Environmental Sustainability

‘เกียรติชาย’ มั่นใจ ประเทศเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ได้ก่อนปี 2065

“เกียรติชาย” มั่นใจ ประเทศเดินหน้าสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ได้ก่อนปี 2065 แน่นอน

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Thailand Net Zero Target: Readiness and Challenges” ในงานเสวนา “Thailand Net Zero 2024 – Now or Never” ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักข่าว The Bangkok Insight ฉลองก้าวเข้าสู่ปีที่ 7

Net Zero

นายเกียรติชาย ระบุว่า สำหรับประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30-40% จากการดำเนินการตามปกติ จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งส่วนเชื่อว่า ประเทศไทยจะถึงเป้าหมายก่อนปี 2065 ได้แน่นอน

การที่ประเทศเราแสดงเจตจำนงค์แบบนี้จะช่วยกระตุ้นเรื่องการลงทุนภายในประเทศมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องกลับมาดำเนินการภายในประเทศของเราเอง สำหรับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระยะแรกคือ 20-25% เราอาจจะทำได้ แต่ถ้าเราจะลดการปล่อยให้ได้มากกว่านั้น ก็อาจจะต้องอาศัยการสนับสนุนอนุเคราะห์จากประเทศอื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทุน เทคโนโลยีการเปลี่ยนผ่าน ขณะเดียวกันการจะเป็น Net Zero ได้ก็ต้องได้รับการสนับสนุนเช่นกัน

Net Zero

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ก็ได้มีข้อกำหนดแล้วว่าแต่ละองค์กรที่ขึ้นทะเบียนจะต้องทำรายงานการปล่อยคาร์บอน ความสามารถในการดูดซับคาร์บอนภายในหน่วยงานแต่ละแห่งด้วย แม้แต่การขายของจะต้องมีการประเมินว่ากว่าจะผลิตออกมามีต้นทุนทางทรัพยากรอย่างไร ปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะต้องรายงานเรื่องนี้เช่นกัน ทั้งหมดนี้ อบก. จะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานการประเมิน

ความสำคัญของตลาดคาร์บอนจะมีมากขึ้น จากที่เป็นภาคสมัครใจเฉย ๆ จะต้องกลายเป็น business model เพราะถ้าไม่ทำ แบงค์จะไม่ให้กู้ นักลงทุนไม่ร่วมด้วย และมีต้นทุนรุมเร้าเต็มไปหมดหากยังนิ่งเฉยต่อการปล่อยคาร์บอน และถ้ามีแผนระยะยาวในการลดคาร์บอนลงเรื่อย ๆ ก็จะดูดี นี่คือการอยู่รอดของการทำธุรกิจ ต่อนักลงทุน ต่อผู้ให้กู้ ต่อผู้ซื้อ ถ้าปล่อยเยอะก็อาจจะโดนค่าปรับได้ ตอนนี้ถ้าสายการบินจะบินได้ต้องมีเครดิตมาชดเชยเช่นกัน

Net Zero

“ประเทศญี่ปุ่นเนี่ยกําลังจะใช้กฎหมายเข้มข้น แต่ก็มีภาคสมัครใจแบบนี้แต่ยังไม่เท่าประเทศไทย ตอนนี้มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม กําลังดูแบบของเราว่าเราใช้เครือข่ายเหล่านี้ได้อย่างไร เรื่องการวัด การปล่อยหรือการมีส่วนร่วมสําคัญมาก เมื่อเราวัดแล้วก็จะเริ่มมีปัญหาว่าทําอย่างไรถึงจะลด ถ้าเราลดไม่ได้แล้วมีต้นทุน เราควรจะไปลงทุนในผู้ที่มีโอกาส แต่ไม่มีเงิน อันนี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า คาร์บอนเครดิต คําว่าเกิดขึ้นคือไปสนับสนุนให้คนตัวเล็กตัวน้อยที่มีโอกาสเนี่ยลงทุนในสิ่งที่เป็นโปรเจคดี ๆ ทั้งการลงทุนพลังงานสะอาด การปลูกต้นไม้ หรือการรีไซเคิลขยะ เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK