Lifestyle

ดร.อนันต์ ชี้ ‘สารให้ความหวานเสี่ยงมะเร็ง’ ข้อมูลน้อย ไม่ชัดเจน กระทบทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต

ดร.อนันต์ ชี้ “สารให้ความหวานเสี่ยงมะเร็ง” ข้อมูลน้อย ไม่ชัดเจน กระทบทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิต อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana โดยระบุว่า ประเด็นเรื่องของการจัดสารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Aspartame) ที่พบในน้ำอัดลม Diet ว่าเป็นสารที่อาจก่อมะเร็ง กำลังจะเป็นเรื่องถกเถียงในวงการวิทยาศาสตร์

แน่นอน ทั้ง 2 ฟากของความเห็นทั้งเห็นพ้องและเห็นแย้ง ต่างมีข้อมูลวิชาการ เป็นการถกเถียงกันด้วยข้อมูล ซึ่งแน่นอนผลสรุปที่ได้ออกมาย่อมมีผลกระทบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมของผู้ผลิตและ ผู้บริโภค

สารให้ความหวาน

จัดสารเข้าข่ายก่อมะเร็งออกเป็น 4 ระดับ

หน่วยงานของ WHO ที่ทำหน้าที่จัดสารเข้าข่ายก่อมะเร็งชื่อว่า International Agency for Research on Cancer (IARC) จะจัดสารดังกล่าวออกมาเป็น 4 ระดับคือ

  • 3: No evidence it causes cancer
  • 2b: Possibly (some evidence, usually slim) it causes cancer
  • 2a: Probably (some evidence, a bit more robust) it causes cancer
  • 1: Causes cancer (strong evidence)

สารให้ความหวาน

ข้อมูลรองรับน้อย ไม่ชัดเจน

โดยสารให้ความหวานอยู่ในระดับ 2b คือ อาจจะเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ข้อมูลรองรับยังมีอยู่ไม่มาก โดยตัวอย่างของสารที่ IARC จัดให้อยู่ category 2b เช่น

  • Coconut oil soaps (สบู่น้ำมันมะพร้าว)
  • Nickel (โลหะนิเกิล)
  • Sassafras oil (น้ำมันหอมระเหยชนิดนึง)
  • Aloe vera (ว่านหางจระเข้)
  • Bracken fern (เฟิร์นกูดเกี๊ยะ)
  • Pickled vegetables (ผักดอง)
  • Talcum powder (แป้งทัลคัม)

สารให้ความหวาน

หลายคนเชื่อว่า สาร 2b หลายตัวมีใช้กันมาเป็นเวลานานมาก และ ความเชื่อมโยงกับการก่อมะเร็งยังไม่ชัดเจน ทำให้การนำข้อมูลที่มีไม่มากไปสรุปอะไรใหญ่ๆ อย่างให้ความรู้สึกต่อผู้บริโภคว่าประหนึ่งเป็น “สารก่อมะเร็ง” Category 1 ซึ่งมีผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ

shutterstock 371246386

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo