Environmental Sustainability

‘ซีพีเอฟ’ แชร์ปฎิบัติการร่วมลดโลกร้อน ภายใต้ยุทธศาสตร์ ‘CPF’s Journey to Net-Zero SBT’

“ซีพีเอฟ” แชร์ยุทธศาสตร์ “CPF’s Journey to Net-Zero SBT” ร่วมลดโลกร้อนบนเวที “2024 Forum Thailand Net Zero Now or Never” ในโอกาสสำนักข่าว The Bangkok Insight ก้าวเข้าสู่ปีที่ 7  

นายพีรพงศ์ กรินชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานวิศวกรรมกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Thailand Net Zero Target: Readiness and Challenges” ในงานเสวนา “Thailand Net Zero 2024 – Now or Never” จัดขึ้นโดยสำนักข่าว The Bangkok Insight ในโอกาสฉลองก้าวเข้าสู่ปีที่ 7

Net-Zero

นายพีรพงศ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟ เป็นผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจร ที่มีการลงทุนใน 17 ประเทศ และส่งออกสินค้ามากกว่า 50 ประเทศ เข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลกมากถึง 4,000 ล้านคน

มุ่งสู่เป้าหมาย Net-Zero ภายในปี 2593

ที่ผ่านมา บริษัทฯ มุ่งมั่นผลิตอาหาร โดยให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารปลอดภัย (Food Safety) และความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) รวมทั้งตระหนักถึงการมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ภายในปี 2593

ทั้งนี้ ซีพีเอฟเป็นบริษัทผลิตอาหารบริษัทแรกในโลก ที่ได้รับอนุมัติเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science Based Target ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน Forest ,Land and Agriculture Guidance (FLAG) ซึ่งเป็นมาตรฐานเฉพาะสำหรับภาคเกษตรและอาหาร จากองค์กร The Science Targets initiative (SBTi)

ซีพีเอฟตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือ เป้าหมายระยะสั้น ภายในปี 2573  ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 42% สำหรับ Non-FLAG และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30.3% จากการเปลี่ยนแปลงและการจัดการที่ดิน (FLAG)

ซีพีเอฟ เป้าหมาย

ขณะที่เป้าหมายระยะยาว ภายในปี 2593 มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 90% สำหรับ Non-FLAG และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 72% สำหรับ FLAG

สำหรับเส้นทางสู่ Net-Zero หรือ CPF’s Journey to Net-Zero SBT ของซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร ที่เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหารสัตว์ (Feed) การเลี้ยงสัตว์ (Farm) และการผลิตอาหาร (Food)

เรามีการดำเนินการเรื่องลดก๊าซเรือนกระจกมานานแล้ว สะท้อนได้จากการติดตั้งระบบไบโอแก๊ส (Biogas) ในฟาร์มสุกรและคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองในสถานประกอบการ ช่วยลดกลิ่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นอกจากนี้ ยังดำเนินโครงการ CPF Coal Free 2022 โดยได้ยกเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตทั้งหมด สำหรับกิจการในประเทศไทย และเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2565 และจะขยายผลไปยังกิจการในต่างประเทศ

ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน-พลังงานทดแทน

ขณะเดียวกัน ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน 31 % ของการใช้พลังงานทั้งหมด ประกอบด้วย พลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพ และพลังงานแสงอาทิตย์ อาทิ ติดตั้ง Solar PV ทั่วทั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์และโรงงานผลิตอาหาร ได้สูงถึง 70 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะได้ 100 เมกะวัตต์ในปี 2568

ซีพีเอฟ กลยุทธ์

พร้อมกันนี้ ยังดำเนินการควบคู่กับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนแนวทางเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานใหม่ อาทิ การขนส่งด้วยยานยนต์จากพลังงานไฟฟ้า การก่อสร้างอาคารเขียว การพัฒนาต้นแบบฟาร์ม RE100 หรือ ฟาร์มที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 % การใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การประกาศนโยบายไม่รับซื้อวัตถุดิบที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น

บริษัทฯ ยังได้ส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) โดยมีผลิตภัณฑ์ที่มีการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 880 รายการ และ อีก 56 รายการเป็นผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำที่ได้รับฉลาดลดโลกร้อนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)

อีกโครงการสำคัญคือ การยกระดับความปลอดภัยอาหารมาตรฐานอวกาศ (Space Food Safety Standard) ตอกย้ำมาตรฐานไก่ไทยที่มีความปลอดภัยระดับเดียวกับที่นักบินอวกาศรับประทาน ตามหลักเกณฑ์ความปลอดภัยด้านอาหารขององค์การ NASA

ขณะที่แผนการดำเนินงานในปี 2567 ได้แก่ การสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาตรฐานระดับโลก (World-class Net-Zero Digital Platform) สร้างทีมที่ปรึกษา Climate Action Consultant ภายในของซีพีเอฟให้คำปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบไบโอแก๊ส และขยายผลการใช้รถไฟฟ้าในเครือซีพีเอฟ

ซีพีเอฟ
พีรพงศ์ กรินชัย

ความท้าทายย่างก้าวสู่เป้าหมาย Net Zero

นายพีรพงศ์ ยังได้กล่าวถึง ความท้าทายในการไปสู่เป้าหมาย Net-Zero ของซีพีเอฟว่า ก๊าซเรือนกระจกหลักของอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ตัวอย่างของซีพีเอฟเอง มากกว่า 90% เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน เพียง 8% เท่านั้นที่เกิดในกระบวนการผลิตของเรา

ดังนั้น สิ่งสำคัญจึงต้องสร้างความร่วมมือในการลดก๊าซตลอดห่วงโซ่อุปทาน และต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี แต่ในวิกฤติก็มีโอกาส เนื่องจากมูลสัตว์สามารถเอาเข้าระบบไบโอแก๊ส เกิดเป็นก๊าซมีเทนซึ่งนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า

ซีพีเอฟใช้ไบโอแก๊ส บำบัดมูลสุกร มูลไก่ไข่ 100% ด้วยระบบไบโอแก๊ส นำมีเทนที่เกิดขึ้นไปผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในฟาร์มได้มากกว่า 70% สามารถทดแทนการซื้อไฟฟ้าจากกริด อยากให้ขยายไปยังคู่ค้าและเกษตรกรทั่วประเทศ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องของกฎหมายและระบบสาธารณูปโภค

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo