Waste Management

สส. ขยายผลต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทางสู่พื้นที่ใหม่ สร้างสังคมปลอดขยะ

สส. ขยายผลต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทางสู่พื้นที่ใหม่ เน้นความยั่งยืนและครบวงจร สร้างสังคมปลอดขยะ Zero Waste Society

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) จัดอบรมส่งเสริมการขยายผลต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทางสู่พื้นที่ใหม่ ระหว่างวันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

สังคมปลอดขยะ

การอบรมดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพเครือข่าย รวมถึงขยายผลพื้นที่เรียนรู้ชุมชนและโรงเรียนเครือข่ายต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทาง ให้เกิดความยั่งยืนและครบวงจร Zero Waste Society

1 0

นายวรพล จันทร์งาม รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากข้อมูลปี 2565 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น จำนวน 25.70 ล้านตัน เป็นขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ จำนวน 8.80 ล้านตัน กำจัดถูกต้อง จำนวน 9.80 ล้านตัน กำจัดไม่ถูกต้อง จำนวน 7.10 ล้านตัน และตกค้าง จำนวน 9.91 ล้านตัน

3 0
วรพล จันทร์งาม

ขณะที่สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง มีจำนวนเพียง 111 แห่ง สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง มีจำนวนถึง 1,963 แห่ง

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ส่งเสริมแนวคิด Zero Waste การจัดการขยะเหลือศูนย์ โดยใช้หลัก 3Rs มาเผยแพร่ให้แก่ชุมชนและโรงเรียน ผ่าน โครงการชุมชนปลอดขยะ Zero waste และ โรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School

5 0

พร้อมกันนี้ ยังรวมถึงส่งเสริมการขยายผลต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทางสู่พื้นที่ใหม่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2565-2566 มีพื้นที่ต้นแบบ จำนวน 100 พื้นที่ ภายใต้แนวคิดที่ส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดปริมาณขยะที่ส่งไปกำจัดให้มีปริมาณน้อยที่สุด เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มุ่งสู่ Build forward Greener ปรับเปลี่ยนชีวิตวีถีใหม่ อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

4 0

การจัดการขยะที่ต้นทาง นับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์และก๊าซมีเทน ส่งต่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero GHG Emissions) ภายในปี 2608

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดการอบรมส่งเสริมการขยายผลต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทางสู่พื้นที่ใหม่ โดยมีบุคลากรประจำเครือข่ายการจัดการขยะชุมชนและโรงเรียนในปี 2565 จำนวน 60 แห่ง และปี 2566 จำนวน 40 แห่ง รวมทั้งสิ้น จำนวน 100 แห่ง

6 0

สำหรับผู้ที่เข้าร่วมในการอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน คณะครู นักเรียนแกนนำโรงเรียนปลอดขยะ จำนวน 250 คน โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ การบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติในหัวข้อ การพัฒนาศักยภาพผู้นำและการสร้างทีม Zero Waste มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และการเสวนา ต้นแบบการจัดการขยะที่ต้นทางสู่มุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ตอบโจทย์สังคมคาร์บอนต่ำ

8 0

ทั้งนี้ จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพ เพิ่มความมั่นใจในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ของตนเองสู่สังคม รวมถึงเป็นพื้นที่ในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน เพื่อร่วมผนึกกำลังในการผลักดันประเทศไทยให้เป็นสังคมปลอดขยะ หรือ zero waste society ต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo