครอน ติดเซลล์ปอด น้อยกว่าเดลตา

“ดร.อนันต์” เผยผลทดลอง จำลองปอดมนุษย์กับการติดเชื้อไวรัสโควิด พบโอไมครอน ติดเซลล์ปอดได้ไม่ดีเท่าไวรัสเดลตา

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักไวรัสวิทยา โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เผยผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า โอไมครอน ติดเซลล์ในปอดได้ไม่ดีเท่าไวรัสเดลตา โดยระบุว่า

โอไมครอน ติดเซลล์ปอด

ภาพนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าไวรัสโอไมครอน ติดเซลล์ปอดได้ไม่ดีเท่าไวรัสเดลตา โดยเซลล์ที่ใช้ศึกษานี้สร้างมาจากเซลล์ต้นกำเนิด (stem cells) จากเนื้อเยื่อปอดของมนุษย์ และ เปลี่ยนมาเป็นเซลล์ที่เป็นเซลล์เสมือนเซลล์ในถุงลมปอดมนุษย์ (Alveolar type 2, AT2 cell)

ซึ่งมีข้อมูลว่าเป็นเซลล์หลักที่ไวรัส SARS-CoV-2 เข้าไปติดเชื้อ และ ก่อให้เกิดความเสียหายในปอดในผู้ป่วยอาการหนัก และ เสียชีวิต

เซลล์ AT2 ที่ใช้ได้ถูกทำให้เป็นโครงสร้างสามมิติ เรียกว่า Organoid ที่มีโครงสร้างเหมือนปอดมนุษย์มากกว่าเซลล์ที่แยกมาจากปอด และนำมาเพาะเลี้ยงไวรัสโดยทั่วไป เชื่อว่า ข้อมูลจากการใช้ระบบ Organoid ในการศึกษาจะใกล้เคียงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในร่างกายมนุษย์มากที่สุด

ไวรัวลงปอด

ในภาพสีม่วง คือ โปรตีนนิวคลีโอแคปซิด ( N ) ของไวรัส ซึ่งเป็นตัวแทนของการติดเชื้อ มีโปรตีนนี้มากเท่าไหร่เซลล์ก็จะติดเชื้อมากเท่านั้น

จะเห็นว่า Organoid ที่ติดไวรัสเดลตา (ภาพ A) มีปริมาณของเซลล์ติดเชื้อสูงกว่า เซลล์ที่ติดโอไมครอน (ภาพ B) ชัดเจน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหลักฐานว่า โอไมครอนติดเข้าสู่เซลล์ปอดได้ไม่ดีเท่าเดลตา

แต่ถ้าปริมาณโอไมครอนที่ติดเข้าส่เซลล์ปอดมีเยอะ เซลล์ที่ติดเชื้อได้ก็อาจมีมากขึ้น และสร้างปัญหาได้เช่นเดียวกัน (เพราะถึงแม้โอไมครอนจะติดไม่ดีแต่ก็ยังติดได้จากข้อมูลนี้)

ผลงานวิจัย และ การถ่ายภาพของทีมวิจัยจาก Erasmus Medical Center

https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.01.19.476898v1

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo