Environmental Sustainability

‘ปวิช’ รับ net zero ท้าทาย ห่วงอีก 6 ปี นาฬิกาสภาพอากาศนับถอยหลัง

“ปวิช เกศววงศ์” รับ net zero ท้าทาย ห่วงอีก 6 ปี นาฬิกาสภาพอากาศนับถอยหลัง หวังทุกภาคส่วนตระหนัก ตื่นตัว ช่วยขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย

นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “Thailand Net Zero Target : Readiness and Challenges” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ของประเทศไทย และถ่ายทอดแนวทางปฏิบัติ การปรับเปลี่ยนสู่ Net Zero ของภาคส่วนต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญ จัดขึ้นโดยสำนักข่าว The Bangkok Insight ฉลองก้าวเข้าสู่ปีที่ 7
ท้าทาย

นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่ได้รับโจทย์จากรัฐบาล เป็นสิ่งที่มีความท้าทาย เป้าที่กำหนดไว้ Net zero สำคัญเพราะไม่ใช่ลดแค่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเป้าหมายแรกคือตระหนักถึงก๊าซเรือนกระจก 7 ชนิด ที่ต้องลดให้ได้ในปี 2065 ส่วนเป้าหมายรองลงมาในอีกไม่กี่ปี คือ ปี 2050 ต้องลดเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

AY8A5239

“สิ่งเหล่านี้อาจจะดูตื่นเต้น เปรียบได้ว่าเรามีนาฬิกาหมุนไปก็ใกล้จะเกิน 1.5 องศาเซียส พื้นที่ที่เรานั่งอยู่ทุกวันนี้ เรานั่งอยู่อากาศเย็นๆ แต่ว่าอุณหภูมิพื้นผิวโลกเริ่มสูงขึ้นทุกวัน มีการคาดการณ์ว่าสิ้นศตวรรษนี้ ถ้าไม่ทำอะไรเลย อุณหภูมิจะแตะถึง 4 องศาเซลเซียส” นายปวิช กล่าว

ปวิช เกศววงศ์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ส่งผลกระทบทุกอย่าง

สถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ภาวะโลกร้อน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว หลายประเทศทั่วโลกประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติร้ายแรงทั้งไฟป่า พายุฝน น้ำท่วม กระทบทุกอย่าง ความหลากหลายทางชีวภาพ คิดว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัว แต่เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม กลับมองว่าเป็นสิ่งที่กระทบต่อเศรษฐกิจ ถ้าโลกยังเป็นอยู่แบบนี้ การสูญเสียมูลค่าของเศรษฐกิจโลก ภายในปี 2050 จะประมาณ 12.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก

ภาพถ่ายหน้าจอ 2567 03 30 เวลา 17.42.56

เพราะฉะนั้นโลกพัฒนาแล้ว หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ต่างมองว่าทำไมไม่เปลี่ยน การทำ business ให้เป็น Sustainable business มีการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พลังงานมีการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน เกิดคาร์บอนเครดิต เกิดคาร์บอน CBAM เป็นสิ่งที่ต้องตระหนัก เพราะค้าขายกับต่างประเทศ จะละเลยสิ่งนี้ไม่ได้ หากมองอีก 2 ปีข้างหน้า อาจจะเป็นความเสี่ยงด้านอื่นๆ แต่ถ้าเป็นอีก 10 ปีข้างหน้า จะเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมด สภาพอากาศสุดขั้ว การเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง เกิดภัยพิบัติต่างๆอันนี้คือสิ่งที่มันจะเกิดขึ้น

Top5 ของโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ซึ่ง Top5 ของโลก ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ จีน สหรัฐ อินเดีย รัสเซีย และอินโดนีเซีย และผู้ที่ทำให้โลกร้อนก๊าซเรือนกระจกเยอะสุด คือสาขาพลังงาน ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับ 20 ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ถึง 1% แต่ได้รับผลกระทบ 1 ใน 10 ส่ิงที่จะได้รับผลกระทบ คือชายฝั่ง 3,500 ไมล์ ไม่ว่าน้ำทะเลสูงหรืออุทกภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั่วโลก สาขาเกษตร ก๊าซเรือนกระจกมีก๊าซมีเทน ที่มีค่าทำลายชั้นโอโซน มากเป็น 25 เท่าของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นภาคการเกษตรจึงเป็นสิ่งที่จัดการยาก เพราะว่าประเทศไทยประชาชนหลักๆ คือภาคการเกษตร

ภาพถ่ายหน้าจอ 2567 03 30 เวลา 17.43.29

“ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลก็ต้องนำกลับมาขบคิดเหมือนกันว่า ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร เราต้องช่วยเหลืออย่างเป็นธรรม อย่างที่บอกเป้าหมายทุกคนตั้งไว้ปี 2050 และปี 2065 ทำได้ ไม่ได้อีกเรื่องหนึ่ง ไม่มีใครรู้เพราะอีก 20-30 ปีข้างหน้า รอดูความสำเร็จ เพื่อช่วยทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงเราจะบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน” นายปวิช กล่าว

ทั้งนี้ นายปวิช ยังได้กล่าวถึงแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานให้แก่หน่วยงานสาขาหลักที่เกี่ยวข้อง

net zero

พร้อมทั้งจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่การมีภูมิคุ้มกันและสามารถปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงจัดทำ ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. เพื่อเป็นเครื่องมือและกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกรอบพันธกรณีระหว่างประเทศ และขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในประเทศ โดยมีการกำหนดการพัฒนากลไกทางเศรษฐศาสตร์ อาทิ กลไกคาร์บอน กลไกการเงิน และกลไกการรายงานข้อมูล เป็นต้น

แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ

เป้าหมายระยะสั้น (.. 2566-2570) การเตรียมความพร้อมและวางรากฐานในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการดำเนินการที่ต้องการกลไกการผลักดัน ในระดับนโยบาย

เป้าหมายระยะกลาง (.. 2571-2575) การดำเนินการที่เป็นการพัฒนากลไกและสร้างขีดูความสามารถตามแผนการปรับตัวฯ

เป้าหมายระยะยาว (.. 2576-2580) การดำเนินการตรวจสอบภูมิคุ้มกัน ของสภาพอากาศในการดำเนินการพัฒนาของประเทศ

  • การจัดการทรัพยากรน้ำ : เพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศและ ลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำ
  • เกษตรและความมั่นคงทางอาหาร : รักษาผลิตภาพการผลิต และความมั่นคงทางอาหาร
  • การท่องเที่ยว : เพิ่มขีดความสามารถของ ภาคการท่องเที่ยวให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน
  • สาธารณสุข : มีระบบสาธารณสุขที่สามารถจัดการ ความเสี่ยงและลดผลกระทบ จาก Climate change
  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ : บริหารจัดการทธัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
  • การตั้งถิ่นฐาน และความมั่นคงของมนุษย์ : ประชาชน ชุมชนและเมือง มีความพร้อมและขีดความสามารถในการมรับตัวต่อความเสี่ยง และผลกระทบจาก Climate change

ปวิช

“ฉะนั้นในอนาคตการบรรลุเป้าหมายด้วยกัน ทุกเส้นทางต้องตั้งรับ ปรับตัว มีส่วนร่วมของภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net zero ในอนาคต นโยบายการมีส่วนร่วมการเงินการลงทุน และเทคโนโลยีนวัตกรรม ถือเป็น 4 หัวใจสำคัญที่ขับเคลื่อนไปสู่ Net Zero 2065” นายปวิชกล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo