COVID-19

‘ดร.อนันต์’ หวั่นใจไวรัสสายพันธุ์ BA.2.86 เพาะเชื้อในห้องทดลองไม่สำเร็จ หวั่นกลไกติดเชื้อเปลี่ยน

“ดร.อนันต์” ห่วงกลไกการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ BA.2.86 เปลี่ยน ชี้ทดลองเพาะเชื้อไม่สำเร็จ ต่างจากทุกสายพันธุ์ที่โตไวมาก ทำให้ไม่มีข้อมูลจากไวรัสตัวจริง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า

รายงานจากเดนมาร์กเกี่ยวกับไวรัส BA.2.86 ที่เก็บข้อมูลจากผู้ป่วย 10 คนแรก พอสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

สายพันธุ์ BA.2.86

1. ไวรัสในเดนมาร์กไม่แตกต่างจากหลาย ๆ ที่ทั่วโลก แสดงว่า ไวรัสสายพันธุ์น่าจะกระจายแบบหาจุดเริ่มต้นได้ยากมากแล้ว

2. ทั้ง 10 คนที่ติดเชื้อ ไม่มีประวัติเดินทางนอกประเทศ

3. ข้อมูล จาก 8 ใน 10 คน บอกว่า อาการไม่รุนแรงมาก ไม่แตกต่างจากโควิดที่เคยติดมา ( 5 คนเคยติดโควิดมาแล้ว) ทุกคนมีภูมิจากวัคซีนมาอย่างน้อย 3 เข็ม…มีผู้ป่วยบางรายมีโรคประจำตัวจึงต้องรับการรักษาตัว

4. ที่น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับผมคือ ปัจจุบันยังไม่มีใครเพาะเชื้อไวรัสตัวนี้ได้สำเร็จในห้องปฏิบัติการ ปกติไวรัสสายพันธุ์อื่นจะเพาะได้ง่าย โตไวมากในเซลล์มาตรฐาน

ดนมาร์ก1

การที่ไวรัสไม่โต เลี้ยงไม่ขึ้น เป็นสัญญาณไม่ปกติ เพราะบางอย่างเปลี่ยนไปแล้ว กลไกการติดเชื้ออาจจะไม่เหมือนเดิม ซึ่งถ้าเปลี่ยนไปเยอะมาก ก็จะน่ากังวลครับ

ตอนนี้ข้อมูลที่ทุกคนใช้อนุมานว่า ไวรัสตัวนี้ติดเชื้อได้ไม่ดีเท่าไวรัสโอไมครอนสายพันธุ์อื่น มาจากไวรัสตัวแทนทั้งสิ้น ยังไม่มีข้อมูลจากไวรัสตัวจริง

ถ้าไวรัสเปลี่ยนไปมาก เช่น ไปใช้โปรตีนตัวรับอื่นที่ไม่ใช่ ACE2 การเปรียบเทียบกันโดยไวรัสตัวแทนก็จะผิดพลาดละครับ

ส่วนตัวยังไม่สบายใจ หากไวรัสตัวจริงยังเพาะไม่สำเร็จ แล้วถูกนำมาใช้เทียบจริง ๆ รอดูผลต่อไปครับ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo