Wellness

ใกล้ตัวกว่าที่คิด!! คนเก่งในที่ทำงาน กลับบ้านรู้สึกหมดแรง อ่อนล้า เสี่ยงโรคซึมเศร้าเรื้อรัง

แพทย์เตือน! เป็นคนเก่งในที่ทำงาน กลับบ้านรู้สึกหมดแรง อ่อนล้า เสี่ยงโรคซึมเศร้าเรื้อรัง

โรคซึมเศร้าภัยใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป ร่วมกันสังเกตตัวเอง และคนที่ใกล้ตัวว่ามีอาการเหล่านี้ หรือไม่ หากพบให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที โรคนี้เป็นแล้วรักษาได้ ดีกว่าปล่อยให้คนที่คุณรักจากไปด้วยโรคนี้อีกคน

คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้อธิบาย และบอกลักษณะของโรคไว้ดังนี้

โรคซึมเศร้า

คุณมีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่

1. รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ
2. ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต
3. น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป
4. นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ
5. รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
6. ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง
7. อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
8. กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ
9. คิดถึงแต่ความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย

ถ้าหากคุณมีอาการเช่นนี้หลายข้อ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ คุณอาจจะกำลังเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา เหมือนกับโรคทางกายอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเป็นโรคนี้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็น จะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดได้ทั้งมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใด ๆ

ปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติ ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน

ปัจจัยที่กระตุ้นให้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสเกิดอาการก็คือ ความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วย ก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลย์ของอารมณ์

สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่งต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเองและโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น

นอกจากนี้ หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้ สาเหตุที่จะกระตุ้นการเกิดโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยก็คือ

โรคซึมเศร้า

การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม ทางสภาพจิตใจ ประจวบกับการเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย ร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย การรักษา

โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้มี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่ย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาในโรงพยาบาลแต่อย่างใด

เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo