Business

ไม่เห็นด้วย ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท สภาองค์การนายจ้างฯ ขอรัฐ พิจารณาตามจริงและเหมาะสม

 สภาองค์การนายจ้างฯ ไม่เห็นด้วย ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาททั่วประเทศ ยื่นหนังสือ ให้รัฐบาล เร่งพิจารณาตามความเป็นจริงและเหมาะสม

วันนี้ (29 เม.ย.) ดร.ทวีเกียรติ รองสวัสดิ์ ประธาน สภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ นำตัวแทนจาก สภาองค์การนายจ้างฯ สภาอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีแห่งประเทศไทย สภาองค์การนายจ้างธุรกิจการค้าและบริการไทย สภาองค์การนายจ้างธุรกิจและอุตสาหกรรมแห่งชาติ และสมาคมนายจ้าง 40 – 50 สมาคม เข้าพบ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อยื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรี เร่งรัดพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำตามความเป็นจริงและเหมาะสม ซึ่งไม่เห็นด้วยที่จะขึ้นจาก 331 บาทเป็น 492 บาททั่วประเทศ

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ต้องหารือ 3 ฝ่ายอย่างรอบคอบ

นายสุชาติ กล่าวว่า การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละครั้งนั้น มีคณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดค่าจ้าง ซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรไตรภาคีทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง พิจารณาและปรึกษาหารืออย่างรอบคอบ ก่อนจะได้ข้อยุติร่วมกัน แม้ว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบัน มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 จนถึงปัจจุบันแล้ว

ทั้งนี้ ในปี 2565 คณะกรรมการค่าจ้าง ได้กำหนดแผนการทบทวนความเหมาะสมของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอน การให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดประชุมเพื่อพิจารณาทบทวนความเหมาะสม ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปแต่อย่างใด จากนั้นคณะกรรมการค่าจ้างจะพิจารณาข้อมูลทั้งหมด ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2565

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ไม่เห็นด้วยขึ้นค่าแรงช่วงนี้ 

สภาองค์การนายจ้างฯ มีมติ ยังไม่เห็นด้วยที่จะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในช่วงนี้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ผู้ประกอบการนายจ้างบางประเภท ต้องหยุดกิจการชั่วคราว แรงงานขาดแคลน ซึ่งสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่ดีขึ้น กลุ่มนักท่องเที่ยวยังไม่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศเต็มรูปแบบ ตลอดจนสถานการณ์สู้รบของประเทศเพื่อนบ้าน และสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครน รัสเซียยังไม่นิ่ง

ดร.ทวีเกียรติ ยังกล่าวอีกว่า กรณีจะขึ้นค่าแรง ขั้นต่ำ จึงขอให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนด เนื่องจากสภาองค์การนายจ้าง และสมาคมนายจ้าง ยังไม่เห็นสมควรขึ้นในช่วงนี้ และเห็นสมควรให้คณะกรรมการไตรภาคี โดยฝ่ายภาครัฐเป็นผู้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ เพราะมีเครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo