Lifestyle

ศุกร์ (สุข) ละวัด ‘วัดศรีมุงเมือง’ วัดศิลปะไทลื้อผสมกับพม่า

วัดศรีมุงเมือง หรือ วัดลวงเหนือ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 157 หมู่ที่ 4 บ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประวัติความเป็นมาของ วัดศรีมุงเมือง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1944 โดยพญาสามฝั่งแกน กษัตริย์ แห่งอาณาจักรล้านนาในสมัยนั้น พระองค์ทรงขึ้นครองราชบ์เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อจากพระเจ้าแสนเมืองมา วัดศรีมุงเมือง เดิมชื่อ “วัดบูรณฉันท์” แปลว่า “มุงเมือง” มีต้นโพธิ์ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน เลยเรียกชื่อว่าวัดศรีมุงเมืองตั้งแต่นั้นมา ต่อมาในปี พ.ศ.2449 ได้เปลี่ยนมาเป็น “ธรรมยุตินิกาย” เป็นวัดแรกของจังหวัดเชียงใหม่

ตามหลักฐานที่แสดงในใบวิสุงคามสีมา ซึ่งลงพระปรมาภิไธย โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 วัดศรีมุงเมือง เป็นวัดประจำหมู่บ้านลวงเหนือ อันเป็นชุมชนของชาวไทลื้อที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ชาวไทลื้อมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก จึงมีการทำนุบำรุงรักษาวัดศรีมุงเมืองบ้านลวง อำเภอดอยสะเก็ด เป็นชุมชนชาวไทลื้อจากเมืองลวงสิบสองปันนา มีสองตำบล คือตำบลลวงเหนือ และลวงใต้ ชาวไทลื้อ ตำบลลวงเหนือสันนิษฐานว่า อพยพมาจากสิบสองปันนาเมื่อปี พ.ศ. 1932 อพยพมาตามพญาแสนเมืองมาเมื่อกลับจากการเยือนสิบสองปันนา พร้อมกับพระชายาได้คลอดพระโอรสคือพญาสามฝั่งแกนที่นี่ ซึ่ง พ.ศ. 1944 จึงได้มาสร้างวัดไว้ที่ที่พระองค์ประสูติ คือ“วัดบูรณฉันท์” หรือว่าวัดศรีมุงเมือง

วัดศรีมุงเมือง 210618 14

วัดศรีมุงเมือง 210618 11

แต่ก็มีอีกข้อสันนิษฐานของบ้านเมืองแกน ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตงว่า พญาสามฝั่งแกนได้ประสูติที่พันนาสามฝั่งแกน หรือเมืองแกนปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีแม่น้ำสามสายคือ แม่น้ำแกน แม่น้ำปิง และ แม่น้ำงัด วัดในอำเภอดอยสะเก็ดส่วนมากจะสังกัดมหานิกาย มีเพียงวัดเดียวคือวัดศรีมุงเมืองที่สังกัดธรรมยุตกนิกาย ในช่วงประมาณปี พ.ศ.2464 หมื่นบุญเรืองวรพงษ์ กำนันตำบลลวงเหนือ มีความศรัทธาในตัวเจ้าคุณนพศรี ศาลคุณ (มหาปิง) พระชั้นผู้ใหญ่ที่สังกัดธรรมยุตกนิกายท่านจึงได้นำนิกายธรรมยุติมาใช้ที่ลวงเหนือ การบูรณะวัดได้มีให้เห็นต่อมาตามลำดับ

จากประวัติของการสร้างวัดต่างๆ ในอำเภอดอยสะเก็ด  ของสำนักงานศึกษาธิการอำเภอดอยสะเก็ด พบว่า มีการสร้างวัดขึ้นในอำเภอดอยสะเก็ดตั้งแต่ปี พ.ศ.1835-2060 ในสมัยของพระเมืองแก้ว แห่งราชวงศ์มังรายซึ่งปรากฏอยู่ในตำนานเมืองเชียงใหม่ พวกไทลื้อก็ได้สร้างวัดขึ้นที่บ้านลวงเหนือ ในจุลศักราช 763 ปีมะเส็ง ตรีศก เดือนแปด พุทธศักราช 1944 พระเจ้าแสนเมืองมาได้สิ้นพระชนม์ พระเจ้าสามฝั่งแก่นได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่และได้ยกดินแดนที่พระองค์ทรงพระราชสมภพ คือ พันนาฝั่งแก่น สร้างเป็นอารามและขนานนามว่า “วัดบูรณฉันท์”

วัดศรีมุงเมือง 210618 5

ภายในวัดศรีมุงเมือง มีศาสนสถานที่สำคัญ ประกอบด้วย อนันตมหาวิหารปุญญามากโร พระอุโบสถ พระธาตุเจดีย์ศิลปะแบบพม่า จนเป็นที่มาของการขนานนามว่า “เจดีย์ม่าน วิหารลื้อ” พระธาตุเจดีย์สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดศรีมุงเมือง นับเป็นเจดีย์เก่าแก่และมีความสำคัญองค์หนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ภายในพระมหาวิหารเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสำคัญ 5 พระองค์ ได้แก่ องค์ในสุด พระเจ้าหลวงเมืองลวง ถัดออกมา ด้านซ้ายมือ คือ พระเจ้าอุ่นเมือง และขวามือคือ พระเจ้านาคะ ถัดออกมาชั้นนอกสุดด้านซ้ายมือ คือ พระเจ้าขวัญเมือง

ส่วนด้านขวามือคือ พระเจ้ามิ่งเมือง วัดศรีมุงเมือง มีอาคารเสนาสนะประกอบไปด้วย อุโบสถ วิหาร กุฏิสงฆ์ 8 หลัง หอฉัน ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาบาตรและสถานอบรมเด็กก่อนวัยเรียน ปูชนียวัตถุในวัด ประกอบไปด้วย พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางสมาธิเพชร 1 องค์ พระประธานในวิหาร 5 องค์ พระประธานในอุโบสถ 3 องค์ ศิลปะไทลื้อ พระเจดีย์ประธาน 1 องค์และเจดีย์ราย 8 องค์ เจดีย์ศิลปะพม่า ด้านหลังวิหาร เป็นเจดีย์ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 1944 มีการบูรณะต่อ ๆ มา จนเจดีย์ได้ชำรุดทรุดโทรมอีกครั้ง จึงได้บูรณะขึ้นใหม่ และ พ.ศ. 2561 เจดีย์สีทอง เพิ่มเติมจนสวยงามเข้ากับวัดใหม่ เจดีย์เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนฐาน และส่วนยอด เจดีย์ทรงระฆัง มีรัดอกคือเส้นคาดกลางองค์ระฆัง

วัดศรีมุงเมือง 210618 17

วัดศรีมุงเมือง 210618 7

ส่วนยอดไม่มีบังลังก์ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์พม่าสันนิษฐานว่า พระเจ้าอนิรุธทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากบัลลังก์ลงมาบรรจุอยู่ในใจกลางส่วนล่างของเจดิย์จึงไม่ต้องมีบลัลังก์อีกต่อไป เรียกว่า แบบอนิรุธ จึงเป็นปล้องไฉน

ปัทมบาท คือส่วนที่มีบัวคว่ำบัวหงายที่มีลายกลีบบัวขนาดใหญ่เป็นเอกลักษณ์ของเจดีย์พม่า ปลี ทรงพุ่มเตี้ยๆ คล้ายดอกบัวตูม และฉัตรโลหะ วัดศรีมุงเมืองยังคงความสวยงาม โดยเฉพาะปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ เจดีย์ศิลปะแบบพม่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1944 ซึ่งนับเป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดองค์หนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่นับถึงปีปัจจุบันมีอายุถึง 615 ปีแล้ว (พ.ศ. 2559) อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มคนต่างๆ สร้างวัดและอารามตามความเชื่อของบรรพบุรุษและอิทธิพลที่ได้รับจากพม่าเช่นวัดลวงเหนือ (ศรีมุงเมือง) สร้างเป็นศิลปะไทลื้อผสมกับพม่า ถ้าเราเดินเล่นในหมู่บ้านใกล้ ๆ กับวัดเรายังได้ชมวิถีชีวิตและชุมชนชาวไทลื้อในหมู่บ้านได้ด้วย

This slideshow requires JavaScript.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo