COLUMNISTS

‘โรคอ้วน’ ในผู้สูงอายุต้องจัดการอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ!

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ

“โรคอ้วนในผู้สูงอายุ” ป้องกันได้! โรคอ้วนในผู้สูงอายุต้องจัดการอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ!

โรคอ้วนในผู้สูงอายุ เป็นสภาวะที่ปล่อยให้ตัวเอง มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิต ขาดการออกกำลังกายและทำงานอย่างต่อเนื่อง ปัญหาโรคอ้วนจึงเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อกระทบต่อหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีการเสื่อมของอวัยวะในส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายสูง มีระบบการเผาผลาญที่มีประสิทธิภาพลดน้อยลง

โรคอ้วนในผู้สูงอายุ

ยิ่งไปกว่านั้น! ผู้สูงอายุคือวัยเกษียณที่ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยใส่ใจหรือคำนึงถึงรูปร่างของตัวเอง และมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมถึงการรับประทานอาหารในรูปแบบที่เคยชินและใช้กันมาตลอดระยะเวลาก่อนวัยสูงอายุหรือวัยเกษียณ เช่น ไม่ออกกำลังกาย นอนดึก และมีปัญหาโรคภัยแทรกซ้อนอีกด้วย

โรคอ้วนในผู้สูงอายุ เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนในอนาคต

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงอยู่ในสภาวะโรคอ้วน สังเกตได้จากรอบเอวที่มีมากเกินไป หรือใส่เสื้อผ้าขนาดโอเวอร์ไซส์ มีความเสี่ยงต่อโรคชนิดต่างๆ ที่สามารถแทรกซ้อนได้ตลอดเวลา เนื่องจากมีปริมาณของความดันของโลหิตสูงถึง 130 ต่อ 85 มิลลิเมตรปรอท หรือมีระดับไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนชนิดอื่นๆ ได้ เรามาดูกันว่าความเสี่ยงของโรคอ้วนไงผู้สูงอายุสามารถทำให้มีโรคแทรกซ้อน ชนิดใดบ้าง

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • ไขข้ออักเสบและไขข้อเสื่อม รวมถึงโรคเก๊าท์ด้วย
  • ไขมันพอกตับโรคกระดูกพรุน
  • มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะและระบบขับถ่าย และอื่นๆอีกมากมาย

การควบคุมน้ำหนักและพฤติกรรมการกินของผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญต่อความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนในผู้สูงอายุ และเรามาดูกันว่าการป้องกันโรคอ้วนในผู้สูงอายุ ต้องจัดการยังไง บทความนี้มีคำตอบ

โรคอ้วนในผู้สูงอายุ
 

1. เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลดการดื่มแอลกอฮอล์

การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการห่างไกลจากการดื่มแอลกอฮอล์,ไม่สูบบุหรี่และไม่นอนดึกเป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำกิจกรรมแบบนี้ให้ลดน้อยลง สามารถช่วยการลดปริมาณของแอลกอฮอล์ ป้องกันไม่ให้เข้าไปกระตุ้นระบบสมอง และระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานได้ผิดปกติ สามารถช่วยลดในเรื่องความดันในโลหิตสูงและมีผลต่อสภาวะโรคอ้วนได้ดี

2. ลูกหลานพาผู้สูงอายุทำกิจกรรมลดน้ำหนัก

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ลูกหลานจะต้องพาผู้สูงอายุทำอย่างสม่ำเสมอ นอกจากช่วยให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีและยังเป็นที่ให้กำลังใจแก่ผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ด้วยวิธีการออกกำลังกายแบบเบาๆเช่น การเดิน,การวิ่งจ๊อกกิ้ง,การเดินเร็ว,แกว่งแขน,และการเล่นกีฬาเปตองเป็นต้น

3. ผู้สูงอายุควรลดน้ำหนักอย่างจริงจัง

การป้องกันโรคอ้วนในผู้สูงอายุวิธีที่สำคัญคือต้องมีจิตใจรักในสุขภาพและหุ่นของผู้สูงอายุอีกด้วย เหตุการณ์ลดน้ำหนักแบบจริงจัง และต้องการไม่ให้น้ำหนักสูงเกินกว่าเกณฑ์ของผู้สูงอายุทั่วไปได้ เพื่อสุขภาพที่ดีป้องกันปัญหาโรคอ้วนในผู้สูงอายุ

โรคอ้วนในผู้สูงอายุ

4. รับประทานอาหารให้พอเหมาะ

การใส่ใจในการรับประทานอาหาร และควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ หรือไม่ควรกินมากเกินไป การรับประทานอาหารจึงมีส่วนสำคัญต่อโรคอ้วนโดยเฉพาะการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์กินปริมาณมากเกินไป เช่นงานปาร์ตี้สังสรรค์,กินกับแกล้ม,และน้ำอัดลมทุกชนิดเป็นต้น แต่ควรหันมารับประทาน อาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้นเช่น ไข่ต้ม,เนื้อปลา,นมสดพร่องมันเนย,ผักต้มชนิดต่างๆ,ผลไม้ชนิดต่างๆ,และกล้วยสุก เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ร่างกายเกินความต้องการ หากระบบขับถ่ายเสื่อมลงจะทำให้เกิดการตกค้างภายในร่างกายและเป็นโรคอ้วนได้อย่างรวดเร็ว

5. ลดสภาวะความเครียด

สภาวะความเครียดในผู้สูงอายุ เกิดจากข้อกังวลต่างๆของผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นในเรื่องปกติในวัยนี้ การทำกิจกรรมบางอย่างที่ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสภาวะเครียดลดน้อยลงสามารถทำได้ เช่น การพูดคุยกับเพื่อนเก่า,พาไปเยี่ยมญาติ,การรวมตัวของลูกหลาน,และพาไปเที่ยวระลึกความทรงจำเป็นต้น สภาวะความเครียดในผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดสภาวะโรคอ้วนในผู้สูงอายุด้วย เพราะในร่างกายจะหลั่งสารบางอย่างทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปกติ เกิดเป็นโรคอ้วนในผู้สูงอายุได้

6. อาหารเสริมบางชนิด

การเตรียมอาหารเสริมบางชนิดหรืออาหารเสริมช่วยลดน้ำหนักให้กับผู้สูงอายุเป็นการช่วยในเรื่องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินโดยมีอาหารเสริมช่วยลดน้ำหนักสำหรับผู้สูงอายุเช่น อาหารเสริมที่มีจุลินทรีย์ช่วยในการขับถ่ายสูง,และอาหารเสริมที่มีไขมันตัวดีสูงเป็นต้น

สามารถใช้เทคนิคเหล่านี้เป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุภายในบ้านได้ โดยเฉพาะการงดรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น อาหาร Fast food, และอาหารที่มีไขมันเลวปริมาณมาก และไขมันทั้งหลายเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่การดูแลและป้องกันที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้สูงอายุมีโรคอ้วนคือการพาผู้สูงอายุไปออกกำลังกาย มีการจัดเตรียมโภชนาการให้ถูกต้องและครบตามความต้องการของวัยผู้สูงอายุ ตลอดจนช่วยให้ท่านนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างสม่ำเสมอด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม