COLUMNISTS

ส่องกลยุทธ์อสังหาฯ แก้เกม ‘Reject Rate’

Avatar photo
กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ จำกัด (Property DNA)

จับตากลยุทธ์ผู้ประกอบการอสังหาฯ เร่งแก้เกม Reject Rate ผลจากกำลังซื้อลด หวังเร่งปิดการขาย-โอนกรรมสิทธิ์สำเร็จ

อสังหาฯ

ปัญหาเรื่องของกำลังซื้อที่ลดลง และปัญหาเรื่องของการขอสินเชื่อธนาคาร ซึ่งมีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อค่อนข้างสูงโดยอยู่ในช่วงระหว่าง 60-70% และเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ผู้ประกอบการต่างก็เร่งหาวิธีการแก้ไขปัญหานี้

ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการหลายราย พยายามออกมาตรการ หรือนโยบายภายในบริษัท เพื่อเข้ามาช่วยเหลือผู้ซื้อโครงการของตนเอง ให้สามารถโอนกรรมสิทธิ์ หรือปิดการขายโครงการของตนเองได้แบบรวดเร็ว หรือภายในระยะเวลาที่ผู้ประกอบการยอมรับ และเป็นการผูกมัดผู้ซื้อหรือผู้ที่เข่าร่วมมาตรการของบริษัทต้องอยู่กับบริษัทไปต่อเนื่องจนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ ซึ่งมาตรการของแต่ละบริษัทที่ประกาศออกมาในช่วงที่ผ่านมามีทิศทางหรือเป็นไปในลักษณะคล้าย ๆ กัน ตัวอย่างเช่น

เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น มี 2 วิธี คือ การทำธุรกิจแบบการคิดค่าบริการหรือค่าสมาชิกทั้งแบบรายเดือนและรายปีเพื่อใช้สินค้า และบริการของบริษัท อาจจะมาเช่าโครงการของบริษัทอยู่

อีก 1 วิธี คือ เช่าโครงการของบริษัทและเปลี่ยนเงินค่าเช่าเป็นเงินผ่อนหลังจากที่เช่าอยู่ 1 – 2 ปี หรือเมื่อพร้อมซื้อคอนโดมิเนียมดังกล่าวเพื่อเป็นทรัพย์สินของตัวเอง โดยทั้ง 2 วิธีใช้ได้กับที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาทของบริษัท

เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ ให้ลูกค้าทุกกลุ่มเช่าอยู่ก่อน 3 ปี และเมื่อพร้อมก็สามารถเปลี่ยนค่าเช่าเป็นเงินดาวน์ได้ เสนาฯ ยังมีแคมเปญเงินสดใจดีเข้ามาช่วยด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยมีการตรวจสอบฐานะทางการเงินแบบเดียวกับสถาบันการเงิน รายละเอียดในเรื่องอื่น ๆ ยังไม่ชัดเจน ณ ตอนนี้

shutterstock 1616528914

แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ ให้ลูกค้าที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อสามารถยื่นเรื่องผ่อนดาวน์กับแอล.พี.เอ็น.ได้โดยทำสัญญาปีต่อปีแต่รวมแล้วไม่เกิน 2 ปี โดยลูกค้าย้ายเข้าอยู่ได้ทันทีสำหรับโครงการที่อยู่อาศัยพร้อมอยู่ที่เข้าร่วมแคมเปญดังกล่าว แต่ต้องเป็นที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท

หรือถ้าสถาบันการเงินอนุมัติสินเชื่อมาไม่ครอบคลุมมูลค่าที่อยู่อาศัย สามารถมากู้กับบริษัทได้โดยมีอัตราดอกเบี้ย 6% ต่อปีและผ่อนได้สูงสุดไม่เกิน 24 เดือน

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ มีการตั้งคลินิกแก้หนี้เพื่อช่วยและให้คำแนะนำกับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านของบริษัท และต้องการสินเชื่อธนาคาร นอกจากนี้ ลลิลฯ ยังมีการยืดระยะเวลาในการผ่อนดาวน์บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้นานขึ้นเพื่อให้ผู้ซื้อผ่อนกับบริษัทไปก่อนที่จะ

กานดา พร็อพเพอร์ตี้ มีแคมเปญช่วยผ่อนบ้านเป็นระยะเวลา 1-2 ปี ให้กับผู้ซื้อที่โอนกรรมสิทธิ์เพื่อลดภาระดอกเบี้ย นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าโอน ค่าส่วนกลาง ฯลฯ กานดาฯ จ่ายให้หมด

ไม่ว่าจะเป็นมาตรการอะไร หรือออกมาโดยผู้ประกอบการรายใด ล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เดียว คือให้สามารถปิดการขายได้ และผู้ซื้อสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ภายหลัง และแม้ว่าจะเป็นมาตรการที่ผู้ประกอบบการให้ความช่วยเหลือ หรือผ่อนชำระกับผู้ประกอบการโดยตรงไปก่อน แต่สุดท้ายแล้วก็ยังคงต้องใช้วงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินเข้ามาใช้เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยอยู่ดี

ดังนั้น ไม่ว่ามาตรการจะออกมาแล้วประสบความสำเร็จเพียงใด แต่ถ้าสถาบันการเงินยังเข้มงวดแบบที่ผ่านมาก็อาจจะยากในการโอนกรรมสิทธิ์

บทความโดย สุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ จำกัด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่