Telecommunications

ผลควบรวม ทรู-ดีแทค ความเร็ว 5G เพิ่มขึ้น ดูวิดีโอเร็วขึ้น

Opensignal เผยการควบรวม ทรู-ดีแทค ทำให้ความเร็ว 5G เพิ่มขึ้น และมอบประสบการณ์วิดีโอดีขึ้น

ข้อมูลจาก Opensignal แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้ได้สัมผัสกับความเร็ว 5G ที่สูงขึ้นพร้อมได้รับประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่ดียิ่งขึ้น เมื่อเชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ n41 (2.6GHz) และมีผู้ใช้ย่านความถี่นี้กันมากขึ้น ซึ่งเป็นความถี่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการของ DTAC และ TrueMove H ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ดียิ่งขึ้น

ควบรวม ทรู-ดีแทค

การวิเคราะห์ครั้งใหม่นี้ Opensignal ได้เปรียบเทียบประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนบนเครือข่ายมือถือของผู้ให้บริการต่าง ๆ ของประเทศไทยในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนและหลังการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H

ในเดือนมีนาคม 2566 ผู้ใช้เครือข่าย AIS ได้รับประสบการณ์การเชื่อมต่อ 5G ด้วยความเร็วเฉลี่ยสูงสุดด้วยคลื่นความถี่ 42.7 MHz จึงเป็นเครือข่ายที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด

ขณะเดียวกันเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ผู้ใช้เครือข่าย DTAC ได้พบกับความเร็ว 5G ในระดับต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการเครือข่ายอีกสองรายในประเทศไทย

Robert Wyrzykowski Senior Analyst at Opensignal rs
โรเบิร์ต วิซีคอฟสกี้

ทว่าช่วงเวลาของการควบรวมกิจการในเดือนมีนาคม 2566 เราสังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านความเร็วอย่างมีนัยยะของประสบการณ์ต่าง ๆ ของ DTAC เมื่อผู้ใช้เชื่อมต่อผ่านย่านความถี่ 2.6GHz

ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้ย่านความถี่ 5G อยู่สองประเภทคือ ย่านความถี่ n28 (700MHz) และย่านความถี่ n41 (2.6 GHz) โดยแบบแรกจะให้ความถี่ครอบคลุมในช่วงกว้างกว่า และแบบที่สองจะให้ความจุข้อมูลสูงกว่า สิ่งนี้เองที่ทำให้มีปริมาณข้อมูลและความเร็วที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ใช้มือถือ

ขณะที่ AIS และ TrueMove H เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ความถี่ 100 MHz และ 90 MHz ในความถี่ 2.6GHz นั้น DTAC กลับไม่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่ใดในย่านความถี่นี้ ในการประมูลคลื่นความถี่ประจำปี 2563 จึงเป็นผลทำให้สามารถกระจายสัญญาณ 5G ในย่านความถี่ 700 MHz ได้เท่านั้น

ทั้งนี้ เป็นผลให้ค่าเฉลี่ยความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในระดับต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเชื่อมต่อบน AIS และ TrueMove H ประมาณ 30Mbps

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงการสิ้นสุดกระบวนการการควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H

ขณะที่ทั้งสองบริษัทยังไม่ได้ถูกควบรวมให้อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้า True Corp ใหม่อย่างเต็มรูปแบบและการควบรวมเครือข่ายยังคงอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน

เราสังเกตเห็นว่าผู้ใช้ 5G บนเครือข่าย DTAC ในย่านความถี่ 2.6 GHz ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ TrueMove H ในเวลานี้ได้รับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G เป็น 105.7 Mbps ซึ่งมีความเร็วสูงกว่าย่านความถี่ 700 MHz ถึงสามเท่า

Opensignal chart 1

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ ในเดือนมีนาคม 2566 ค่าเฉลี่ยโดยรวมในการดาวน์โหลด 5G ของ DTAC เพิ่มขึ้น 2.8 เท่า หากเทียบกับในเดือนธันวาคม 2565 แล้วนับว่ามีความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 29.6Mbps เป็น 82.1Mbps

สิ่งที่น่าสนใจคือ ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของ TrueMove H บนความถี่ 2.6GHz นั้นลดลงจากในเดือนธันวาคม 2565 ที่ 102.5Mbps เหลือเพียง 83.9Mbps ในเดือนมีนาคม 2566 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้ย่านความถี่ 2.6GHz ร่วมกันของทั้งสองบริษัท

นอกจากนี้ ยังพบว่าแบนด์วิธคลื่นความถี่ 5G โดยเฉลี่ยของเครือข่าย DTAC เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 19.5MHz ในเดือนธันวาคม 2565 เป็น 22.9MHz ในเดือนมีนาคมซึ่งเพิ่มขึ้น 3.4MHz (17.1%) นับตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นมา

Opensignal chart 2

เมื่อพิจารณาสัดส่วนของการเปลี่ยนแปลงของ 5G ต่อย่านความถี่ในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ของผู้ให้บริการเครือข่ายต่าง ๆ แล้ว พบว่าเครือข่าย DTAC มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเปลี่ยนจากความถี่ 700MHz (n28) เป็น 2.6 GHz (n41)

ขณะที่ในเดือนธันวาคม 2565 นั้น DTAC ยังคงใช้คลื่นความถี่ 700MHz ให้บริการ 5G แต่ในเดือนมีนาคม 2566 ในการอ่านค่า 5G ของเครือข่าย DTAC พบว่ามีการให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.6GHz เพิ่มขึ้นเกือบ 80%

ส่วนเครือข่าย AIS และ TrueMove H สัดส่วนของ 5G ในคลื่นความถี่ 700MHz ยังคงเป็นไปอย่างปรกติทั้งในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนมีนาคม 2566 ซึ่งอยู่ในช่วง 8.6% และ 15.2% ตามลำดับ

แบนด์วิธความถี่ที่เพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่ทำให้ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพการบริการมือถือในด้านอื่น ๆ อีกด้วย

Opensignal chart 3

Opensignal ได้วิเคราะห์คะแนนด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G ตามคลื่นความถี่ 5G ที่ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยใช้เป็นหลัก พบว่าการเชื่อมต่อ 5G บนย่านความถี่ 2.6MHz ทำให้ผู้ใช้ 5G ชาวไทยได้รับประสบการณ์วิดีโอที่ดีกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่ 700MHz ด้วยค่าคะแนนที่แตกต่างกันในเดือนมีนาคม 2566 ในช่วงคะแนน 2.9 และ 3.2 สำหรับ DTAC และ TrueMove H ตามลำดับ และ 6 คะแนนสำหรับ AIS

เช่นเดียวกับด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ในเดือนธันวาคม 2565 Opensignal ยังไม่พบการให้บริการ 5G บนย่านความถี่ 2.6GHz ของ DTAC แต่เดือนมีนาคม 2566 เราพบว่ามีการเชื่อมต่อ 5G บนเครือข่าย DTAC บนย่านความถี่นี้ และยังได้รับคะแนนประสบการณ์วิดีโอ 5G ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการเชื่อมต่อบนย่านความถี่ 700MHz

AIS ครองรางวัลในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทยจาก Opensignal ที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 และ พฤศจิกายน 2565 โดยคว้ารางวัลชนะเลิศด้านความเร็ว 5G และรางวัลด้านประสบการณ์ทั้งหมด

ส่วน DTAC และ TrueMove H จากกรณีการควบรวมกิจการที่ทำให้มีกรรมสิทธิ์ในคลื่นความถี่และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนฐานผู้ใช้ที่มากขึ้น ทำให้บริษัทกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของ AIS ในด้านประสบการณ์เครือข่ายมือถือ

ข้อมูลจาก: โรเบิร์ต วิซีคอฟสกี้ นักวิเคราะห์อาวุโส Opensignal

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo