Environmental Sustainability

กสิกรไทย ฝ่า ‘Climate Game’ สู่ ‘Net Zero’ ปล่อยสินเชื่อสีเขียว หนุนธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กสิกรไทย จับมือทุกภาคส่วน ฝ่า “Climate Game” สู่ “Net Zero” ปล่อยสินเชื่อสีเขียว หนุนภาคธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ดร.วิชัย ณรงค์วณิชย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในหัวข้อ “Thailand Net Zero Target : Readiness and Challenges” ซึ่งเป็นการระดมความคิดภาครัฐ-เอกชน ร่วมตระหนักปัญหาโลกร้อนในการเสวนา “Thailand Net Zero 2024-Now or Never” ในวาระที่สำนักข่าว The Bangkok Insight ก้าวย่างสู่ปีที่ 7

โดยกล่าวว่า Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สร้างผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ โลกธุรกิจกำลังเข้าสู่ยุค Climate Game ที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทำให้สมการธุรกิจเปลี่ยนไป  มูลค่าของธุรกิจจากรายได้ธุรกิจแบบดั้งเดิม จะถูกลดทอนด้วยปัจจัยเชิงลบที่ธุรกิจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากการทำธุรกิจที่ได้ปัจจัยบวกด้านสิ่งแวดล้อม

กสิกรไทย

จับมือฝ่า Climate Game 

และประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม (Transition Risk)  ด้วยกฎระเบียบทางการค้าที่ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน จะทยอยบังคับใช้เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าสินค้าส่งออกไทยราว 40-45%

ธนาคารกสิกรไทยเดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทั้งปรับการดำเนินงานของธนาคารเอง และการสนับสนุนลูกค้าให้พร้อมปรับตัว รับมือ และธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่

ธนาคารปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานของตัวเอง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Net Zero ด้วยมาตรฐานสากล โดยเริ่มมีการพัฒนาระบบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ทั้งการติดตั้ง Solar Rooftop บนอาคารสำนักงาน การเปลี่รถยนต์ที่ใช้ในธุรกิจเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

โดยในปี 2566 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 12.74% เมื่อเทียบปีฐาน 2563 มีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลางทางคาร์บอนมาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง (2561-2566) และตั้งเป้าหมายเป็น Net Zero ภายในปี 2573

กสิกรไทย

ปล่อยสินเชื่อสีเขียว หนุนภาคธุรกิจลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ธนาคารนำความแข็งแกร่งด้านสินเชื่อและเงินลงทุน สนับสนุนภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านอย่างครบวงจร ได้แก่ 1. การให้สินเชื่อด้านสิ่งแวดล้อม (Green Loan) และการให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจในการเปลี่ยนผ่าน (Transition Finance)  2. การจัดสรรเงินลงทุนของธนาคารในธุรกิจและสตาร์ตอัพที่สร้างผลกระทบเชิงบวก 3. การนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนทั้งของธนาคารและพันธมิตรระดับโลกเพื่อดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนไปสนับสนุนธุรกิจที่คำถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG)

โดยธนาคารส่งมอบเม็ดเงินสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 73,397 ล้านบาท (ปี 2565-2566) และคาดว่าจะมียอดรวมเป็น 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2567 นี้ และจะเป็น 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573 ตามเป้าหมาย

โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อม

ธนาคารจึงปรับกลยุทธ์และเร่งสร้างเครื่องมือสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ประกอบการ เป็นโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรโดยอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตร ประกอบด้วย โซลูชันการส่งมอบความรู้และคำแนะนำ (Knowledge Provider) ที่บูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันชั้นนำ การพัฒนาโซลูชันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้าทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ (Reduction Solution)

โดยทดลองออกบริการนำร่องแล้ว ได้แก่ WATT’S UP เป็นแพลต์ฟอร์มรองรับการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร รวมถึงบริการสลับแบตเตอรี่ผ่านจุดบริการ  ปัจจุบัน มีผู้ใช้งาน 367 ราย โดยในปี 2567 คาดว่าจะมีรุ่นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้บริการมากกว่า 10 รุ่น ขยายตู้สลับแบตเตอรี่เป็นกว่า 70 สาขา ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล

กสิกรไทย

และ“ปันไฟ” (Punfai) เป็นแอปพลิเคชันที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พัฒนาแอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนไฟฟ้าแห่งแรกของไทยที่ตอบโจทย์การใช้งานครบทุกมิติ รองรับการใช้งานทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ

นอกจากนี้ ธนาคารนำประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการวัด Carbon Footprint ของธนาคาร มาใช้เพื่อเตรียมพัฒนาโซลูชันใหม่ที่จะช่วยผู้ประกอบการเรื่องการวัดผล รายงาน และตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon MRV)  ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล เพื่อสนับสนุนคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพ และมีความมุ่งหวังที่จะเป็นตัวอย่างและร่วมผลักดันให้ตลาดคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยเติบโตและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

กสิกรไทย

อ่านข่่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo