COLUMNISTS

บอกลาความเครียด ลดความเสี่ยง ‘โรคความดันโลหิต’

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ

ความเครียดเป็นเรื่องของจิตใจ แล้วเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตได้อย่างไร? บอกลาความเครียด ลดความเสี่ยง “โรคความดันโลหิต”

หลายคนสงสัยหรือไม่ ความเครียดเป็นเรื่องของจิตใจ แล้วเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตได้อย่างไร เมื่อมีภาวะความเครียดสะสมเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลงแล้วเสี่ยงต่อการป่วยโรคต่าง ๆ แล้วภาวะความเครียดอาจกลายเป็นภาวะซึมเศร้าหรือทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งอาการที่น่าเป็นห่วงอย่างมากไม่ต่างจากโรคความดันโลหิตเลย ซึ่งจะส่งผลให้มีอาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และความคิด และกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก

ความดันโลหิต

ความเครียดคืออะไร? ทำไมนำไปสู่โรคความดันโลหิต

ความเครียดเกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคความดันโลหิต เพราะเมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน คอทิซอล (Cortisol) และอะดรินาลีน (Adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดมากขึ้น ผนังหลอดเลือดหดเกร็งขึ้น ทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้นในช่วงที่เกิดความเครียด ยิ่งถ้าเป็นโรคหัวใจ หรือหลอดเลือดสมองด้วยอยู่แล้ว การที่เลือดสูบฉีดเร็วขึ้น แรงขึ้นจะส่งผลให้อาการของโรคกำเริบขึ้นมาส่งผลเสียต่อร่างกายได้

ความเครียด เป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นสภาพจิตใจทางด้านลบ ทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ ตื่นกลัว วิตกกังวล เป็นสิ่งหนึ่งที่ร่างกายตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้มีการตอบสนองต่อเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามากระทบร่างกายทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยความเครียดมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้

ความดันโลหิต

  • ความเครียดเฉียบพลัน (Acute stress)

ความเครียดที่เกิดขึ้นและร่างกายก็ตอบสนองทันที โดยร่างกายจะกระตุ้นระบบต่างๆให้ทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมถึงระบบการเผลาผลาญจึงมีการใช้วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ และมีการหลั่งสารคอร์ติซอล เพื่อใช้ในการปรับสมดุลสภาวะเครียดที่เกิดขึ้น

  • ความเครียดเรื้อรัง (Chronic stress)

เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นและร่างกายไม่สามารถตอบสนองหรือแสดงออกต่อความเครียดนั้นได้ทันทีแล้ว เมื่อความเครียดสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสารคอร์ติซอลก็สะสมในร่างกาย ส่งผลต่อสภาวะการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมในระยะยาว นอกจากสภาวะทางร่างกายและจิตใจแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันก็ทำงานลดน้อยลง ทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมาได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม เมื่อหายเครียด ความดันก็จะลดลงแต่ทราบหรือไม่ว่า ความเครียดส่งผลกับร่างกายนอกจากความดันอีกด้วยเช่น โรคไมเกรน โรคปวดหลัง หรือแม้กระทั่งสามารถทำให้คนฆ่าตัวตายเลยก็ได้ ดังนั้นต้องรู้จักจัดการกับความเครียด เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อร่างกายจนกระทบต่อการดำเนินชีวิต

ความดันโลหิต

5 โรคร้ายที่เกิดจากความเครียด!

1. โรคความดันโลหิตสูง

จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่มีความวิตกกังวลหรืออยู่ในภาวะเครียด มีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า โดยภาวะเครียดจากการทำงานจะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจช่องซ้ายโตอีกด้วย

2. โรคหัวใจ

ความเครียดฉับพลันมีผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจและมีผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมาได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่แล้วมีโอกาสหัวใจวายได้สูงขึ้นกว่าปกติ

3. ไมเกรน

เป็นอาการปวดหัวเรื้อรังชนิดหนึ่ง โดยจะมีอาการปวดหัวข้างเดียวหรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วค่อยปวดทั้ง 2 ข้าง มักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง ความเครียดส่งผลให้สารซีโรโทนินในสมองพร่องไป การขาดซีโรโทนินจะทำให้หลอดเลือดเกิดพองขยายและหดตัวมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

4. โรคนอนไม่หลับ

เครียดนอนไม่หลับมักพบมากในช่วงวัยทำงาน เพราะได้รับความกดดันจากการทำงานและสภาพแวดล้อมที่พบเจอ จนเกิดภาวะความเครียดสะสม เป็นผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ร่างกายเริ่มอ่อนล้า อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ จิตใจเกิดความกังวลหรือมีผลต่อการคิดการตัดสินใจและการทำงานในช่วงกลางวัน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้ร่างกายทรุดหนัก

5. เครียดลงกระเพาะ

เมื่อความเครียดสะสมเป็นเวลานาน เป็นเหมือนตัวจุดชนวนร่างกายกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมามากกว่าปกติ จึงทำให้มีอาการท้องผูก ท้องอืด ลำไส้แปรปรวน และสามารถเป็นกรดไหลย้อนได้

ความดันโลหิต

ผลกระทบจากความเครียดที่เกิดขึ้น

เมื่อภาวะเครียดเกิดขึ้นจะกระตุ้นระบบประสาทโดยอัตโนมัติ เมื่อตกอยู่ในความเครียดเป็นเวลานาน จะทำให้สุขภาพร่างกายแย่ลง เนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมน ซึ่งเป็นชีวเคมีที่สำคัญต่อมนุษย์ เพราะทำหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ภายใน ขณะเกิดความเครียดจะทำให้ต่อมใต้ถูกกระตุ้น ต่อมหมวกไตหลั่ง ‘ฮอร์โมนคอร์ติซอล’ (cortisol) เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดอาการทางกายหลายอย่างแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตั้งแต่ปวดศีรษะ ปวดหลัง อ่อนเพลีย โดยภาวะความเครียดสามารถเกิดขึ้นได้หลายด้าน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่กำลังพบเจออยู่ในขณะนั้น

  • ทางด้านร่างกาย เกี่ยวกับสุขภาพ การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงก็สามารถทำให้เกิดความเครียดได้ เช่น การได้รับบาดเจ็บ หกล้ม ทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ทางด้านจิตใจ เช่น ผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง ทำงานภายใต้ภาวะความกดดัน การเริ่มเข้าทำงาน การเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง แม้แต่ช่วงวัยเรียนอย่างการสอบแข่งขันเข้าเรียน เหตุการณ์เหล่านี้จะกระตุ้นทำให้เกิดความเครียดได้ง่าย หรือเป็นผู้ที่วิตกกังวลง่าย ขาดทักษะในการปรับตัว
  • ทางด้านสังคม มีสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความบกพร่องในเรื่องของการปรับตัว ขาดผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือ เกิดความขัดแย้งในครอบครัว ทะเลาะเบาะแว้งกับคนอื่นเป็นปกติวิสัย มีสิ่งมากระตุ้นมากเกินความสามารถของตนเอง เช่น ระบบเศรษฐกิจ
  • ทางด้านสภาพแวดล้อม เป็นสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปที่พบเจอขณะนั้น เช่น เสียงดังเกินไป จากเครื่องจักร เครื่องยนต์ อากาศเสียจากควันท่อไอเสีย น้ำเสีย ฝุ่น ละออง ยาฆ่าแมลง การอยู่กันอย่างเบียดเสียด ยัดเยียดเป็นต้น

ลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตได้ด้วยการไม่เครียด

จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ชัดเลยว่าความเครียดส่งผลร้ายต่อร่างกาย ซึ่งนำไปสู่โรคความดันโลหิตโดยตรง ดังนั้นควรลองหากิจกรรมที่ช่วยเติมความสุขให้กับตัวเอง เช่น ออกกำลังกาย ทานอาหาร อร่อย ๆ ออกไปเที่ยวบ้าง หรือสังสรรค์กับเพื่อน เพราะร่างกายจะหลั่งสารความสุขออกมาเพื่อบอกลาความเครียดให้หมดไปหรือลดลงได้นั่นเอง

อ่านข่าวเพิ่มเติม