Lifestyle

‘นอนไม่หลับ’ เรื่องไม่ลับที่ต้องใส่ใจ ก่อนส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวัน

“นอนไม่หลับ” เรื่องไม่ลับที่ต้องใส่ใจ รีบปรับปรุงแก้ไข ก่อนส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวัน

ปัญหานอนไม่หลับ เป็นเรื่องไม่ลับที่ต้องใส่ใจ นอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่คนจำนวนหนึ่งกลับพบว่า ไม่สามารถนอนหลับสนิทตลอดทั้งคืนได้ ซึ่งถ้าหากเกิดเป็นประจำ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ หากกำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องการนอนหลับ ต้องรีบปรับปรุง รีบใส่ใจในการนอน ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาเหล่านี้ตามมา

นอนไม่หลับ

ระบบร่างกายทำงานผิดปกติ

  • เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือหัวใจ

รู้สึกเหนื่อยล้า เครียด

  • เป็นอุปสรรคต่อการทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวัน และยังเป็นสาเหตุ การเกิดภาวะซึมเศร้า

ตัดสินใจช้า ไม่มีสมาธิ

  • นอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลต่อการเรียนรู้ และการจดจำเป็นอย่างมาก

ความสัมพันธ์มีปัญหา

  • คนนอนไม่หลับมักจะอารมณ์เสีย เครียดสะสม โมโหง่าย ทำให้เกิดปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่น

เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ

  • อาจจะเกิดอุบัติเหตุบนถนนหรือเกิดอันตรายในการทำงาน

เคล็ด(ไม่)ลับหลับสนิทได้ทั้งตลอดคืน

กำหนดเวลาเข้าและตื่นนอนให้ชัดเจนและทุกวัน จัดห้องนอนเพื่อใช้หลับเท่านั้น โดยจัดอุณหภูมิ เสียง แสง และการระบายอากาศให้เหมาะสม ฝึกโยคะ การหายใจลึก หรือทำสมาธิ ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลได้

หลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ก่อนนอน

  • อาหารและเครื่องดื่มคาเฟอีน
  • อาหารมื้อใหญ่
  • แสงสีฟ้าจากหน้าจอ
  • ออกกำลังกายหนัก

รู้หรือไม่ ? อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) พบได้ทุกช่วงวัย ทั่วโลกมีผู้เผชิญปัญหานี้ประมาณ 2,000 ล้านคน และประเทศไทยอีกราว 19 ล้านคนเลย หากนอนไม่หลับ ต้องรีบแก้ไขเลย อาจจะส่งผลกระทบอื่น ตามมา 

นอนไม่หลับ

การนอนที่ดีต่อสุขภาพ 

วงจรการนอนหลับการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพเกี่ยวกับวงจรการนอนหลับ โดยระยะแรกเรียกว่า ระยะการหลับที่ไม่มีการกรอกตาแบบรวดเร็ว (Non-Rapid Eye Movement Sleep หรือ NREM sleep) เริ่มต้นจากหลับตื้น (ระยะที่ 1 และ 2) ไปจนถึงหลับลึก (ระยะที่ 3) และระยะการหลับที่มีการกรอกตาแบบรวดเร็ว (Rapid Eye Movement Sleep หรือ REM sleep) หรือเรียกว่า ระยะหลับฝัน การนอนที่ดีจะมี NREM และ REM สลับกันไป

ระยะเวลาการนอนหลับ: มูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติสหรัฐฯ แนะนำให้ผู้ใหญ่นอนหลับประมาณ 7-9 ชั่วโมงในแต่ละคืน ทารกอาจต้องการมากถึง 17 ชั่วโมงต่อคืน ในขณะที่วัยรุ่น 8-10 ชั่วโมง ความต้องการของแต่ละคนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง เช่น พันธุกรรม ตารางเวลาประจำวัน ระดับกิจกรรม ฯลฯ

ความต่อเนื่องของการนอนหลับ: การนอนหลับที่มีคุณภาพจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืนโดยมีสิ่งรบกวนน้อยที่สุด การศึกษาพบว่า คนที่นอนหลับอย่างต่อเนื่องจะทำงานด้านความรู้ความเข้าใจได้ดีขึ้นในวันถัดไป ไม่ขึ้นกับระยะเวลาการนอนหลับ

เวลานอนร่างกายทุกคนมีนาฬิกาชีวิตและจังหวะเซอร์คาเดียน (Circadian Rhythms) ซึ่งมีแสงเป็นตัวควบคุม แสงสว่างจะกระตุ้นกระบวนการทางชีวภาพทำให้ตื่น ขณะที่แสงสลัวหรือความมืดจะเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่ส่งเสริมการนอนหลับ คนที่มีเวลานอนไม่สอดคล้องกับจังหวะชีวิต เช่นทำงานกะกลางคืนหรือมีอาการเจ็ตแล็ก (Jet Lag) ส่งผลให้การหลับสนิทและนอนหลับอย่างเพียงพอเป็นไปได้ยากขึ้น

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน – Social Security Office , สสส.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo