Business

เงินเฟ้อ คืออะไร มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร?? หาคำตอบที่นี่

เงินเฟ้อ คืออะไร มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร??

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้ออกมาประกาศว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ เป็นอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปี นับจาก 2551 และทิศทางเงินเฟ้อจากนี้มีโอกาสยังสูงได้อีก 4-5% หากราคาน้ำมันสูงต่อเนื่อง และสูงเฉลี่ยเกิน 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพราะน้ำมันเป็นสัดส่วน 62.26% ในการคำนวณเงินเฟ้อ บวกกับภาวะราคาสินค้าที่เอกชนส่งสัญญาณจะปรับขึ้น เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ยังมาบ่งชี้หรือเป็นเหตุเดียวที่ระบุมาจากค่าครองชีพ เนื่องจากราคาน้ำมันและธัญพืชสูงหลังจากเหตุการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน

เงินเฟ้อ คืออะไร

เงินเฟ้อ คืออะไร

ทำให้หลายคนสงสัยว่า เงินเฟ้อ คืออะไร และส่งผลกระทบอะไรต่อประชาชนอย่างเราบ้าง

ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหาก เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน

ทั้งนี้ จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ คือ 1. กระทรวงพาณิชย์ และ 2. ธนาคารแห่งประเทศไทย

  1. กระทรวงพาณิชย์

ส่วนหนึ่งคือการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสหรือเอาเปรียบผู้บริโภค หรือตรึงราคาไว้ในช่วงที่สินค้าขาดแคลนระยะสั้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ติดตามรวบรวมข้อมูลราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำทุกวันจากตลาดและแหล่งจำหน่ายต่างๆทั่วประเทศ นำมาคำนวณจัดทาเป็นดัชนี ที่เรียกว่า ‘ดัชนีราคาผู้บริโภค’ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภาวะเงินเฟ้อ สามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัดนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อ

  1. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ดeเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า ‘อัตราดอกเบี้ยนโยบาย’ เพื่อดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่าและไม่ผันผวน ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และความกินดีอยู่ดีของประชาชน

เงินเฟ้อ คืออะไร

เงินเฟ้อเกิดจากอะไร

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ

  1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า Demand – Pull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการนั้นๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ทใeห้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
  2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost – Push Inflation) กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย

ผลกระทบจากเงินเฟ้อ

ผลกระทบต่อประชาชน

  • รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทาให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ปกติเงิน 100 บาท เราสามารถซื้อของได้ 3 ชิ้น แต่เกิดเงินเฟื้อ จะทำให้เราซื้อสินได้ได้เพียง 2 ชิ้น
  • อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า ‘อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง’ จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง

ยกตัวอย่างกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี แต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี เท่านั้น แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ – 0.5 ต่อปี ซึ่งถือว่ากำลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง

การฝากเงินทำให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบ ทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจทำให้เกิดเป็นภาระหนี้สินได้

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ/นักธุรกิจ

  • เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น
  • ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ

ผลกระทบต่อประเทศ

  • ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทาให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย
  • ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทาให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไป เก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้ เช่น หนี้ครัวเรือน

เงินเฟ้อ คืออะไร

บทบาทของหน่วยงานในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ

การเกิด ‘เงินเฟ้อ’ นั้นต้องมีการจัดการจากทีมจัดการการเงิน ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงพาณิชย์ ธปท. จะใช้เครื่องมือ ‘นโยบายการเงิน’ ดูแลคาดการเงินเฟ้อ โดยมีคณะกรรมการนโยบายการเงิน ดูแลรักษาระดับของเงินเฟ้อผ่านเครื่องมือ 3 ประเภท ได้แก่

  1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงิน (Reserve Requirement)
  2. การทำธุรกรรมปรับสภาพคล่องผ่านการตลาดการเงิน (Open Market Operations)
  3. หน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (Standing Facilities)

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะประชุมกันปีละ 8 ครั้ง หรือ 6-8 สัปดาห์ เพื่อกำหนดนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสม

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo