Business

รอลุ้น! ‘สุชาติ’ เร่งศึกษาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ- แรงงานขอเพิ่ม 492 บาททั่วประเทศ

ค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้ใช้แรงงานเตรียมเฮ! l “สุชาติ” สั่งปลัดกระทรวงแรงงาน เร่งศึกษาโครงสร้างปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เครือข่ายแรงงานขอเพิ่ม 492 บาททั้งประเทศ พร้อมให้กรมสวัสดิการฯ สอบข้อเท็จจริงลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์  ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม  

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงาน พร้อมนายสาวิทย์ แก้วหวาน ตัวแทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และคณะ หารือความคืบหน้าการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และแนวทางการช่วยเหลือลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม โดยมีนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วม

ค่าจ้างขั้นต่ำ

ค่าจ้างขั้นต่ำ เร่งศึกษาโครงการ

นายสุชาติ กล่าวว่าจากการหารือตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์แรงงานกิจสัมพันธ์ (สรส.)ได้ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลประกาศปรับค่าจ้างนั้น ตนได้ให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ไปพิจารณาศึกษาในรายละเอียด ถึงการจัดทำโครงสร้างอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ว่ามีความเหมาะสม หรือเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนแนวทางการช่วยเหลือลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ ที่ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นกรณีเร่งด่วน ตนได้ได้ให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อให้การช่วยเหลือตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกคน ทุกกลุ่มจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19  ที่ผ่านมา รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ให้ความช่วยเหลือเยียวยาในมาตรการต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ภาคแรงงานและผู้ประกอบการอยู่ได้ และภาคธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ โดยมีมาตรการสำคัญๆ ทั้งด้านการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ตรวจคัดกรองโรคโควิดเชิงรุก ภายใต้โครงการ “แรงงาน…เราสู้ด้วยกัน” โครงการ Factory Sandbox การฉีดวัคซีนผู้ประกันตนมาตรา 33 การให้บริการทางการแพทย์รักษาโควิด-19 แก่ผู้ประกันตน การจัดหาเตียง Hospitel และด้านการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตามโครงการ ม33 เรารักกัน

ค่าจ้างขั้นต่ำ

โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33, 39 และ 40 เยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ โดยนำเข้าแรงงาน MOU ภายใต้สถานการการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ตัวแทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่าได้หารือการขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และแนวทางการช่วยเหลือลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม  ต้องขอให้กำลังใจ นายกรัฐมนตรี และชื่นชมนายสุชาติ  ที่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องผู้ใช้แรงงานจากผลกระทบโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา

ค่าจ้างขั้นต่ำ

อย่างไรก็ตาม  คสรท. และสรส. ได้ยื่นข้อเสนอให้แก่รัฐบาลแก้ไขปัญหา เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ขอให้รัฐบาลประกาศปรับค่าจ้าง พร้อมควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงเกินไป สร้างหลักประกันการทำงาน แต่รัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

ค่าจ้างขั้นต่ำขอ 492 บาทเท่ากันทั้งประเทศ 

ดังนั้นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศปรับค่าจ้างขั้นต่ำ โดยค่าจ้างที่เสนอในปีนี้เป็นตัวเลข และข้อมูลที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ได้สำรวจจากคนงานในพื้นที่ต่าง ๆ ครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศประมาณ 3,000 คน ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายรายวันที่เป็นค่าอาหาร 3 มื้อ ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายรายเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าเลี้ยงดูครอบครัว บุพการี เป็นตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่วัน 492 บาทเท่ากันทั้งประเทศ และให้รัฐบาลประกาศโครงสร้างค่าจ้างเพื่อสะท้อนการปรับค่าจ้างในแต่ละปีอย่างเป็นระบบ

Capture.JPG88 e1643037592182

ส่วนที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มผู้ใช้แรงงานในนามของ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงรัฐบาลเพื่อขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 492 บาทเท่ากันทั่วประเทศ โดยหนังสือระบุว่าราคาสินค้าอุปโภค บริโภค สาธารณูปโภค สาธารณูปการได้ปรับราคาสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของพี่น้องคนงานและประชาชนทุกสาขาอาชีพ หมู ไก่ ไข่ เนื้อ ข้าวสาร น้ำมันพืช ก๊าซหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าพาหนะเดินทาง ค่าทางด่วน  เกือบทุกรายการ และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  รัฐบาลได้มีนโยบาย ให้หน่วยงานของรัฐ เอกชน ปรับวิธีการทำงานโดยพนักงาน ลูกจ้าง ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวนมากทำงานที่บ้าน (Work from Home) และให้นักเรียน นักศึกษาเรียนออนไลน์ ทำให้ภาระทั้งหมดไปตกที่ประชาชน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight