COLUMNISTS

เครื่องทุ่นแรงทางอากาศ

Avatar photo
วีระพันธ์ โตมีบุญ อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการข่าวเว็บไซต์ และคอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
อดีตบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการข่าวเว็บไซต์ และคอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครื่องทุ่นแรงทางอากาศ

โดรน ซึ่งประกาศกระทรวงคมนาคมเรียก ”อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” ปัจุบันเป็นเครื่องมือสำคัญทางการเกษตร ผู้ช่วยงานพ่นเคมีการเกษตรแทนแรงงานคนซึ่งขาดแคลนอย่างที่ทราบกัน

แต่ก็แลกด้วยต้นทุนค่าจ้างบิน คนที่ลงทุนซื้อเครื่องมาใช้เองหรือหวังจะรับงาน แต่พลาดท่า ทำเครื่องตก ระบบขัดข้อง ก็ต้องเจอค่าซ่อม ค่าอะไหล่ อ่วมไป

เครื่องทุ่นแรงทางอากาศ

สมาคมเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ โดยทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) เข้ามาร่วมจัดการแบบยั่งยืน จัดโดรนให้หน่วยงาน องค์กรน่าเชื่อถือ เช่นโครงการร้อยใจรักษ์ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง หรือสถาบันการศึกษา ให้บริการกับเกษตรกร พร้อมกับฝึกสอนการควบคุมเพื่อรับงานจากชาวบ้าน คิดค่าใช้จ่ายถูกๆ เช่น 100บาท พร้อมกับการฝึกบิน สอนการซ่อม การปรับซอฟต์แวร์ให้แก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องพึ่งช่าง

เครื่องทุ่นแรงทางอากาศ

ภาคเหนือมีที่จังหวัดเชียงราย ภาคใต้ให้วิทยาลัยการอาชีพหลังสวน

ผลออกมาน่าชื่นใจ บินขึ้นโปรยเคมีการเกษตรถึงยอดกิ่งทุเรียนได้ แค่ 20 นาที ฉีดพ่นได้ 50 ต้น เทียบกับที่เคยจ้างคนพ่นทั้งวัน ได้ 20 ต้น

พิสิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมบอก จังหวัดชุมพร ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบสำคัญ เพราะมีการปลูกพืชสวนเป็นไม้สูงบนเขา โดยเฉพาะทุเรียนมีผู้ปลูกมากถึง 24,000 ราย โดรนที่นำมาใช้เป็นขนาดใหญ่ จัดให้ภาคละ 4 ลำ พัฒนาด้วยเยาวชนไทยในสังกัดสมาคม มีเรดาร์ป้องกันการชน ติดตั้งถังบรรจุและระบบโปรยหว่านเมล็ดพันธุ์และเคมีการเกษตรที่จำเป็น

เครื่องทุ่นแรงทางอากาศ

เป็นการนำเอางานวิจัย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ฝีมือคนไทยทั้งลำตัวโดรนและซอฟต์แวร์ ชิ้นส่วนอะไหล่ ให้บริการกับเกษตรกรที่ต้องปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี โดยให้สถาบันการศึกษาเป็นแม่ไก่ พัฒนาลูกหลานเกษตรกรที่สนใจ ฝึกบิน ที่เป็นอาชีพได้ด้วยเครื่องที่จัดไว้ให้

เป็นการพัฒนาสร้างอาชีพรองรับสมาร์ตฟาร์มเมอร์ด้วยคนในชุมชนล้วนๆ

This slideshow requires JavaScript.

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่